ใช้งาน OS X เบื้องต้น

การใช้งาน OS X 10.5-Leopard ทั่วไปเบื้องต้น

Software Update

Software Update : อัพเดทซอฟแวร์ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด

สิ่งที่เราควรทำหลังจาก Install Application ต่าง ๆ ลงในเครื่องแล้วคือการตรวจสอบว่า Applications ของเรานั้นเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดหรือไม่ เพราะ

  • เวอร์ชั่นใหม่ อาจจะมีคำสั่งใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมา เพื่อทำให้การใช้งานสะดวกขึ้น
  • เวอร์ชั่นใหม่แก้ปัญหา (bug) ที่เคยมีในเวอร์ชั่นเก่า
  • เวอร์ชั่นใหม่ปรับปรุงการบริหารจัดการทรัพยากรในเครื่องให้มีปัญหาน้อยลง หรือว่าทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยที่รูปแบบทั่วไปของการอัพเดทมีดังนี้

  1. กรณีอัพเดทแบบเตือนอัตโนมัติ ส่วนใหญ่เกิดกับ update สำคัญ เช่น OS X เวอร์ชั่นใหม่ หรือ Securities Update (การปรับปรุงระบบความปลอดภัย)
  2. การอัพเดท OS X และ Application ของ OS X ทั่วไปต้วยตนเอง (เช่นพวก iCal, Address Book, iTunes, iLife, iWork,... เป็นต้น)
  3. การอัพเดท Application จาก 3rd party อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ของ Apple

note : ปรกติแล้ว หลังจากที่ทำการติดตั้ง OS X หรือโปรแกรมต่าง ๆ ครั้งแรก จะมีการเตือนอัตโนมัติให้เราอัพเดทตามครับ =)

1.การ update แบบเตือนอัตโนมัติ

สำหรับบางกรณี OS X หรือ Securities Update (การปรับปรุงระบบความปลอดภัย) จะมีการเตือนขึ้นมาโดยอัตโนมัติให้เราเลือก update ครับ แบบนี้

software-update-icon_1.jpg

เมื่อคลิ๊กเข้าไปจะพบกับหน้าต่างนี้
002-_2.jpg

จากนั้นก็คลิ๊กเพื่อ Install Update ครับ

2.การ update สำหรับ OS X / OS X Apps ต่าง ๆ ด้วยตนเอง

ไปที่เครื่องหมาย Apple (บนเมนูบาร์ ด้านซ้ายบนสุด)

apple-update_1.png

อธิบาย
1.About This Mac : บอกว่าตอนนี้เครื่องที่เราใช้งาน OS X เวอร์ชั่นไหนอยู่ และมี Spec อะไรบ้าง
2.
Software Update... : ตรวจสอบอัพเดทของ OS X รวมไปถึง Application พื้นฐานต่าง ๆ ที่มากับ OS X (ถ้าใครซื้อซอฟแวร์จาก Apple เช่น Pro Apps ต่าง ๆ ก็จะมาขึ้นในส่วน update นี้ให้ด้วย)
3.
Mac OS X Software... : เข้าไปที่หน้า download Application ต่าง ๆ จากในเวป apple ครับ มีทั้ง app จากทาง apple เอง กับ app ค่ายอื่น ๆ

ถ้าต้องการตวรจสอบ update ด้วยตนเอง ให้เลือก Software Update.. ครับ

About This Mac

Picture2_3.png

ข้อมูลพื้นฐานบนเครื่องเรา ว่าใช้ System เวอร์ชั่นไหน และมี Spec อะไรบ้าง

note : สามารถกดเลือก Software Update ได้จากหน้าต่างนี้เลย

Software Update...

จะเป็นการตรวจสอบ Applications พื้นฐานต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน OS X ครับ พวก iCal, Safari,... หรือว่าชุด iLife, iWork เป็นต้น
003-1_1.jpg
1.ถ้าตรวจเจอ Update เค้าจะถามเราว่าต้องการจะ Install หรือไม่ โดยทั่วไปแล้วควรจะเลือกลงทั้งหมด
2.กด Install ทั้งหมดที่เลือกไว้เพื่อ update Application บนเครื่องเรา

Mac OS X Software

005_1.jpg
เราจะถูกพาเข้ามาที่หน้า download บน apple.com ครับ มีทั้ง app จากทาง apple เอง และ app จากค่ายอื่น ๆ

3.การอัพเดท Application ที่ไม่ใช่ของ apple

ถ้าเราต้องการ update Application ที่เราซื้อ หรือ install ติดตั้งเองภายหลังที่ไม่ใช่ software จาก apple โดยทั่วไปสามารถทำได้ จาก

1.การไปที่ Help ของโปรแกรมนั้น ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีทั้งการเชคแบบอัตโนมัติ หรือไม่ก็ให้เราเชคเองเป็นครั้ง ๆ ไปครับ เช่น..

006_1.png         หรือ                 007_1.png

2.การ update จะอยู่ในเมนูภายใต้ชื่อของโปรแกรมเอง (อันเดียวกับที่เราจะเข้า preference ของโปรแกรมนั้น ๆ ล่ะครับ) เช่นแบบนี้

Picture4_1.png

วิธีแก้ปัญหา update OS X ผ่าน Software Update แล้วค้าง

Apple โพสในหน้า support บน apple.com ถึงวิธีแก้อาการ update OS X ผ่าน Software Update (จาก apple menu) แล้วค้างค้างระหว่างการ update  

มีขั้นตอนคร่าว ๆ ดังนี้

<

div>

  1. ถ้าพบว่าเครื่องค้างให้ force shutdown ด้วยการกดปุ่มเปิดเครื่องค้างเอาไว้จนเครื่องดับเอง แล้วจากนั้นเปิดขึ้นมาใหม่
  2. เมื่อเข้าสู่การทำงาน OS X ปรกติ บน Finder ไปที่คำสั่ง Go บนเมนูบาร์
  3. พิมพ์ /Library/Updates แล้วกด enter เราจะเข้าไปยัง folder ที่มีข้อมูลของตัว update ล่าสุดที่เราลงค้างเอาไว้
  4. ให้ลบไฟล์ทั้งหมดใน folder นั้นทิ้ง จากนั้นลอง update ผ่าน Software Update อีกครั้ง
หรือ 

เข้าไปโหลดตัว Update แบบ stand alone มาติดตั้งเองจากในเวป
http://www.apple.com/downloads/macosx/apple/

*ปัญหานี้คาดว่าน่าจะแก้ได้หลังจากลง 10.5.6 ไปแล้ว คงต้องรอตัว 10.5.7 ออกมาแล้วทำการ update ดูว่าจะแก้ปัญหานี้ได้จริงหรือเปล่า
*ผมเจอปัญหานี้กับตัวเองระหว่าง update จาก 10.5.4 ไป 10.5.5 ครับ แก้ด้วยการโหลดตัว update แบบ stand alone มาติดตั้งเองบนเครื่อง

Desktop พื้นที่ทำงานของเรา

มาทำความรู้จักกับ Desktop ของเรากัน

Desktop หรือว่าหน้าต่างแรกที่เราจะเข้ามาเจอตอนเปิดเครื่องเป็นพื้นที่หลักในการทำงานบนเครื่องของเรา และยังใช้สำหรับให้เราจัดการเข้าถึงทรัพยากร หรือส่วนต่าง ๆ ของเรื่องเราได้โดยง่าย (คล้าย ๆ กับบน windows pc)

desktop_8.jpg

มีส่วนประกอบทั่วไปดังนี้

desktop_9.jpg

1.Menu Bar - เมนูบาร์ : แถบแสดงคำสั่ง + icon แสดงสถานะการทำงานของเครื่อง

  • ทางด้านมุมบนซ้ายมือ เป็นแถบที่อยู่ของชุดคำสั่งของแต่ละโปรแกรม
  • ส่วนทางด้านขวามือจะเป็นไอคอนเกี่ยวกับการทำงานทั่วไปของเครื่อง เช่น ระดับคุณภาพสัญญาณไวเลส, Bluetooth, ระดับแบตเตอรี่, เวลา, วันที่, account ที่ใช้งานอยู่ และ Spotlight (จะเรียกส่วนนี้ว่า Menu Bar Extra ก็ได้)

1.1. Active application : ตรงนี้จะเป็นตัวบอกว่าเรากำลังใช้งาน application อะไรอยู่ (โดยจะเปลี่ยนไปตาม application ที่เราใช้งานอยู่ล่าสุดเสมอ)

2.Hard disk icon : แสดง icon ของ Hard disk (HD) เราบนเครื่อง จำนวนขึ้นอยู่กับ partition ที่แบ่งเอาไว้ภายในเครื่อง และ จำนวน HD ที่ถูกเชื่อมต่อภายนอก

3.Desktop : พื้นที่ทั้งหมดนี้ เรียกว่า Desktop

4.Dock : เป็นแหล่งรวม icon ของ applications ต่าง ๆ ให้เราเรียกใช้ได้โดยสะดวกมากขึ้น (สามารถลาก icon โปรแกรมที่อยากได้มาลงเพิ่ม/ ปรับลดได้) + ใน 10.5 นี้มี Stack มาเป็น Feature ใหม่เพิ่มขึ้นมาบน Dock ด้วย

5.Finder Window : หน้าต่างของโปรแกรม Finder (ประมาณ windows explorer) เอาไว้สำหรับค้นหา/ บริหาร / เข้าถึงเพื่อจัดการกับไฟล์ต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องเรา

6.Stack : เป็นความสามารถใหม่ที่เพิ่งมีบน OS X Leopard มีจุดประสงค์เพื่อสดความสับสนของจำนวนไฟล์ที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ บน desktop ของเรา โดยที่ติดมากับเครื่องทีแรกเลยจะมี 2 stack คือ

  • Documents : เข้าถึง Documents folder จาก dock
  • Download : อะไรที่เราโหลดมา จะมารวมกันอยู่ในนี้ (เว้นแต่ว่าเราจะกำหนดให้ download ไปลงที่อื่น)

บางคนอาจจะสับสนว่า แล้วมันต่างอะไรกับการสร้าง folder แล้วลากมาวางบน dock?

ที่แตกต่างจาก Folder คือ Stack จะแสดงไฟล์ที่ถูกจับโยนลงมาล่าสุดให้เราได้เห็นเป็น icon เล็ก ๆ ครับ (ซึ่งจะเปลีี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามไฟล์ที่ถูกใส่ลงมาล่าสุด) ... เท่านี้ครับ เท่านี้จริง ๆ - -a ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะ ผสม ๆ กันก็ได้

stack_2.png
จากภาพ 1.stack สำหรับไฟล์ชั่วคราว / 2.Documents folder / 3.Download stack / 4.trash

7.Trash : ถังขยะประจำเครื่อง เอาไว้สำหรับลบไฟล์ที่ไม่ต้องการ หรือลบ application ที่ไม่ต้องการทิ้งไป
(ใช้สำหรับการ uninstall บาง application ได้ด้วย) โดยที่ไฟล์ที่ถูกเราลบจะถูกนำมาพักไว้ในถังขยะนี้ก่อน (เหมือนบน windows pc) ถ้าเราต้องการที่จะลบไฟล์ออกจริง ๆ ให้คลิ๊กขวาแล้วเลือก Empty Trash

emptytrash_2.png

note :

  1. ในบางกรณีถ้าเราจะลบไฟล์ที่ lock เอาไว้ เครื่องจะฟ้องเราว่าไฟล์นี้ถูก lock อยู่ ต้องกด Option ค้างเอาไว้ตอนเลือก Empty Trash ด้วย จึงจะสามารถลบไฟล์ที่ lock เอาไว้ใน Trash ได้
  2. ไฟล์ที่มาอยู่ใน Trash แล้ว จะไม่มีปุ่มลัดเพื่อนำกลับไปไว้ที่เดิม ... ดังนั้น โปรดระวังก่อนนำไฟล์ลงถัง นะครับ

8.Spotlight : ค้นหาทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในเครื่อง การทำงานคร่าว ๆ ของ spotlight คือ คล้าย ๆ กับการค้นหา โดย search engine บนเครื่องเรา เช่น ลองพิมพ์คำว่า mac ลงไป ผลลัพท์ที่เกี่ยวข้องกับคำว่า mac จากในส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจะขึ้นมาให้เราเห็น พร้อมทั้งแยกประเภทของไฟล์ต่าง ๆ ที่ค้นเจอมาให้ด้วย ยิ้ม

spotlight-result_2.jpg

เพิ่มเติม
ดู System Preferences : การเปลี่ยนรูปพื้นหลัง Desktop

จัด Icon บน Desktop

จัด Icon บน Desktop

kok-desktop.jpg

เราสามารถปรับแต่งรูปแบบการแสดงผลของ icon บน desktop ให้ตรงกับความต้องการของเราได้ โดยมีวิธีการดังนี้

คลิ๊กขวาบนที่ว่างในหน้า Desktop ของเรา

show-view-options.png
เลือก Show View Option
ถ้ายังไม่เคยปรับอะไรมาก่อนเลย เราจะได้หน้าต่างประมาณด้านล่างนี้ครับ

view-default.jpg

เริ่มปรับแต่งในส่วนต่่าง ๆ กัน

Icon Size :

ปรับขนาดของ icon บน desktop เราครับ

icon-size-big-1.jpg
Icon size : 48 x 48

icon-size-small-1.jpg
Icon size : 32 x 32

Grid Space :

ขนาดช่องไฟของ icon แต่ละแถว

gridspace-full-2.jpg

girdsapce-adjusted.jpg

Text size :

ขนาดของตัวหนังสือ (ชื่อ Icon) เลือกปรับเอาที่อ่านแล้วสบายตาที่สุดนะครับ =)

icon-font-size.jpg
Label Position

เลือกตำแหน่งของชื่อไฟล์ / แฟ้ม

name-right.jpg
เอาชื่อไว้ทางขวาของ icon

name-bottom.jpg
เอาชื่อไว้ด้านล่าง icon

Show items info :

แสดงรายละเอียดของไฟล์ เช่น ขนาดกว้าง x ยาวของไฟล์ภาพ หรือพื้นที่ ๆ เหลืออยู่บน HD หรือจำนวนไฟล์ในแฟ้ม .. เป็นต้น

show-icon-info.jpg

Show icon preview :

แสดง / ยกเลิก icon preview

show-icon-nopreview.jpg

แบบไม่แสดง preview ไฟล์จะขึ้นเป็นสัญลักษณ์มาตรฐานของ OS

show-con-preview.jpg

แสดง icon preview สังเกตดูว่าตัว icon เป็นรูปเนื้อหาของไฟล์นั้น ๆ เองแล้ว

Arrange By :

การจัดเรียง icon ตามลำดับ ตามที่เราเลือก ซึ่งถ้าเราไม่เลือกตรงนี้ไว้ icon บน desktop ของเราจะอยู่กันกระจัดกระจายไม่เป็นหลักแหล่ง ทำให้ยากต่อการค้นหา (ในบางกรณีเค้าสามารถซ้อนกันได้) ดังรูป

arrange-no.jpg

ตัวเลือกสำหรับการ Arrange มีดังนี้

arrange-by.jpg

  • None : ไม่มีการจัดไฟล์
  • Snap to Grid : นอกจากจะจัดแล้ว ยังบังคับให้ไฟล์เรียงตัวกันตามช่องไฟที่เรากำหนดเอาไว้ ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย (ควรจะเลือกตรงนี้เอาไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการจัด desktop นะครับ)
  • Name : เรียงลำดับตามตัวอักษร
  • Date Modified : เรียงลำดับตามวันที่มีการแก้ไข
  • Date Created : เรียงลำดับตามวันที่ไฟล์ถูกสร้างขึ้น
  • Size : เรียงตามขนาด
  • Kind : จัดกลุ่มตามประเภทของไฟล์ เช่น ไฟล์ภาพ, แฟ้ม, ไฟล์ word
  • Label : จัดเรียงตามสีที่เราเลือก Label ไว้ให้กับไฟล์

ตัวอย่างของการ Arrange By Name + Snap to Grid การจัดไฟล์เรียงลำดับตามชื่อ และเรียงตาม Grid เว้นช่องไฟไว้เท่า ๆ กัน

arrange-by-name.jpg

Bluetooth

Bluetooth เป็นการเชื่อมต่อในรูปแบบหนึ่ง โดยอาศัยการเชื่อมต่อผ่านสัญญาณวิทยุสั้น ๆ เพื่อรับส่งข้อมูลจากปุกรณ์ Bluetooth เหมือนกัน โดยสามารถใช้งานได้คร่าว ๆ ดังนี้

  • เชื่อมต่ออุปกรณ์มือถือ/pda/ palm เข้ากับ OS X ผ่าน iSync สำหรับการ backup Contact หรือ ปฎิทินนัดหมาย
  • เชื่อมต่อ Mouse/ Keyboard ไร้สาย
  • เชื่อมต่อกับเครื่อง Printer

หรือการเชื่อมต่อหูฟังไร้สายเข้ากับโทรศัพท์มือถือที่ตอนนี้เร่ิมจะมีให้เห็นกันมากขึ้นแล้วในประเทศไทย จากการบังคับไม่ให้ยกโทรศัพท์ขึ้นมาคุยขณะขับรถ

ถือว่าการเชื่อมต่อแบบ Bluetooth นี้มีประโยชน์ในหลาย ๆ ทาง และบางครั้ง ก็สามารถรับ - ส่งไฟล์ข้ามไปมาระหว่างเครื่อง Notebook ได้อีกด้วย (อันนี้ผมเจอมากับตัวเองครับ เลยเขียนเก็บเอาไว้ด้วยเลย อ่านได้จาก link ข้างล่างนี้ หรือในส่วนของ Mac 101 นะครับ)

การเปิด /ปิด Bluetooth ภายในเครื่อง
เราสามารถเปิด / ปิดการทำงานของระบบ Bluetooth ภายในเครื่องได้จาก

  • บนเมนูบาร์ เข้า Bluetooth icon แล้วเลือก Turn Bluetooth On

bluetooth-on-1.jpg

  • หรือจากใน System Preference / Bluetooth

bluetooth-on-2.jpg

การจับคู่อุปกรณ์ Bluetooth เข้ากับ OS X

เรียก System Preferences แล้วเลือก Bluetooth

bluetooth-02_3.jpg

เข้าหน้าต่างใหม่ แสดงรายการอุปกรณ์ Bluetooth ที่ทำการ pair (จับคู่) เข้ากับเครื่องเราแล้วอยู่ทางด้านซ้ายมือ

bluetooth-03_3.jpg
กดเครื่องหมาย + เพื่อเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในระบบ จากนั้นจะเข้าหน้าต่าง Bluetooth Setup Assistant เพื่อให้เราเลือกว่าจะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Bluetooth แบบไหนบ้าง

bluetooth-05-1.jpg
เมื่อเลือกเชื่อมต่อจับคู่ (Pairing) เรียบร้อยแล้ว สามารถรับส่งข้อมูลผ่าน icon bluetooth หรือผ่าน iSync ได้ (กรณีต่อกับโทรศัพท์มือถือ)

สามารถเข้าไปดูตัวอย่างเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ iSync เชื่อมต่อกับมือถือได้จาก link นี้ครับ
http://macmuemai.com/content/92

อ่านเพิ่มเติมประกอบ
เกี่ยวกับ Bluetooth บน OS X
http://support.apple.com/kb/HT3039?viewlocale=en_US

การรับส่งไฟล์ระหว่าง OS X และอุปกรณ์ Bluetooth ด้วยกัน
http://support.apple.com/kb/HT3042?viewlocale=en_US

เกี่ยวกับการใช้งาน iSync เบื้องต้น(บนแมคมือใหม่.คอม)
http://macmuemai.com/tag/isync/view

Bluetooth Sharing : การกำหนดรายละเอียดรับส่งไฟล์ผ่าน Bluetooth

ส่วน Bluetooth Sharing นั้น จะมีรายละเอียดดังนี้

bluetooth-09.jpg

อธิบาย

  • When receiving items: จะเป็นการกำหนดว่า เมื่อมีคนส่งไฟล์ผ่าน Bluetooth เข้ามาที่เครื่องเราแล้ว ให้ทำอย่างไร มีหัวข้อย่อยอีก 4 ตัวเลือกดังนี้
    • Accept and Save : เลือกรับไฟล์และ save เก็บเอาไว้โดยไม่ถาม
    • Accept and Open : เลือกรับไฟล์และเปิดไฟล์ที่ได้รับขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
    • Ask What to Do : ถามเตือนเราก่อนว่าจะรับไฟล์นั้นหรือไม่
    • Never Allow : เป็นการปฎิเสธไฟล์ที่ส่งเข้ามาผ่านทาง Bluetooth ในทุกรณี
  • Require Paring : บังคับว่าจะรับส่งไฟล์ได้กับอุปกรณ์ที่เราจับคู่เอาไว้แล้วเท่านั้น
  • Folder for accepted items : เลือกว่า จะเก็บไฟล์ที่รับมาไว้ที่ไหนในเครื่อง
  • When other devices browse : กำหนดว่าเมื่อมีบุคคลอื่นเข้ามาดูไฟล์ (browse) เครื่องเรา จะทำอย่างไร มีมาอีก 3 ตัวเลือกคือ
    • Ask What to Do : ถามเราก่อนว่าจะทำอย่างไร
    • Always Allow : อนุญาตเสมอ โดยไม่ถามเตือนเมื่อมีใครเข้ามาเครื่องเราผ่าน Bluetooth
    • Never Allow : ไม่อนุญาตไม่ว่ากรณีใดใด
  • Folder others can browse : เลือกว่าบุคคลอื่นสามารถเข้ามาเห็นส่วนไหนของเครื่องเราได้บ้าง โดยปรกติจะเข้าได้แค่ Public Folder บนเครื่องเรา ถ้าเราอยากแชร์ไฟล์อะไรก็ให้นำไปไว้ใน folder นี้ คนอื่นเข้ามาก็จะเห็นครับ
  • Bluetooth Preferences : เลือกเพื่อที่จะเข้าหน้า Bluetooth Preferences ใน System Preferences

Tips : วิธีง่าย ๆ ที่หลายคนมองข้ามสำหรับการรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่อง notebook [update]

เคยไหมครับ ที่บางทีเราต้องออกมาคุยงานกันข้างนอก แต่..

  • ไม่มี wifi hotspot หรือจะเชื่อมต่อดัวย wifi ก็จะมีปัญหาจุกจิกตามมาอีก ถ้าเป็นการเชื่อมต่อ Mac-Win เช่นพวก เครื่อง Mac มองเห็นเครื่อง Win แต่เครื่อง Win มองไม่เห็นเครื่อง Mac ทำนองนี้ ...
  • ไม่มี Internet
  • ไม่มีสาย Lan
  • ไม่มีแผ่น CD เปล่าติดตัวมา
  • มี iPod แต่เอาไว้ส่งไฟล์แบบข้ามระบบ Mac-Win ไม่ได้ - -a
  • ไม่มี Card Reader
  • ไม่มี thumb drive...

เรื่องนี้เกิดกับตัวผมเอง เลยอยากจะมาเล่าสู่กันฟังสำหรับวิธีง่าย ๆ ในการรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่องโน๊ตบุค ที่ถ้าเราเกิดมาอยู่ในสถานการณ์ไร้การเชื่อมต่อแบบนี้ เราจะทำอย่างไร?

note : วิธีในบทความนี้จะกล่าวถึงการส่งไฟล์ระหว่าง MacBook กับ Notebook ระบบ Windows (XP) นะครับ แต่วิธีเดียวกันสามารถใช้ได้กับทั้งเครื่องแบบ Mac-Mac หรือ Mac-Win ครับ

วิธีที่ว่านี้คือ ใช้ Bluetooth ครับ

ใช่แล้ว เจ้า Bluetooth ที่เราใช้ sync ข้อมูลจากมือถือลงเครื่อง หรือจับคู่หูฟังกับเครื่องโทรศัพท์เรานั่นล่ะ

วิธีคือให้ทำการ pair (จับคู่) เครื่อง notebook ของทั้งสองเครื่องเข้าด้วยกัน ด้วยกรรมวิธีแบบเดียวกับการจับคู่อุปกรณ์ Bluetooth อื่น ๆ กับเครื่องของเราสำหรับการรับส่งข้อมูล หรือ การ pair เครื่องโทรศัพท์เข้ากับหูฟัง

เมื่อ pair ด้วยกันแล้วจากนั้นจะส่งไฟล์ หรือว่าเข้าไปดูไฟล์ของเครื่องอีกฝ่ายหนึ่งได้เหมือนการเชื่อมต่อ network แบบทั่วไปแล้วครับ =)

และตัวอย่างต่อไปนี้ จะเป็นการ setup เพื่อเตรียมการรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่อง MacBook กับ Notebook ระบบ Windows XP ซึ่งจะเขียนอธิบายการเชื่อมต่อจากฝั่งเครื่อง MacBook เป็นหลัก โดยให้อีกเครื่อง ที่เป็น Windows XP อยู่เฉย ๆ แค่เปิด Bluetooth รอเอาไว้อย่างเดียวครับ

ขั้นตอนที่ 0 ก่อนเริ่ม
บนเครื่อง MacBook มีเรื่องที่ต้องทำก่อนการรับส่งไฟล์ผ่าน Bluetooth นี้ครับ

  • ไปที่ System Preferences เลือก Sharing

bluetooth-08_4.jpg

  • ติ๊กถูกในช่อง File Sharing และ Bluetooth Sharing ครับ

bluetooth-10_4.jpg
ในส่วนของ File Sharing คือการกำหนด Permission ว่าผู้ที่จะมารับส่งไฟล์กับเรานั้น สามารถเข้าถึงได้แค่ไหน และใครเข้ามาได้บ้าง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก link นี้ครับ
http://macmuemai.com/content/95

ในส่วนของ Bluetooth Sharing นั้นจะเป็นการกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยในการรับส่งไฟล์ผ่าน Bluetooth บน OS X ของเราครับ ผมคงข้ามไปก่อน แต่จะเขียนเพิ่มเติมให้อ่านกันอีกทีในส่วนของ How-to ไปเลยก็แล้วกันนะครับ มีรายละเอียดเยอะพวกสมควร =)

[update : ผมเขียนรายละเอียดของ Bluetooth Sharing เอาไว้แล้ว ที่นี่ http://macmuemai.com/content/676 ครับ ]

ขั้นตอนที่ 1ให้เปิดการทำงานของ Bluetooth ในเครื่องโน๊ตบุคทั้งสองตัว

  • ในเครื่อง MacBook ให้เปิดการใช้งาน Bluetooth บนเครื่อง จากบนเมนูบาร์ด้านบนครับ

Bluetooth-01_4.jpg

  • ในเครื่อง Win ก็ให้เปิด Bluetooth ไปพร้อม ๆ กัน (ในเครื่องรุ่นใหม่ ๆ บางรุ่นจะมีปุ่มเปิด / ปิด Bluetooth ให้กดได้จากบนตัวเครื่อง)

ขั้นตอนที่ 2 การ Pair (จับคู่) เครื่องทั้งสองเข้าด้วยกัน
หลังจากเปิด Bluetooth บนเครื่องทั้งสองแล้ว บนเครื่อง MacBook ให้ไปที่ System Preferences แล้วเลือกหัวข้อ Bluetooth ครับ

bluetooth-02_5.jpg

จะเข้าหน้า Bluetooth Preferences

bluetooth-03_5.jpg

จากนั้น กดเครื่องหมาย + เพื่อเรียก Bluetooth Setup Assistant ขึ้นมาทำการ scan อุปกรณ์ Bluetooth ให้เครื่องของเรา ซึ่งในที่นี้คือการ scan หาเครื่อง Windows XP ที่เปิด Bluetooth รอเอาไว้แล้ว

bluetooth-04_4.jpg

กด Continue ผ่านหน้านี้ไป

bluetooth-05_4.jpg

  1. เลือก Any device เพื่อ scan หาเครื่อง Notebook XP ครับ
  2. แล้วกด Continue

รอสักพักถ้าไม่มีอะไรผิดปรกติ เราจะเห็นชื่อเครื่องของอีกฝ่ายนึงอยู่ในรายการ Devices ในผลการ scan ค้นหาอุปกรณ์ Bluetooth ของเรา

จากนี้ไปไม่มีภาพนะครับ เพราะผมลืมเตรียมภาพเก็บเอาไว้ ขอน้อบรับผิดครับ.. แต่คิดว่าไม่น่ายากแล้ว เพราะว่าจะคล้าย ๆ กับการ pair อุปกรณ์ bluetooth อื่น ๆ ทั่วไปครับ

ที่ต้องทำต่อคือ

  1. สั่งจับคู่โดยเลือกชื่อเครื่องเพื่อนเราที่เห็นอยู่ในผลการ scan แล้วกด Continue
  2. ระบบจะบังคับให้เรากำหนดเลขระหัส 8ตัว (Passkey หรือเรียกว่า Passcode บนมือถือบางรุ่น) ที่เครื่องเรา .. ให้ตั้งระหัสและกดยืนยันไป
  3. จากนั้น ที่เครื่อง Windows XP แล้วให้กดยีนยันระหัส 8 ตัวนี้ เพื่อเป็นการตอบรับการ pair (เหมือนกับการ pair หูฟัง Bluetooth กับโทรศัพท์มือถือครับ)

หลังจากการเชื่อมต่อเสร็จสิ้นแล้ว ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราจะเห็นชื่อของเครื่องเพื่อนเราอยู่ในรายการ Devices ใน Bluetooth ตรงเมนูบาร์ของเราแล้วแบบนี้ครับ

bluetooth-06_4.jpg

note : จะใช้เครื่องไหนสั่งจับคู่ก็ได้ให้ผลเหมือนกันครับ คือต้องตั้งระหัสก่อน แล้วให้อีกฝ่ายกดรับเหมือนกัน

ขั้นตอนที่ 3 การรับส่งไฟล์
บน OS X ไปที่เมนูบาร์ เลือก icon ของ Bluetooth และเลือกชื่อเครื่องของเพื่อนเราจากในรายการ Devices เราจะเห็นตัวเลือกเพิ่มเติมมาอีก 2 หัวข้อ ตามนี้ครับ

bluetooth-07_3.jpg

อธิบาย

  • Send File... : จะเป็นการกำหนดเพื่อส่งไฟล์จากเครื่องเรา (จาก OS X) ไปที่เครื่องเพื่อนของเรา ซึ่งถ้าผมส่งไฟล์จากตรงนี้ไปแล้ว เครื่องเพื่อนผมที่เป็น Windows XP จะเข้าไปเอาไฟล์ได้จากใน Bluetooth Exchange Folder ครับ
  • Browse Device... : เป็นการเข้าไปดูไฟล์ต่าง ๆ ของเครื่องเพื่อนเรา ส่วนจะเข้าได้ลึกแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับเครื่องเพื่อนเราว่ากำหนด permission ให้บุคคลอื่นเข้าถึงไฟล์ของเค้าได้แค่ไหนด้วยครับ

เมื่อทำทั้งหมดนี้เรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถที่จะรับส่งไฟล์ต่าง ๆ ผ่าน Bluetooth ได้เหมือนเชื่อมต่อ network แบบปรกติทั่วไปแล้วครับ =)

note : การรับส่งไฟล์ขนาดใหญ่อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าปรกติบ้าง เพราะว่าระบบ Bluetooth ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับแนวนี้โดยเฉพาะครับ แต่ถ้าเอาไว้ใช้รับส่งไฟล์ภาพ หรือเอกสารทั่วไป ก็ค่อนข้างเร็วพอสมควร

หมดแล้วครับ หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อยนะครับ มีความสุข

credit : สำหรับผู้ที่จุดประกายให้ผมได้ลองวิธีนี้ ขอบคุณน้อง Nannie มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ยิ้มปากกว้าง

Burn - การเขียนแผ่น

Burn : คือการเขียนแผ่น (หรือที่บางคนจะเรียกว่า Write) เป็นการบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD/DVD โดยที่ Burn จะเป็นคำที่จะใช้ในความหมายนี้บน OS X

ถ้าเราต้องการที่จะทำการ Burn ข้อมูลลงบนแผ่น CD/DVD เราสามารถทำได้เลยบน OS X โดยที่ไม่ต้องหาโปรแกรมมาเพิ่มเติมตามวิธีการด้านล่างนี้

note : ถ้าต้องการจะ Burn DVD แผ่นที่จะใช้จะต้องเป็นแผ่นแบบ DVD-R เท่านั้น - [ตรงนี้ผมเข้าใจผิดครับ drive รุ่นใหม่ ๆ burn แผ่น DVD+R ได้แล้ว-ก๊อก อาย ]

1.สร้าง Burn folder :

Picture2-1_12.jpg
เป็นวิธีที่ง่าย และเร็วมากวิธีหนึ่งในการเขียนแผ่นครับ คือคลิ๊กขวา เลือกสร้าง Burn folder แล้วลากไฟล์ที่ต้องการลงมาใน folder เพื่อเตรียม Burn ได้เลย

ข้อดี :

  • สะดวก และรวดเร็ว
  • สามารถ Burn หลาย ๆ แผ่นได้โดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน หรือจะปรับเปลี่ยนก็ทำได้ไม่ยาก
  • ประหยัดพื้นที่บน HDD เพราะใน Burn Folder เก็บเฉพาะ alias หรือว่า link ไปยังไฟล์ต้นฉบับเท่านั้น

ข้อด้อย :

  • แผ่นที่ Burn ด้วยวิธีนี้อาจจะ Burn ต่อแบบ Multisession ไม่ได้ (ถ้าจะ Burn แบบ Multisession ต้องใช้ Disk Utility)

note :

  • การเขียนแผ่นผ่าน Burn folder นี้ แผ่นที่ได้ออกมาจะสามารถนำไปใช้ได้ทั้งบน Mac และ Pc ครับ
  • ดู การใช้ Burn folder ประกอบ

2.Burn Disk Image ผ่าน Disk Utility

Picture11_8.jpg

ใช้ Disk Utility สร้าง Disk Image ขึ้นมาสำหรับไฟล์ที่เราต้องการจะ Burn โดยเฉพาะ

มีข้อดีคือ :

  • กำหนดขนาดของ Disk Image ได้แน่นอน ว่าจะให้ขนาดเท่าไหร่ ทำให้โอกาสที่จะ Burn เกินความจุของแผ่นเป็นไปได้น้อยมาก
  • blank-diskimg_1.jpg
  • เลือก format ของแผ่นที่เราต้องการจะ Burn ได้ด้วยจากตรงนี้ ทำให้เราสามารถนำแผ่นที่ Burn ไปเปิดในระบบอื่นเช่น window pc ได้แบบไม่มีปัญหาครับ
  • Burn แผ่นแบบ Multisession ได้ (เขียนข้อมูลเพิ่มทีหลังได้ จนกว่าพื้นที่บนแผ่นจะเต็ม)
  • สามารถทำสำเนา CD/DVD ทั้งแผ่นได้รวมทั้งทำสำเนา Bootable Disc ต่าง ๆ ได้ด้วย (เช่น OS X Install DVD)

ข้อด้อย :

  • มีวิธีการที่ดูซับซ้อน และยุ่งยากกว่าการใช้ Burn folder หรือการสั่ง Burn โดยตรงจาก Finder

note : ดู การ Burn แผ่นจาก Disk Utility ประกอบ

3.ถ้าเป็นไฟล์ที่เราทำขึ้นบน iPhoto, iMovie, iDVD

เราสามารถที่จะส่งตรงไป Burn ลงแผ่นได้เลยจากภายในตัวโปรแกรมเอง (ส่วนมากอยู่บนคำสั่ง Share บน เมนูบาร์)

iphoto-share_0.jpg

ตัวอย่างการ Burn ลงแผ่นโดยตรงจาก iPhoto 06

4.Burn ผ่าน Finder

file-burn_1.jpg

ตอนอยู่ใน Finder

  • เลือก file/folder ที่เราต้องการ
  • ไปที่ menu bar เลือก File / Burn “แฟ้มที่เราต้องการ” to Disc..

burn-icon_1.jpg

เราสามารถนำ Burn icon มาไว้บน Finder toolbar ได้เพื่อความสะดวกครับ

ดู การ Burn แผ่นจาก Finder ประกอบ
ดู Tips : การ นำ Burn icon มาไว้บน Finder Toolbar ประกอบ

อ่านเพิ่มเติม

Mac OS X 10.5 Help : Burning CD or DVD จากหน้าเวป support บน Apple.com
Disk Burning Quick Assist จากหน้าเวป support บน Apple.com

Burn : Burning Drive และ แผ่นที่ Burn ได้ครับ [update : 27 พย.51]

ผมมีความคิดที่ว่า เราน่าจะมาแชร์ข้อมูลตรงนี้กันนะครับ เอาไว้สำหรับอ้างอิง มีจุดประสงค์เพื่อเป็นทางเลือกหรือข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการซื้อแผ่น CD, DVD เพื่อมา burn ข้อมูลเก็บเอาไว้ โดยที่ผมจะทะยอยอัพเดทโพสนี้ให้เรื่อย ๆ ตามข้อมูลที่มีเข้ามานะครับ

MacBook

Model Details OS Drive แผ่นที่ Burn ได้ แผ่นที่มีปัญหา
MacBook รุ่นแรก Intel 2.0 GHz Core Duo
RAM 1 GB
10.5.5 MATSHITA DVD-R UJ-857
  • DVD-R ขนาด 4.7 GB : TDK
  • CD-R ขนาด 700MB/80 min : IMATION
  • CD-R ขนาด 700/80 min : Princo
  • ไม่มี

MacBook Pro

Model Details OS Drive แผ่นที่ Burn ได้ แผ่นที่มีปัญหา
MBP (mid 2007) 2.4GHz - MATSHITA DVD-R UJ-85J
  • DVD 4.7 GB : HP, TDK, Verbatim
  • DVD DL : Mitshbishi
  • DVD : Princo
MBP 2.2 GHz Core 2Duo - MATSHITA DVD-R UJ-857E
  • DVD-R, DVD-RW, CD-R : PRINCO
  • CD-R : IMATION
  • DVD+R : SONY (อ่านได้แต่ไม่ยอม burn)

iMac

Model Details OS Drive แผ่นที่ Burn ได้ แผ่นที่มีปัญหา
iMac Intel 2.66 GHz Core2Duo 10.5.5 OPTIARC DVD RW AD-5630A
  • DVD+R ขนาด 4.7GB : Anitech
  • DVD+R ขนาด 4.7 GB : Princo
  • ไม่มี

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถนำหัวข้อ (สีน้ำเงิน) นี้ไปเขียนข้อมูลประกอบแล้วโพสต่อไปได้เลย เดี๋ยวที่เหลือผมจับมารวมกันในตารางให้นะครับ

Drive : MATSHITA DVD-R UJ-857 (เป็นรุ่นของ Combe/ Supper Drive ที่เรามีในเครื่องครับ ดู note ประกอบ)
Model : MacBook รุ่นแรก
Processor : Intel 2 GHz Core Duo
RAM : 1 GB
OS : 10.5.5 (ตรงนี้ใคร Burn ผ่าน Windows ก็ให้ระบุมาด้วยก็ได้ครับ)
แผ่นที่ Burn ได้ดี (ไม่มีปัญหา) :

  • แผ่น DVD-R ขนาด 4.7GB ยี่ห้อ TDK
  • แผ่น CD-R ขนาด 700 MB/80 Min ยี่ห้อ IMATION

แผ่นที่ Burn ไม่ได้ หรือว่า Burn แล้วเสีย :

  • ไม่มี

note : วิธีดูว่าเครื่องเรามีไดร์ฟรุ่นไหน ให้เปิด System Profiler (เรียกจากใน Applications/ Utilities) แล้วเลือกหัวข้อ Disc Burning ทางด้านซ้ายมือ เราจะเห็นชื่อไดร์ฟที่เรามีครับ

optical-drive_11.jpg

สำหรับผู้ที่ต้องการจะให้ข้อมูลเพิ่มเติม หลังจากที่โพสนี้ตกหน้าแรกไปแล้ว สามารถตามเข้าไปดูได้จากหัวข้อ burn disc ที่เป็น tag ทางด้านซ้ายมือครับ

การ Burn แผ่นจาก Disk Utility

ขั้นตอนการ Burn Disk Image ผ่าน Disk Utility

ใน Disk Utility เลือก File /New/ Blank Disk Image

Picture5_23.jpg

หน้าต่างกำหนดค่าของ Disk Image

Picture6_15.jpg

Volume Name : ชื่อ Volume ของ Disk Image ที่จะเห็นตอนที่ Mount บน Desktop หรือว่าเป็นชื่อของ Disk ที่อยู่ใน CD/DVD Drive ครับ

Volume Size : กำหนดขนาดของ Disk Image (เลือกเอาตามเหมาะสมครับ)
blank-diskimg.jpg
Volume Format : กำหนด Format ของ Disk Image จากตัวอย่างด้านบนผมจะ burn แผ่นนี้ไปใช้บน window pc ครับ เลยเลือก Format แบบ MS-DOS (FAT)

Encryption : เลือกว่าต้องการเข้ารหัส หรือไม่ โดยส่วนใหญ่เราตั้งค่านี้สำหรับ Disk Image ที่เราไม่ต้องการให้คนอื่นเข้าใช้งานครับ (ถ้าเลือกตรงนี้ ก่อนการเปิด Disk Image ทุกครั้งเราจะต้องใส่ Password ครับ)

Partition : เลือกรูปแบบของ partition ใน Disk Image นี้ครับ
Picture1_33.jpg

โดยทั่วไปเลือกแบบ Single partition - CD/DVD with ISO data

Image Format : เลือกว่าจะให้เขียน หรือว่าอ่านได้อย่างเดียว

จากนั้นเลือก Create ครับจะมีหน้าต่างบอกเราว่ากำลังสร้าง Disk Image

Picture7_17.jpg

หลังจากสร้าง Disk Image เสร็จแล้ว

เค้าจะ Mount อยู่บน Desktop ของเรา ให้เรา copy file/folder ที่เราต้องการลงไปในนั้นเลยครับ จากนั้นก็ใส่แผ่นเปล่าเข้าไปในเครื่อง

Picture10_7.jpg
เลือก Open Disk Utility แล้วกด OK

ใน Disk Utility

Picture11-1.jpg

  1. เลือก Disk Image ที่เราต้องการจะ Burn
  2. แล้วไปเลือกที่ปุ่ม Burn ด้านบนครับ

เข้าสู่หน้าต่างเตรียม Burn

Picture12_4.jpg

คลิ๊กที่ปุ่มลูกศรเล็ก ๆ ด้านบนขวาตามรูปครับ เพื่อดึงส่วนของรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้นมา

Picture13_2.jpg

จะมีให้เราเลือก
Speed : ตั้งค่าความเร็วที่ต้องการ (ยิ้งเขียนที่ความเร็วสูง ๆ ก็มีโอกาสที่ไดร์ฟรุ่นเก่า ๆ จะอ่านไม่ได้นะครับ)

  • Erase disc before burning : สำหรับ CD/DVD แบบ RW คือจะเป็นการล้างข้อมูลเดิมบนแผ่นออกไปก่อนเขียนของใหม่ทับลงไป
  • Leave disc appendable : ตรงนี้เอาไว้ตั้งค่าสำหรับการเขียนแผ่นแบบ Multisession ครับ สำหรับผู้ที่ต้องการจะเขียนข้อมูลลงบนแผ่นนี้ต่อ จนกว่าพื้นที่บนแผ่นจะเต็ม

After Burning :เป็นการเลือกสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจาก Burn แผ่นเสร็จแล้ว

  • Verify burned data : ตรวจสอบข้อมูลที่ถูกเขียนลงไปบนแผ่นว่าใช้งานได้หรือไม่
  • Eject : หลังจาก Burn เสร็จจะ Eject แผ่นออก
  • Mount on Desktop : หลังจาก Burn แผ่นเสร็จจะถูก Mount บน Desktop ของเราครับ

หลังจากเลือกทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว กด Burn เพื่อเขียนแผ่น

Picture14_3.jpg

และหลังจากเขียนแผ่นเสร็จแล้ว ถ้าเราเลือก Mount on Desktop ไว้ ก็จะเห็นแผ่นของเรา Mount ขึ้นมาบน Desktop ด้วยครับ

Picture17.jpeg

note : ชื่อแผ่นเปลี่ยนจาก low res เป็น hi res เพราะผมลืม capture หน้าจอเอาไว้ตอนที่เขียนแผ่น Low res เสร็จครับ ^^’

เสร็จแล้วครับ เราสามารถนำ Disk ที่ได้นี้ไปเปิดดูบน window pc ได้ตามที่เราต้องการแล้ว =)

การ Burn แผ่นจาก Finder

การ Burn แผ่นจาก Finder เป็นวิธีการ Burn แผ่นที่ง่ายอีกวิธีหนึ่ง เพราะสามารถทำจากใน Finder โดยตรงได้เลย เพียงแค่เลือก File/Folder ที่เราต้องการจะ Burn แล้วสั่ง File/Burn “File/Folder ที่ต้องการ” to Disc.. (ดู การนำ Burn icon มาไว้บน Finder Toolbar ประกอบ)

ข้อดี :

  • สะดวกสำหรับผู้ใช้งานส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่คุ้นเคยกับ windows pc มาก่อน เพราะวิธีการใช้งานคล้ายกัน
  • สามารถนำแผ่นที่ Burn แล้วไปเปิดบน window pc ได้

ข้อด้อย

  • กินพื้นที่บน HD ในกรณีที่เราต้องการจะทำสำเนาแยกเก็บเอาไว้ต่างหาก
  • ไม่สะดวกเวลาที่เราต้องการะจะ Burn แผ่นซ้ำกันมาก ๆ หรือหลาย ๆ version (ดู note )
  • ไม่สะดวกในการกะขนาดข้อมูลที่ต้องเขียนลงแผ่น (จริงอยู่คือมีวิธีครับ แต่ต้องสลับหน้าต่าง ไปมา ๆ ตรงนี้ทำให้ผมรู้สึกว่าเป็นข้อด้อยครับ)

note : ตรงนี้ต่างจาก Burn Folder ตรงที่ ใน Burn Folder ไฟล์ต้นฉบับจะยังอยู่ที่เดิม และมีอยู่ที่เดียวจะ update หรือว่าเปลี่ยนแปลงไฟล์ต้นทางก็ทำได้โดยง่าย เราจะไม่สับสน .. ไม่เหมือนการ Burn บน Finder ปรกติ ที่จะมี copy หลายอันจากไฟล์ต้นฉบับ จะ update หรือว่าแก้ไขกันที ก็ต้องทำหลายขั้นตอนซึ่งทำให้ “มึน” ได้ครับ

วิธี Burn แผ่นจากใน Finder

1.เลือก File/Folder ที่ต้องการ

2.จากนั้นเลือก File / Burn “File/Folder ที่ต้องการ” to Disc (หรือปุ่ม Burn บน Toolbar)

file-burn_2.jpg

3.เครื่องจะเตือนให้เราใส่แผ่นเปล่าเข้าไปพร้อมกับบอกขนาดไฟล์คร่าว ๆ

error-msg_1.jpg

4.ใส่แผ่นเข้าไปแล้วรอสักครู่ จะมีหน้าต่างมาให้เราตั้งค่าการ Burn แผ่น

burn-details_0.jpg
Disc Name : ชื่อของแผ่น
Burn Speed : ความเร็วในการเขียนแผ่น (สำหรับการเขียนแผ่นที่ความเร็วสูงสุดนั้น อาจจะอ่านไม่ได้กับไดร์ฟรุ่นเก่า)
จากนั้นเลือก Burn จะมีกล่องแสดงสถานะการ Burn แผ่นของเราขึ้นมา

burnprocess_0.jpg
เสร็จแล้ว แผ่นของเราจะถูก Mount บน Desktop ให้อัตโนมัติ

done_0.jpg

การใช้ Burn Folder

Burn Folder : เป็นหนึ่งในวิธีการ Burn ข้อมูลลงแผ่นบน OS X ครับ ที่ค่อนข้างสะดวกสำหรับการใช้งานทั่วไป แต่สำหรับมือใหม่ หรือผู้ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมาใช้ OS X อาจจะมีเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมตามนี้นะครับ

Picture2-1_10.jpg
ไอคอนของ Burn Folder จะมีสัญลักษณ์ Radioactive อยู่ตรงกลางให้เราแยกออกจาก Folder ทั่วไป

note : แผ่นที่ถูกเขียนจาก Burn Folder นี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งบน Mac และ PC

หลักการและ Concept :

คือตัว Burn Folder เองจะเป็นแค่แหล่งรวม link (alias) ไปยัง File/ Folder ต้นฉบับอีกทีเท่านั้น

Picture8_9.jpg
จากภาพนะครับ ทุก File/ Folder ที่ถูกลากเข้ามาไว้ใน Burn Folder จะถูกสร้าง alias (Shortcut-Link)ไปยังไฟล์ต้นทางอีกที โดยการ Burn แต่ละครั้งผ่าน Burn Folder นี้ไฟล์ที่จะถูก Burn จะเป็น File/Folder ต้นทางของ alias ทั้งหมดใน Burn Folder นะครับ ไม่ใช่ตัวไฟล์ที่เป็น alias ใน Burn Folder ... (อย่าเพิ่งงงนะ =P)

ซึ่งจะมีข้อดีคือ

  • ไม่เกิด File/Folder ซ้ำซ้อนขึ้นมาบนเครื่อง เพราะเราสามารถเก็บ File/Folder ต้นฉบับเอาไว้ตรงไหนก็ได้ เพียงแค่ทำ Alias มาลงใน Burn Folder เท่านั้น ประหยัดพื้นที่บน HDD เราครับ
  • และจากที่เราจะมีไฟล์ต้นทางเพียงที่เดียว เวลาเราแก้ไขเพิ่มเติมจึงทำให้ง่ายและสับสนน้อยกว่ากว่าการมีหลาย copy มากครับ
  • เราสามารถเก็บ Burn Folder นี้เอาไว้เพื่อ Burn ต่อได้อีกได้ จะสะดวกมากในกรณีที่ต้องการ Burn ข้อมูลชุดเดียวกันซ้ำ ๆ
  • note :
  • ปรกติการลากไฟล์ลงมาใน Burn Folder เค้าจะทำการสร้าง Alias ให้กับ File/Folder ต้นฉบับ เป็นปรกติ
  • ถ้าใน Folder ต้นทาง มี Alias ของ File/Folder อื่นอยู่ด้วย เวลาเรา Burn ผ่าน Burn Folder ไฟล์ต้นฉบับของ alias นั้นจะถูก Burn ลงมาในแผ่นด้วยครับ
  • ทาง Apple บอกเอาไว้ว่า การ Burn ผ่าน Burn Folder นี้สามารถนำไปเปิดกับเครื่อง window pc ได้

เราสามารถทราบขนาดของข้อมูลทั้งหมดที่เราต้องการจะ Burn ได้โดยดูจาก Status bar ด้านล่างของหน้าต่าง Burn Folder ครับ

Picture8-1_4.jpg

เอาล่ะ มาหลังจากหลักการคร่าว ๆ ของ Burn Folder แล้ว เรามาเริ่มลอง Burn ผ่าน Burn Folder กัน

สร้าง Burn Folder

Picture1_32.jpg

ให้เลือกตำแหน่งที่เราต้องการจากนั้นคลิ๊กขวา เลือก New Burn Folder เราจะได้แฟ้ม Burn Folder ใหม่มา หน้าตาแบบนี้

Picture2_1.jpeg

เริ่มย้ายไฟล์เข้ามาใน Burn Folder
Picture4_15.jpg
คลิ๊กเข้าไปใน Burn Folder ที่เราสร้างขึ้น จากนั้น ให้ลาก File/Folder ที่เราต้องการจะ Burn เข้ามาในนี้ครับ เหมือนลากไฟล์ทั่วไป

Picture3_29.jpg

แล้วเราจะได้หน้าตาของ Burn Folder แบบนี้

Picture5_22.jpg
note : สังเกตว่า ไฟล์ที่เราลากเข้ามาจะถูกทำเป็น Alias นะครับ

เมื่อพร้อมแล้ว เลือก Burn

Picture8_10.jpg
จากปุ่ม Burn ด้านบนขวาตามรูปเลยครับ

  • ถ้าเรายังไม่ใส่แผ่นเปล่าเข้าไปในเครื่อง เค้าจะเตือนเราขึ้นมา
  • ให้เราใส่แผ่นเปล่าเข้าไป แล้วจะพบหน้าต่างถามว่าเราจะทำอะไรกับแผ่นเปล่านี้ ให้เลือก Finder ครับ

insert-blankcd.jpg

หลังจากมีแผ่นเปล่าอยู่ในไดร์ฟแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

เข้าหน้าต่างกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการ Burn
Picture9_8.jpg
Disc Name : ตั้งชื่อแผ่น (จะเป็นชื่อแทนตัวแผ่นที่จะเห็นตอนใส่เข้าไปใน Optical Drive แล้ว Mount บน Desktop หรือ บน windows pc ครับ)
Burn Speed : ตั้งค่าความเร็วของการเขียนแผ่น (การเขียนแผ่นด้วยความเร็วสูง ๆ บางครั้งจะทำให้ไดร์ฟ CD/DVD บางรุ่นอ่านไม่ได้ครับ ทางทีดีคือลดความเร็วในการเขียนแผ่นลง)

จากนั้นเลือก Burn เพื่อยืนยัน แล้วจะขึ้นหน้าต่างแสดงขั้นตอนการ Burn แผ่นครับ

Picture10_6.jpg
หลังจากเสร็จแล้ว CD/DVD ที่เราเพิ่ง Burn ไปจะถูก Mount ขึ้นมาบน Desktop ให้เลย

Picture11.jpeg

เป็นอันเสร็จขั้นตอนการ Burn ผ่า่น Burn Folder ครับ =)

note : ตามาปรกติของการ Burn Folder นั้นเราจะเขียนแผ่นแบบ Multisession โดยตรงเลยไม่ได้ ต้องใช้ Disk Utility ช่วยครับ .. ประมาณว่า ให้เราสร้าง Disk Image จาก Burn Folder อีกทอดหนึ่งครับ .. ให้เราเลือก Disk Image from Folder แทน ตอนสร้าง Disk Image

การแก้ปัญหา Burn แผ่นเบื้องต้น

สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการ Burn แผ่นนะครับ จากหน้าเวป support ของ Apple มีแนะนำไว้ดังนี้

1.ถ้าแผ่นที่ใช้อยู่ Burn ไม่สำเร็จ ให้ลองแผ่นอื่น ถ้าจาก lot เดียวกันมายังไม่ได้ผล ให้ลองเปลี่ยนยี่ห้อ

2.เชคให้แน่ใจว่า Drive ที่มีอยู่ในเครื่อง สามารถเขียนแผ่นได้ (เครื่องบางรุ่นไม่สามารถเขียนได้ แต่อ่านได้อย่างเดียว เช่นพวก cd combo drive)

3.ตรวจดูหน้าแผ่น ว่ามีรอยหรือสกปรกหรือไม่ หรือว่าแผ่นมีข้อมูลอยู่ก่อนแล้วและเขียนทัับไม่ได้หรือไม่

4.ตรวจดูชนิดของแผ่น DVD ต้องเป็นแผ่นแบบ DVD-R เท่านั้นถึงจะเขียนได้ - เครื่องรุ่นใหม่ ๆ เขียนแผ่นได้ทั้ง +R,-R แล้ว

5.ถ้าเขียนแผ่นด้วยความเร็วสูงสุดแล้วมีปัญหา ให้ลองเลือกเขียนแผ่นที่ความเร็วต่ำกว่าดู

6.ถ้าเปิด app ที่ไม่ได้ใช้ทิ้งเอาไว้ ให้ปิด app นั้นไปก่อน หรือปิดทั้งหมดก็ได้ เหลือเอาไว้เฉพาะ app ที่จะใช้เขียนแผ่น

7.ตรวจดูพื้นที่ที่เหลือบน HDD เพราะการเขียนแผ่นจำเป็นที่จะต้องมีการจำลองและกินพื้นที่บางส่วนบน HDD เรา

8.Restart เครื่อง

9.Update Software ที่ใช้เขียนแผ่น

10.ถ้าเราใช้ Optical Drive แบบต่อแยกต่างหาก ให้ลองตรวจสายเชื่อมต่อว่าเป็นปรกติหรือไม่่

ที่มา
http://support.apple.com/kb/HT1152#trouble

Networking

เกี่ยวกับการเชื่อมต่อบน OS X ครับ =)

วิธีรับส่งไฟล์ผ่าน Bluetooth

ผมเขียนวิธีรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่อง notebook ผ่าน Bluetooth เอาไว้แล้วบน How-to (Mac กับ Mac หรือ Mac กับ PC ก็ได้) แต่อยู่ในหัวข้อ Bluetooth, คิดว่าเกี่ยวข้องกับหัวข้อ Networking ด้วย เลยอยากจะมาทำ link เก็บเอาไว้ครับ

Tips : วิธีง่าย ๆ ที่หลายคนมองข้ามสำหรับการรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่อง notebook

วิธีเปลี่ยน IP Address ครับ

สำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนหมายเลข ip address ของเครื่องเราเวลาเล่น Internet ผ่าน router

ตามปรกติแล้ว router จะเป็นตัวกำหนด ip address ให้เราเองทุกครั้งที่ต่อ internet แต่สำหรับในบางกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยน ip address ไปยังหมายเลขอื่น ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผมจะใช้เมื่อ ip address ที่ผมใช้อยู่มีปัญหา หรือว่าอัตราการรับส่งข้อมูลต่ำกว่าที่ควรจะเป็นครับ

หลักการคร่าว ๆ

  • ทำเครื่องให้หลุดจาก ip address ที่มีอยู่ปัจจุบัน
  • ให้เครื่องขอ ip address ใหม่

note : การเปลี่ยน IP Address จะทำให้เราหลุดจาก Internet เป็นการชั่วคราว ** ไม่ควรทำขณะที่ยัง download ข้อมูลอยู่จาก Internet นะครับ

วิธีการเปลี่ยน ip address แบบละเอียด

ขั้นตอนที่ 1 : ไปที่ System Preferences เลือก Network

change-ip-01.jpg
เราจะเห็นรายละเอียดของ IP address ที่เราใช้อยู่ปัจจุบัน

change-ip-02.jpg

ขั้นตอนที่ 2 : หัวข้อ IP Address เลือก hi-light ข้อความและ copy ตัวชุด IP ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน

change-ip-03.jpg

ขั้นตอนที่ 3 : หัวข้อ Configure เลือกเปลี่ยนจาก Using DHCP เป็น Using DHCP with manual address

change-ip-06.jpg
เราจะเห็นช่อง IP Address เปล่า ๆ ขึ้นมาแบบนี้ครับ

change-ip-04.jpg

ขั้นตอนที่ 4 : ให้เรา paste หมายเลข IP ขุดที่เรา copy เอาไว้เมื่อสักครุ่ลงไป พร้อมด้วยเปลี่ยนเลขหลักสุดท้าย เป็นหมายเลขที่เราไม่ได้ใช้อยู่ในปัจจุบันครับ จะเป็นเลขอะไรก็ได้ สุ่มขึ้นมาครับ

ไม่ต้องกลัวว่าจะไปซ้ำกับเลข IP อื่นที่มีคนใช้อยู่แล้ว ... เพราะระบบจะกันตรงนี้ให้เราเอง คือถ้าเราเปลี่ยนไปใช้เลข IP อื่นที่มีคนใช้อยู่ หรือระบบไม่เปิดให้เราเอามาใช้ เราจะหลุดจาก IP เดิมที่เรามีครับ ซึ่งตรงนั้นเป็นสิ่งที่เราต้องการ =)

change-ip-05.jpg

จากตัวอย่าง ผมใช้ IP ที่อยู่ถัดไปหนึ่งเบอร์ (จาก .15 เป็น .16 ) ครับ ซึ่งที่ผมทำแบบนี้ เพื่อที่จะทำให้เครื่องของเราหลุดจาก IP ที่ใช้อยู่เดิมครับ จากนั้นกด Apply ที่ทางด้านล่างขวาครับ

change-ip-07.jpg

หลังจากกด Apply แล้วถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราจะหลุดจากชุด IP เดิมของเรา โดยที่หน้ารายละเอียดนี้จะไม่แสดงอะไรขึ้นมาครับ เป็นช่องเปล่า ๆ ตามภาพตังอย่างในหัวข้อถัดไป

ขั้นตอนที่ 5 : ในหน้ารายละเอียดเปล่า ๆ ของ IP ที่เราสุ่มมาใหม่นี้ ให้เลือก Advance ครับ

change-ip-09.jpg

ขั้นตอนที่ 6 : เราจะถูกพามายังหน้าต่างใหม่ ให้เลือกปุ่ม Renew DHCP Lease ครับ

change-ip-10.jpg

จากนั้นรอสักพัก เขาจะกำหนดหมายเลข IP Address ชุดใหม่ให้เรา

การทำแบบนี้เพื่อเป็นการร้องขอ IP Address ชุดใหม่ใหักับเครื่องของเราครับ ตามปรกติเราจะได้ IP Address ชุดใหม่มาในขั้นตอนนี้ เป็น IP ที่ไม่ซ้ำกับอันเดิมที่เราใช้ก่อนหน้านี้นะครับ.. ในกรณีของผม ได้อันใหม่มาแบบนี้

change-ip-11.jpg

note : การ Renew DHCP Lease นี้ บางครั้งจะยังได้ IP ชุดเดิมที่เราไม่ต้องการอยู่.. ให้ทำซ้ำขั้นตอนที่ 2 ถึง 4 ใหม่จนกว่าเขาจะเปลี่ยน IP ชุดใหม่ให้เรานะครับ

หลังจากได้ IP Address ชุดใหม่มาแล้ว ให้กด OK เพื่อปิดหน้าต่างนี้ไป และกลับไปยังหน้าเดิมเกี่ยวกับ Networking ของเรา

ซึ่งเราจะเห็นรายละเอียดของ IP ชุดใหม่ปรากฎอยู่ในหน้านี้แล้วให้เรากด Apply อีกครั้ง จากนั้นก็ปิดหน้าต่าง System Preferences นี้ไป เป็นอันเสร็จครับ =)

Spotlight

Spotlight : เป็นการค้นหาทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ภายในเครื่องเราครับ นึกภาพประมาณว่า มี Search Engine ไว้ช่วยค้นหาไฟล์บนเครื่องของเรา .. ซึ่ง spotlight นี้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่บน OS X เวอร์ชั่น 10.4 ครับ แล้วก็ยังติดตามมาบน 10.5 ด้วย ซึ่ง spotlight บน 10.5 นี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นจากบน 10.4 พอสมควร

splight-02-1_4.jpg

spotlight ค้นหาอะไรได้บ้าง?

เมื่อเรากรอกคำค้นหาที่เราต้องการลงไปในช่อง search แล้ว.. ที่เราจะได้ออกมาเป็นผลการค้นหานั้นจะเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรง หรือทางอ้อม กับคำค้นที่เราใส่ลงไปครับ ตามนี้..

  • Top hit : เป็นลำดับความสำคัญที่เราใช้บ่อยที่สุดจากผลการค้นหาที่ได้
  • Definition : แปลความหมายของคำค้น (ถ้าเราติดตั้ง Thai-Eng Dictionary เอาไว้ เค้าจะแปลเป็นไทยให้ด้วยจากตรงนี้เลย ดู เกี่ยวกับ Thai-Eng Dictionary บน OS X ประกอบ)
  • Applications : แสดง app ในเครื่องของเราที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหา
  • System Preferences : ส่วนของ System Preferences ที่เกี่ยวข้องกับคำค้น
  • Documents : ไฟล์งานต่าง ๆ
  • Folders : แฟ้มงานที่เก็บไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
  • Messages : email ที่เกี่ยวข้อง
  • Contacts : Contact จากใน Address Book ที่เกี่ยวข้อง
  • Images : ไฟล์ภาพที่เกี่ยวข้อง
  • PDF Documents : ไฟล์ PDF ที่เกี่ยวข้อง
  • Webpages/Bookmarks : url /bookmarks ของเวปที่เกี่ยวข้อง
  • Music/Audion : เพลงที่เกี่ยวข้อง
  • Movies : ไฟล์หนังที่เกี่ยวข้อง
  • Fonts : ฟ้อนท์ ที่เกี่ยวข้อง
  • Presentation : ไฟล์ Keynote presentation ที่เกี่ยวข้อง

note : เมื่อเราคลิ๊กไปที่ผลการค้นหาที่ได้ เราจะเปิดไฟล์นั้นบน app ที่เกี่ยวข้องขึ้นมาครับ

การเรียกใช้งาน spotlight

ปรกติ เราสามารถเรียกใช้งาน spotlight ได้จากช่องค้นหาบนหน้าต่าง Finder ครับ

splight-01-1_4.jpg

หรือว่าจากเครื่องหมายแว่นขยายบน menu bar

splight-01_4.jpg

note : ดั้งเดิมเราสามารถเรียกใช้งาน spotlight ผ่าน shortcut = Command+Space bar แต่สำหรับคนที่ใช้ shortcut นี้สำหรับเปลี่ยนภาษาไปแล้ว จะมี shortcut ของ spotlight ที่ต่างไปจากนี้ครับ ขึ้นอยู่กับว่าเราตั้ง shortcut ใหม่ให้ spotlight ว่าอะไร .. โดยปรกติจะหนีไปอยู่ที่ Option+Space bar แทน

Spotlights บน 10.5 ทำอะไรได้อีก?

บน 10.5 spotlight มีความสามารถใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมาครับ ทำให้สามารถใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น

  • เป็น Application Launcher(shortcut ในการเรียกเปิด application ที่มีอยู่ภายในเครื่อง)
  • ใช้คิดเลข (ได้ทั้งบวกลบคูณหารปรกติ และนอกเหนือจากนี้ด้วย!)

การตั้งค่าใช้งาน Spotlight

เราสามารถปรับแต่งการแสดงผลของ spotlight และรวมไปถึงการกำหนดว่าไม่ให้ spotlight แสดงผลอะไรบ้างตามที่เราต้องการได้ด้วย ซึ่งมีวิธีการดังนี้

เปิด System Preferences แล้วเลือก Spotlight

splight-03.jpg

เราจะเปิด Spotlight preferences ขึ้นมา

ใน Search Results tab
splight-04.jpg
บน Search Result นี้เราสามารถที่จะเรียงลำดับผลการค้นหาได้ใหม่ เราก็จับแล้วลากสลับตำแหน่งตามที่ต้องการได้เลย

นอกจากนี้ยังมีหัวข้อแสดง shortcut ในการเรียกใช้งาน spotlight ด้านล่างอีก 2 หัวข้อดังนี้

  • Spotlight menu keyboard shortcut : การเรียกใช้งาน spotlight จากบน menu bar
  • Spotlight window keyboard shortcut : การเรียกใช้งาน spotlight จากช่อง search บน Finder (ส่วนมากเอาไว้สร้าง Smart Folder ต่าง ๆ )

Privacy tab

ในบางกรณีที่เราไม่ต้องการให้ spotlight แสดงผลการค้นหาของบาง file/folder เราสามารถกำหนด spotlight ไม่ให้ index หรือว่าแสดงผลการค้นหาของไฟล์ที่เราต้องาการได้จากตรงนี้

splight-05.jpg
เราอยากให้ spotlight ยกเว้นผลการค้นหาไฟล์อะไรบ้าง ก็ให้กด + เพื่อเพิ่มไฟล์ /แฟ้ม ที่เราไม่ต้องการเข้าไป

Spotlight Tips

Tips & Tricks ในการใช้งาน Spotlight ครับ

note : ถ้ารายการด้านซ้ายมือซ้อนกันจนอ่านไม่รู้เรื่อง ให้ดู list จากด้านล่างนี้แทนนะครับ

Application Launcher

เป็นความสามารถใหม่บน 10.5 ของ spotlight ครับ คือเราสามารถเรียกเปิด application ที่เราต้องการได้จากใน spotlight ได้โดยตรงเลย..

ที่เราต้องทำคือ ใส่ชื่อ app ที่เราต้องการจะเปิดลงในช่อง search ครับ จะใส่เต็มคำหรือว่าบางส่วนก็ได้ แล้วดูจากผลการค้นหาที่ได้ออกมา ถ้า app ที่เราต้องการอยู่ในผลการค้นหาก็เลือกแล้วกด enter เพื่อเปิด app นั้นขึ้นมาได้เลยครับ

splight-10_0.jpg

การใช้ spotlight สำหรับเปิด app นี้ ผมใช้ค่อนข้างจะบ่อยนะ ช่วยให้เราไม่ต้องไปค้นหาโปรแกรมจากใน application folder และทำให้ dock เราไม่รกอีกด้วย เพราะเราไม่ต้องเอา app มาวางไว้ใน dock เหมือนแต่ก่อนแล้ว ยิ้ม

Spotlight เอาไว้คิดเลข?

เราสามารถใช้ Spotlight ในการคำนวณหรือว่าคิดเลขได้ครับ โดยทั่วไปเราจะเข้าใจว่า spotlight เอาไว้คิดเลขคร่าว ๆ เท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วเค้าสามารถคิดเลขที่ซับซ้อนพวก รากที่2 หรือยกกำลัง หรือว่า sin, cos, tan ได้ด้วย เพียงแต่เราต้องใช้คำสั่งให้ถูกเท่านั้นเองครับ =)

ตัวอย่างการใช้ spotlight ช่วยคำนวณในแบบต่าง ๆ

การบวกลบคูณหารทั่วไป
splight-11.jpeg

ใช้ำคำนวน sin,cos,tan
splight-12.jpg

หารากที่ 2
splight-13.jpg

คำนวณเลขยกกำลัง
splight-14.jpg

จากตัวอย่าง คือเลข 2 ยกกำลัง 3 ครับ ได้ผลลัพท์เท่ากับ 8

[Spotlight Tip] การไปยัง folder ปลายทางของไฟล์ที่ค้นหาจาก spotlight ครับ

บางครั้ง หลังจากที่เราค้นหาไฟล์จากใน spotlight แล้วได้ผลการค้นหามาแล้ว เราเพียงแค่อยากจะทราบว่าไฟล์ที่ต้องการนั้นอยู่ตรงไหนภายในเครื่อง โดยไม่ต้องการที่จะเปิดไฟล์นั้นขึ้นมาโดยตรง

ทำได้ด้วยการกด command ค้างเอาไว้ก่อนคลิ๊กที่ชื่อไฟล์บนผลที่ได้ตรงผลการค้นหาจาก spotlight ครับ

เมื่อเรากด command + click ที่ชื่อไฟล์แล้ว สักพักนึงเค้าจะเปิด finder ปลายทางอันใหม่ขึ้นมา ที่มีไฟล์เราอยู่ในนั้นครับ ยิ้ม

การจำกัดผลการค้นหาแบบเฉพาะเจาะจงบน Spotlight

เหมือนบน Search Engine ส่วนใหญ่ ที่เราสามารถจำกัดวงการค้นหาให้เฉพาะเจาะจงตามที่เราต้องการได้ ใน spotlight เราก็สามารถทำได้ทำนองเดียวกันในหลาย ๆ วิธีดังนี้

การค้นหาชื่อไฟล์ที่เกี่ยวข้อง และไม่เกี่ยวข้องแบบเฉพาะเจาะจง

เราสามารถทำได้โดยการเพิ่มคำว่า AND และ NOT ลงไประหว่างคำค้นที่เราต้องการ

  • AND : จะเป็นการเพิ่มผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องมากกว่า 1 คำค้น
  • NOT : ยกเว้นผลการค้นหาที่เราไม่ต้องการ

note : คำว่า AND และ NOT จะต้องเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เท่านั้น

ตัวอย่าง

splight-06-1_0.jpg
ผมจะได้ผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับคำค้น sky และ apple เท่านั้นด้วยกัน
splight-07_0.jpg

ได้ผลการค้นหาที่ไม่ใช่ไฟล์ Numbers และใน mail ครับ

การค้นหาตามประเภทของไฟล์

เราสามารถค้นหาตามประเภทของไฟล์ที่เกี่ยวข้องได้จากการเพิ่มคำว่า kind:(ประเภทของไฟล์) ลงไปในช่องค้นหา เช่น

splight-08_0.jpg

ค้นหาไฟล์ชื่อ sky ที่เป็นไฟล์ภาพเท่านั้น (kind:image)
splight-06_0.jpg
จากตัวอย่าง ผมต้องการค้นหาไฟล์ที่มีชื่อว่า sky และมีนามสกุลแบบ tga และเป็นไฟล์ภาพเท่านั้น (kind:image)

ตารางแสดง การค้นหาตามประเภทของไฟล์

ประเภทของไฟล์ที่เอาไว้ใช้คู่กับคำสั่ง kind: ครับ

ประเภทของไฟล์ การใช้งานคู่กับ kind:
Applications kind:application

kind:applications
kind:app

Contacts kind:contact

kind:contacts

Folders kind:folder

kind:folders

Email kind:email

kind:emails
kind:mail message
kind:mail messages

iCal Events kind:event

kind:events

iCal To Dos kind:todo

kind:todos
kind:to do
kind:to dos

Images kind:image

kind:images

Movies kind:movie

kind:movies

Music kind:music
Audio kind:audio
PDF kind:pdf

kind:pdfs

Preferences kind:system preferences

kind:preferences

Bookmarks kind:bookmark

kind:bookmarks

Fonts kind:font

kind:fonts

Presentation kind:presentation

kind:presentations

ที่มา : จาก help ใน spotlight ครับ

การ Install & Uninstall โปรแกรมบน OS X

บทความนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการ Install & Uninstall โปรแกรมต่าง ๆ ที่เราติดตั้งเพิ่มเติมเข้าไปบน OS X ที่จะมีโดยทั่วไปอยู่ 2 แบบคือ

  1. การติดตั้งผ่าน Installer Package
  2. การติดตั้ง Application Bundle ผ่าน Disk Image

โดยจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน ๆ ดังนี้

  • การ Install & Uninstall รูปแบบที่ 1 : Installer Package
  • package.jpg จะเป็นการติดตั้ง Package โปรแกรมผ่าน Installer.app ส่วนใหญ่ใช้กับการติดตั้งโปรแกรมใหญ่ ๆ หรือว่าโปรแกรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ system files

<

ul style="list-style-type: disc">

  • การ Install & Uninstall รูปแบบที่ 2 : Bundle + Disk Image
  • disk-img-icon.jpg เป็นการติดตั้ง Bundle โปรแกรมผ่าน Disk Image แบบลาก copy มาไว้ใน Application folder ส่วนใหญ่ใช้กับโปรแกรมเล็ก ๆ หรือโปรแกรมที่โลหดมาติดตั้งจาก internet (ดูเกี่ยวกับ Bundle /Application Bundle ได้จากเนื้อหา การ Install แบบ Bundle + Disk Image ประกอบ)

    note :

    1. ถ้าเราไม่แน่ใจว่าแต่ละโปรแกรม Install และ Uninstall อย่างไร หรือว่าสร้างไฟล์อะไรไว้ตรงไหนบนเครื่องเราบ้าง ... อย่าลงโปรแกรมนั้นครับ
    2. สิ่งที่ดี และควรทำที่สุดคือ อ่านเอกสารประกอบโปรแกรมอย่างละเอียดทุกครั้งก่อนการใช้งาน เพื่อช่วยลดปัญหาและเข้าใจกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของโปรแกรม บ่อยครั้งจะมีข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น เช่นการ Install, Uninstall หรือ FAQ ปัญหาและวิธีแก้เบื้องต้นครับ
    3. หลีกเลี่ยงการใช้งานโปรแกรมตระกูล Beta เพื่อเป็นโปรแกรมที่ยังไม่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาโปรแกรมนั้น ๆ ก่อนนำออกมาใช้จริง พวกนี้ส่วนใหญ่เราจะเจอกับโปรแกรม freeware ต่าง ๆ ที่โหลดมาได้จากบน Internet ครับ .. ถ้ามีเวอร์ชั่นจริงของโปรแกรมนั้น (ซึ่งส่วนใหญ่จะมีคู่กันกับ Beta) ก็ให้โหลดมาใช้งานจะดีกว่าเอาตัว Beta มาใช้

    อ่านอ้างอิงประกอบแบบละเอียดได้จาก
    http://developer.apple.com/tools/installerpolicy.html
    การ Install ทั่วไปบน OS X
    http://support.apple.com/kb/HT1148?viewlocale=en_US
    เกี่ยวกับ OS X Installer
    http://en.wikipedia.org/wiki/Installer_(Mac_OS_X)
    เกี่ยวกับ Uninstall โปรแกรมบน OS X
    http://guides.macrumors.com/Uninstalling_Applications_in_Mac_OS_X

    การ Install & Uninstall รูปแบบที่ 1 : Installer Package

    • การ Install โปรแกรมแบบที่ 1 : แบบ Installer Package

    การ Install
    หน้าตาของตัว Package จะมีลักษณะแบบนี้ครับ จะมีไฟล์ต่าง ๆ ซ่อนอยู่ภายใน icon รูปกล่องน้อย ๆ อันนี้

    package_0.jpg

    เวลา Install ให้ดับเบิลคลิ๊กที่ตัว package จะเป็นการเรียกใช้งาน Installer.app ขึ้นมาจากในเครื่องเราแบบอัตโนมัติเพื่อช่วยในการ Install ครับ จะมีหน้าตาแบบนี้

    installer-icon.jpg

    แล้วจากนั้นจะเข้าหน้า Installer เพื่อช่วยเราติดตั้งโปรแกรมตามปรกติทั่วไป

    installer.jpg

    วิธีการติดตั้งผ่าน Installer แบบนี้ สำหรับผู้ใช้งานแมคมือใหม่ที่ใช้ windows มาก่อน จะพบว่าคล้าย ๆ กันกับการ Install โปรแกรมบน windows ครับ คือมีขั้นตอนให้เลือกกดคลิ๊ก continue ไปเรื่อย ๆ สำหรับบน OS X แล้ววิธีนี้ส่วนมากจะใช้กับโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับไฟล์ system หรือมีส่วนประกอบที่จำเป็นอื่น ๆเยอะเกินกว่าจะ Install ด้วยวิธี Bundle + Disk Image ครับ

    การ Uninstall
    ส่วนมากการ Install ผ่าน Installer Package แบบนี้ จะมีตัว Uninstall มาให้ เพียงแต่อาจจะมีวิธีไม่เหมือนกันในแต่ละโปรแกรมครับ ถ้าต้องการ Uninstall โปรแกรมออก ให้ลองทำดังนี้

    • เข้าสู่ขั้นตอน Install application นั้น ๆ ใหม่อีกรอบ แล้วค่อย ๆ ดูว่ามีตัวเลือก Uninstall มาให้เลือกในระหว่างขั้นตอน Install ปรกตินี้หรือไม่ (ส่วนใหญ่ถ้ามีตรงนี้จะเป็น pop up มาให้เลือกครับ)
    • บางโปรแกรม จะมีตัว Uninstall แยกต่างหากมาให้ใน folder ของโปรแกรมนั้น ๆ เลย ถ้ามี ก็ให้เลือกใช้ตรงนี้เพื่อการ Uninstall ครับ
    • บางโปรแกรม จะไม่มีตัว Uninstall ตรง ๆ ให้ทำการอ่าน Readme หรือเอกสารประกอบของแต่ละโปรแกรมเพื่อให้ทราบขั้นตอนการ Uninstall ที่ถูกต้อง
    • ท้ายที่สุด ถ้าไม่มีเอกสารประกอบอะไรเลย ให้สอบถามไปยังบริษัทผู้พัฒนาโปรแกรมนั้น ๆ โดยตรงจะได้คำตอบที่ดีที่สุดครับ

    การ Install & Uninstall รูปแบบที่ 2 : Bundle + Disk Image

    • การ Install โปรแกรมแบบที่ 2 : Bundle + Disk Image (หรือโดยทั่วไปเข้าใจกันว่า Install แบบ Disk Image ครับ) ตรงนี้อธิบายยาวหน่อย แต่สรุปสั้น ๆ คือการ Install แบบลากมาวางใน Applications folder ครับ

    ก่อนอื่น... Bundle / Application Bundle คืออะไร?

    สำหรับผู้ใช้งานแมคมือใหม่อาจจะยังไม่คุ้นกับคำว่า Bundle มากนัก (จริง ๆ สำหรับ mac user หลาย ๆ คนก็ไม่เคยได้ยินคำนี้เหมือนกันครับ - ตัวผมเองเป็นต้น) ตัว Bundle จะเป็นคล้าย ๆ กับ folder หลักของโปรแกรมนั้น ๆ ที่จะเก็บ folder ที่เกี่ยวข้องกับ application นั้น ๆ เอาไว้อีกที มีหน้าตาเป็น iCon ของแต่ละโปรแกรมครับ

    app-icons.jpg

    เป็น icon แบบเดียวกับที่แสดงใน Applications folder ในเครื่องเรา โดยตัว icon พวกนี้คือ Bundle ที่จะมี folder ย่อย ๆ ซ่อนอยู่ ลองคลิ๊กขวาที่ icon โปรแกรมไหนก็ได้แล้วเลือก Show Package Contents จะเห็นภาพ

    show-contents-1.jpg

    ห้ามเลือกผิดนะครับ เพราะอาจจะพา app ลงถังขยะได้ (มาถึงตรงนี้ผมพอจะเข้าใจแล้วว่าทำไมถึงมีกรณีลบ app โดยไม่ตั้งใจเยอะมาก... คำสั่งอยู่ติดกันแบบนี้ - -) และเมื่อเลือกมาแล้ว ก็จะเห็น folder + file ต่าง ๆ ขึ้นมาเหมือน folder ปรกติทั่วไปบน OS X

    show-contents-2.jpg

    หมดจากอธิบายเรื่อง Bundle ไปแล้ว ก็จะมาที่วิธีการ Install app แบบ Bundle นี้กัน

    การ Install แบบ Bundle + Disk Image นี้ ส่วนใหญ่จะใช้กับ application ที่ไม่ซับซ้อน หรือว่ามีขนาดเล็กที่ download มาจาก internetโดยทั่วไป app จำพวก Bundle นี้จะมาในรูปของ Disk Image ครับ มีหน้าตาแบบนี้

    disk-img-icon_0.jpg

    ตัว disk image เองจะเป็นคล้าย ๆ กับ container ที่ห่อ Bundle เอาไว้อีกทีนึง เวลา install ก็ดับเบิลคลิ๊กไปที่ disk image ที่เราต้องการ ซึ่งตัว disk image จะทำการ mount ตัวเองบน desktop พร้อมกับแสดงหน้าต่าง finder ใหม่ที่มีไฟล์ Bundle ของโปรแกรมนั้น ๆ และไฟล์ประกอบ(ถ้ามี)ขึ้นมาครับ ดูภาพด้านล่างนี้ประกอบ

    Picture4_23.jpg

    หน้าต่าง Finder ด้านบนนี้เป็นฉบับย่อส่วนครับ ถ้าอยากเห็นแบบเต็ม ๆ ให้กดปุ่มด้านบนขวา เพื่อเรียกส่วนที่ซ่อนอยู่ของ Finder ออกมา แบบนี้ครับ

    Picture6_17.jpg

    ภาพประกอบจากขั้นตอนการติดตั้ง Adium ซึ่งจะเห็นว่า DIsk Image ของ Adium จะ mount บน desktop ของเราด้วย (ตรงลูกศรหมายเลข 2)

    หลังจากเราเห็นหน้าต่าง Finder แสดง Bundle ที่อยู่ใน disk image แล้ววิธี Install คือ จับ Bundle (icon app ตัวนั้นล่ะครับ) แล้วลากมาวางใน Applications folder บนเครื่องเรา

    เมื่อ copy Bundle ลงใน Applications folder เราแล้ว ก็ Eject ตัว disk image ออกจาก desktop ก็เป็นอันเสร็จกรรมวิธี Install แบบ Bundle + Disk Image นี้แล้ ครับ

    Tips :
    สำหรับบางโปรแกรม เช่น adium ในหน้าต่าง Finder ของ disk image ที่ mount ขึ้นมา จะมี Alias (shortcut )ไปยัง Applications folder ภายในเครื่องเราให้อยู่ในนี้เลย.. ที่เราต้องทำคือลาก Bundle ไปไว้ใน Alias นั้นแทนก็ได้ครับ ให้ผลเหมือนกัน ดูภาพประกอบต่อไปนี้ครับ

    drag-drop.jpg

    เครื่องหมายลูกศรเล็ก ๆ (ในวงสี่เหลี่ยมสีแดง) จะเป็นตัวบอกเราว่านี่เป็น Alias (shortcut) ไปยัง Applications Folder ภายในเครื่องของเราครับ .. เราสามารถลาก icon (Bundle) ลงมาตรงนี้ได้เลย

    การ Uninstall
    ตามธรรมดาทั่วไป โปรแกรมที่เรา Install แบบลาก copy มาไว้ใน Application folder แบบนี้ เราสามารถ Uninstall ได้ด้วยการลบทิ้ง หรือว่าลากลง Trash ได้เลย แต่จะมีไฟล์ของโปรแกรมนั้นบางส่วนที่ถูกสร้างขึ้นมาทีหลังและยังค้างอยู่บนเครื่องเราครับ เพราะว่าไฟล์พวกนั้นจะอยู่ใน folder อื่น ไม่ได้อยู่ใน bundle ที่เราลากลงถังไปครับ.. ไฟล์พวกนี้ได้แก่

    • Preferences : จะเป็นไฟล์ที่จดจำค่าการใช้งานต่าง ๆ ของโปรแกรมระหว่างถูกใช้งานอยู่บนเครื่องเราส่วนมากไฟล์พวกนี้จะมีประโยชน์กรณีที่เราเปลี่ยนใจต้องการ Install โปรแกรมนั้นใหม่ เราสามารถใช้พวกค่า setting ต่าง ๆ ที่เราเคยทำเอาไว้แต่ก่อนได้เหมือนเดิมครับ ไม่ต้องตั้งใหม่ ปรกติฟล์พวกนี้มีขนาดไม่ใหญ่ ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาออก แต่ถ้าต้องการเอาออกจริง ๆ ก็สามารถเข้าไปลบเองได้จาก ~/Library/Preferences (ตัวสัญลักษณ์ ~ แทน Home folder ของเครื่องเรา) โดยไล่หาไฟล์ที่มีชื่อเดียวกับโปรแกรมที่เราต้องการเอาออก และมีนามสกุล .plist (preference file) หรือให้แน่ใจที่สุด ดูเอกสารประกอบโปรแกรม ว่ามีไฟล์อะไรที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมนั้น ๆ บ้าง เพราะว่าบางไฟล์ ใช้งานร่วมกันหลายโปรแกรม ถ้าเราไปเอาออกเข้า โปรแกรมที่เหลือจะเพี้ยนครับ

    • Support files : ไฟล์ประกอบโปรแกรม เป็นไฟล์เสริมต่าง ๆ มีหลายขนาดตั้งแต่ไม่กี่ KB ไปจนถึง GB ที่เห็นมีขนาดใหญ่ ๆ เช่นพวกไฟล์เสียงจาก GarageBand หรือไฟล์ประกอบโปรแกรมมัลติมีเดียต่าง ๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ ~/Library/Application Support

    ถ้าเราไม่ต้องการไล่ลบไฟล์ Preferences ต่าง ๆ พวกนี้เอง มี App เสริมช่วยให้เราเอาตรงนี้ออกได้ทุกครั้งที่เรา Uninstall หรือว่าลบตัว Application Bundle ทิ้งไปครับ เช่น AppCleaner (ฟรี)

    ถ้าโปรแกรมนั้นมีอยู่บน dock ด้วย หลังจากที่ลากตัว app จริงลงถังและ empty trash ไปแล้ว ตัว icon โปรแกรมจะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายคำถาม ให้เราลากตัว icon นั้นออกจาก dock ทิ้งไปครับ (จะเป็นฝุ่นหายไปเมื่อเอามาปล่อยนอก dock)

    note :

    1. ก่อนลบโปรแกรมด้วยการ empty trash ให้ปิดโปรแกรมนั้น ๆ ก่อนเสมอนะครับ
    2. ก่อนลบไฟล์ใดใดก็ตามออกจากเครื่อง ให้อ่าน readme หรือเอกสารประกอบโปรแกรมให้แน่ใจว่าไฟล์ไหนเกี่ยวข้องกับอะไร ลบได้หรือลบไม่ได้บ้าง เพราะมีบางไฟล์ที่อาจจะใช้งานร่วมกันหลายโปรแกรม ถ้าเราไปเอาตรงนั้นออก พวกโปรแกรมที่เหลือจะทำงานผิดปรกติครับ

    การจัดการไฟล์แบบฐานข้อมูล ในโปรแกรมต่าง ๆ บน OS X

    บทความนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการไฟล์ในแบบฐานข้อมูล (Database) ในโปรแกรมพื้นฐานต่าง ๆ ที่มีอยู่บน OS X คร่าว ๆ นะครับ

    คือผมตั้งใจว่าจะเขียนบทความเกี่ยวกับ iTunes และเริ่ม iLife’08 แล้ว จึงน่าจะเป็นการดีกว่าถ้าจะมีการอธิบายเพิ่มเติมตรงนี้เพื่อเตรียมพื้นฐานความเข้าใจตรงนี้ร่วมกันก่อนครับ

    ที่มา

    สำหรับผู้ที่ใช้ Windows PC มาก่อน อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับการจัดไฟล์ในรูปแบบฐานข้อมูลนี้เท่าไหร่นัก เพราะบน WIndows PC โปรแกรมฐานข้อมูลนั้นค่อนข้างเฉพาะทาง และมีราคาแพง ไม่เหมือนกับบน OS X ที่โปรแกรมพื้นฐานต่าง ๆ แทบทั้งหมดล้วนมีการทำงานในรูปแบบของฐานข้อมูลทั้งสิ้น เช่น iTunes, iPhoto, Address Book, iCal, Mail.. ฯลฯ

    ข้อดี

    การจัดไฟล์แบบฐานข้อมูลมีข้อดีดังนี้

    • การบริหารจัดการไฟล์ทำได้ง่ายกว่า เราไม่ต้องเสียเวลาจัดการกับไฟล์เอง เช่นบน Windows PC ส่วนใหญ่แล้วเราจะจัดตำแหน่ง หรือว่าบริหารจัดการไฟล์เองเกือบทั้งหมด ..ซึ่งมักจะมีปัญหากับขนาดของข้อมูลที่มากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป แต่บน OS X เราแทบไม่ต้องทำตรงนั้นครับ เราแค่เอาไฟล์ใส่เข้าไปใน Library ของโปรแกรมนั้น แล้วที่เหลือ โปรแกรมจะจัดการต่อเกือบทั้งหมดให้เรา ตรงนี้จะเป็นประโยชน์มากตามขนาดของข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเราไม่ต้องทำเอง
    • การแสดงผล หรือว่าการจัดการที่ทำได้หลากหลาย จากเดิมบน Windows PC ถ้าเราจัดการกับไฟล์เพลงเป็นแฟ้มปรกติ อย่างมากที่เราทำได้คือการเรียงลำดับตามชื่อ, ขนาด หรือว่าวันที่ แต่เราไม่สามารถแสดงผลเฉพาะเช่น แสดงเฉพาะเพลงแจ๊สเพียงอย่างเดียวได้. ซึ่ง iTunes (ทั้งบน Windows และ OS X) สามารถทำตรงนี้ได้ครับ
    • การค้นหาที่ทำได้รวดเร็ว เพราะโปรแกรมแบบฐานข้อมูลส่วนมากจะมีการเก็บรายละเอียดของไฟล์เอาไว้เพื่อใช้ในการค้นหาได้ด้วย เช่นใน iTunes เราสามรถค้นหาจากชื่อเพลง, ชื่อวง หรือว่า แนวเพลงที่ต้องการจากเงื่อนไขเดียว หรือหลายเงื่อนไขพร้อม ๆ กันได้อย่างรวดเร็ว

    ธรรมชาติของการจัดไฟล์แบบฐานข้อมูล หรือว่า database

    ส่วนใหญ่แล้วที่เราต้องทำคือการนำข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือทั้งหมดไปใส่ไว้ใน Library หรือว่าฐานข้อมูลของโปรแกรม แล้วจากนั้น เราค่อยจัดการกับไฟล์ต่าง ๆ ใน Library ของตัวโปรแกรมนั้น ๆ อีกที.. ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว โปรแกรมจะทำงานได้ดี และเต็มประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อ เรานำไฟล์ไปใส่ไว้ใน Library ของโปรแกรมนั้น ๆ แล้วครับ เช่น นำเพลงไปใส่ไว้ใน Library ของ iTunes, การนำไฟล์ภาพ ไปใส่ไว้ใน Library ของ iPhoto เป็นต้น

    พอเราเอาไฟล์ทุกอย่างไปใส่ไว้ใน Library ของโปรแกรมแล้ว เราสามารถ

    1. เลือกแสดงผลของไฟล์ในรูปแบบที่เราต้องการได้ ทั้งจากข้อมูลของไฟล์นั้น ๆ หรือจากเงื่อนไขที่เรากำหนดเอง
    2. ค้นหาจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับไฟล์นั้น ๆ
    3. บน OS X ฐานข้อมูลของหลาย ๆ โปรแกรมสามารถทำงานร่่วมกันได้เป็นอย่างดี ผ่าน Media Browser ครับ

      • media-browser.jpg
      • เช่น
      • เราสามารถนำรูปจาก iPhoto ไปแทรกไว้ใน email บน Mail.app ที่เราต้องการได้ โดยที่ไม่ต้องย้ายไฟล์ไปมา
      • หรือใน iPhoto เวลาเราทำ slideshow เราสามารถแทรกเพลงจากใน GarageBand หรือว่าใน iTunes ตาม playlist ที่เราจัดเอาไว้ได้ โดยที่ไม่ต้องเอาเพลงออกมาจากใน iTunes ครับ
      • บน iMovie เราแทรกรูปจาก iPhoto หรือว่าเพลงจาก GarageBand, iTunes ได้ เหมือนการทำงานร่วมกันระหว่างโปรแกรมบน iLife อื่น ๆ

    คร่าว ๆ เป็นประมาณนี้นะครับ =)

    note : เอาไว้ผมจะค่อย ๆ ทะยอย update บทความนี้นะครับ คิดว่าคงจะเพิ่มเติมข้อมูลตรงนี้หลังจากที่เขียนเกี่ยวกับ iTunes, iPhoto เสร็จแล้ว

    การบำรุงรักษา OS X ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ

    ปรกติจะมีเรื่องที่ผู้ใช้ที่เพิ่งเปลี่ยนจาก Windows PC มาใช้ Mac หลังจากใช้งานไปสักพัก จะเร่ิมเป็นกังวลเกี่่ยวกับการบำรุงรักษา OS X ให้ใหม่สดและใช้งานได้ดีอยู่เสมอ โดยจะมีอยู่สองเรื่องหลัก ๆ คือ

    1. การ Defrag บน OS X
    2. ล้าง Temporary Files หรือไฟล์ขยะบน OS X

    อธิบาย..

    1.เกี่ยวกับการ Defrag Hard disk บน OS X

    การใช้งานระบบไฟล์แบบ FAT32 บน Windows PC นั้น หลังจากเราเขียน อ่าน ข้อมูลบน HD ไปสักระยะแล้ว จะเกิด “หลุมอากาศ” ขึ้นบน HD ที่ทำให้ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้ ปรกติระบบ OS จะทำการเขียนข้อมูลข้้าม “หลุม” พวกนี้ไปให้แบบอัตโนมัติ ก็จะมีที่ตามมาคือ ข้อมูลกระจายตัวอยู่บน HD มากขึ้น ทำให้การเข้าถึงข้อมูล และการทำงานกับข้อมูลที่กระจายตัวเหล่านั้นทำได้ช้าลง ที่เรามักจะต้องทำการ Defrag Disk เองอยู่เสมอบน Windows pc ที่จะทำการจัดเรียงข้อมูลใหม่ ให้ข้อมูลอยู่ใกล้กันมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมให้ดีขึ้น

    บน OS X ก็จะมีหลุมอากาศพวกนี้เกิดขึ้นเมื่อเราจัดการกับไฟล์ต่า่ง ๆ ตรงนี้เหมือนกัน ... แต่.. บน OS X จะพยายามจัดการหลุมอากาศที่เกิดขึ้นเหล่านี้เอง พูดให้ง่ายคือ ระบบ OS จะทำตรงนี้ให้เราเองครับ โดยที่เราไม่ต้องสั่งการอะไรเพิ่มเติม และไม่จำเป็นครับ

    อีกเหตุผลนึงที่คือ Hard disk สมัยใหม่ที่มีค่าการอ่าน - เขียนกับพื้นที่ ๆ เพิ่มขึ้นมากแล้ว ไม่เหมือนแต่ก่อนที่พื้นที่น้อย แล้ว OS ต้องพยายามจะหาที่เขียนข้อมูลลงไปแบบจำกัดจำเขี่ย.. ด้วยเหตุผลนี้ เป็นอีกประการที่เราไม่มีความจำเป็นในการ Defrag เพื่อการทำงานที่ดีขึ้นครับ

    หรือถ้าใครไม่มั่นใจ และต้องการที่จะทำการ Defrag disk เอง ก็สามารถทำได้โดยอาศัย app อื่น ๆ มาช่วยครับ เช่น iDefrag (ไม่ฟรีครับ ราคา 17.5 ปอนด์ หรือประมาณ 950 บาทครับ)

    note : จากเอกสารประกอบในเวป apple.com ระบุเอาไว้ว่า การ defrag เองนั้น อาจจะมีการย้ายตำแหน่งไฟล์สำคัญของระบบบางส่วนเกิดขึ้น และตรงนี้อาจจะก่อปัญหาให้เครื่องทำงานผิดพลาดได้ครับ

    อ่านเพิ่มได้จาก
    About disk optimization with Mac OS X

    2.เกี่ยวกับการล้าง Temporary , Log files บน OS X

    Temporary Files (Temp files) : คือไฟล์ชั่วคราวซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเราใช้งานเครื่องไปสักระยะ มีทั้งเกิดขึ้นจากตัวระบบ OS เอง (พวก System Logs) และเกิดจาก Application ต่าง ๆ ที่เราใช้งานบนเครื่อง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมีประโยชน์มากกว่าโทษครับ

    ก่อนจะเข้าสู่การล้าง Temp file บน OS X ผมอยากจะเขียนอธิบายก่อน ซึ่งเป็นไฟล์ขั่วคราวที่บางคนไม่เข้าใจว่ามีเอาไว้ทำอะไร เลยพาจะลบเอาเรื่อย ๆ เพราะคิดว่ากินพื้นที่

    • Cache : จะเป็นไฟล์ที่เก็บค่าใช้งานบางส่วนของโปรแกรมที่เราใช้ เมื่อมี Cache อยู่ เราจะใช้งานโปรแกรมโดยรวมได้ดีขึ้น เช่นใน Safari พวก Cache ก็จะทำให้เราเปิดหน้าเวปได้เร็วขึ้น เพราะเค้าจะจำบางส่วนของหน้าเวปเอาไว้ ทำให้ไม่ต้องโหลดใหม่หมดทุก ๆ ครั้งครับ การล้าง Cache สมควรกระทำเพื่อแก้ปัญหาการทำงานของโปรแกรมที่ทำงานผิดพลาด มากกว่าจะกระทำเป็นประจำนะครับ
    • System Logs : ตรงนี้เป็นรายการของกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเครื่องของเรา มีประโยชน์มหาศาลในการไล่หาความผิดปรกติของเครื่องครับ (ไม่จากเรา ก็ให้ช่างเทคนิกดู) โดยปรกติ OS X จะทำตรงนี้เอง (ในตอนตี 3- ตี 5 ของทุกวัน) แต่ถ้าเราต้องการทำเองก็สามารถทำได้ ดูจาก link บทความด้านล่างประกอบตรงนี้ครับ

    note : การแก้ปัญหาถ้าเกิดเราเจอโปรแกรมทำงานผิดพลาดที่ดีและง่ายที่สุดเลยคือ การ restart ครับ =)

    อ่าน เกี่ยวกับ Temporary Files และ System Logs บน OS X ประกอบ
    ดู การล้าง Temp files, system logs บน OS X ครับ

    note : บทความนี้ผมเขียนเอาตามความเข้าใจส่วนตัวเองนะครับ ตัดเรื่องข้อมูลทางเทคนิคลืึก ๆ ไป (เพราะผมเองก็ไม่รู้ แบร่..) เอาเฉพาะที่คิดว่าผู้ใช้มือใหม่ส่วนใหญ่น่าจะอ่านได้ง่ายเป็นหลัก หากมีข้อผิดพลาดหรือจะแนะนำเพิ่มเติม ก็ใส่ไว้ใน comment ด้านล่างนี้นะครับ

    การ Maintenance OS X #1 : เกี่ยวกับ Temporary files และ System Logs

    สำหรับคนที่ใช้ Windows pc มาก่อน อาจจะคุ้นเคยกับคำว่า Temp files ที่เป็นไฟล์ที่เกิดขึ้นจาก system หรือโปรแกรมต่าง ๆ เองเรื่อย ๆ เมื่อเราใช้เครื่องของเราไปสักระยะหนึ่ง ที่จะกินพื้นที่ HD ของเราไป และในบางกรณีจะใช้พื้นที่มากเกินความจำเป็น ทำให้เราต้องหาทางจัดการล้างไฟล์เหล่านั้นทิ้ง

    บน OS X ก็เหมือนกัน คือจะมีการสร้างไฟล์ชั่วคราว (Temporary Files) และ System log เกิดขึ้นระหว่างที่เราใช้งานไปแต่มีหลายอย่างที่แตกต่างกันครับ ในบทความนี้เลยจะขอเขียนถึง Temporary Files ที่มีบน OS X แบบคร่าว ๆ

    Temporary Files : ไฟล์ที่เกิดขึ้นชั่วคราวทั้งจากระบบและจากโปรแกรมต่าง ๆ มีทั้งที่เกิดขึ้นแล้วไม่ยอมไปไหน และมีทั้งแบบที่เกิดขึ้นแล้วจะหายไปเอง ที่เราคุ้น ๆ กันทั่วไปเช่น

    • จาก OS X : Recovered Files ใน Trash

      • บางครั้งเราจะเจอ Recovered ไฟล์ใน Trash ครับ ซึ่งจะเป็น temp file แบบนึงที่เกิดจาก app ต่าง ๆ ขณะใช้งาน ซึ่งปรกติแล้ว app จะจัดการล้างไฟล์ที่ไม่จำเป็นพวกนี้ทิ้งไปเมื่อปิดโปรแกรม แต่ในบางกรณี ถ้า app ค้าง หรือว่า crash เจ้า temp file ที่เกิดขึ้นค้างเอาไว้จะยังคงอยู่ในระบบ และถ้าเรา restart เครื่อง เจ้าไฟล์ที่ค้างเอาไว้อยู่นี้จะถูกนำไปอยู่ใน Trash ให้โดย OS X ครับ ในบางกรณีเราสามารถจะใช้ Recovered File จากใน Trash เพื่อกู้ข้อมูลที่ทำงานค้างเอาไว้ได้ด้วย
    • บน Safari (หรือ Browser อื่น ๆ ) จะเป็น temp file แบบถาวรติดอยู่ในเครื่องครับ
      • Cache : ไฟล์ชั่วคราวที่จะทำให้ใช้งานโปรแกรม / เปิดหน้าเวปเร็วขึ้น
      • Web History : รายการแสดงหน้าเวปที่เราเคยเข้ามา
      • ฯลฯ
    • บน iDVD (temp ชั่วคราว และหายไปเมื่อเสร็จสิ้นคำสั่ง)
      • เวลาที่เราแปลงหนัง จะใช้พื้นที่บน HD เราส่วนนึงเพื่อที่จะแปลงไฟล์
    • Photoshop (temp ชั่วคราว และหายไปเมื่อออกจากโปรแกรม)
      • Scratch disk : พื้นที่บน HD ชั่วคราวที่จะถูกดึงมาใช้ตอนเราทำงานกับไฟล์บน Photoshop

    System Logs : เป็นการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นของระบบ เป็นการบันทึกเองในข้างหลังการทำงานทั่วไปขณะที่เราใช้งาน OS X ครับ .. มีเอาไว้ให้ช่างเทคนิกดูเพื่อไล่หาอาการผิดปรกติของเครื่องได้ด้วยดู การล้าง Temp files และ System Logs บน OS X ประกอบครับ

    การ Maintenance OS X #2 : การล้าง Temporary files และ System Logs

    การล้าง Temporary Files, System logs บน OS X สามารถทำได้หลัก ๆ 2 แบบครับ

    1. ใช้ Application จากค่ายอื่นมาช่วย
    2. ใช้คำสั่งผ่าน Command line บน Terminal.app ใน OS X

    1.การใช้ Application อื่น ๆ มาช่วยล้าง Temp files

    เราสามารถใช้ Application จากผู้พัฒนาอื่น ที่ไม่ใช่จาก Apple มาใช้ล้าง temp ได้ครับ ซึ่งสามารถหาโหลดได้จากเวป mac app ทั่วไปในหัวข้อเกี่ยวกับ Utilities หรือว่า System ครับ เช่น

    • Cocktail : โปรแกรมจัดการ Utility สารพัด ราคา 14.95 เหรียญ
    • Onyx : โปรแกรมฟรี ที่จะช่วยจัดการ Maintenance Tasks ต่าง ๆ ให้เรา จาก Titanium’s Software
    • Maintenance 1.2.4 : maintenance พวกล้าง cache, Log หรืออื่น ๆ (เป็นความสามารถบางส่วนเหมือน Onyx เพราะมาจากผู้พัฒนาเดียวกัน แต่ตัวนี้จะเล็กกว่า) ตัวนี้ ฟรีครับ
    • Maintenance 3.8 : automator script ที่เรียบง่าย และช่วยเราล้างไฟล์ที่เราต้องการได้ พัฒนาโดยคุณ Jesse Hogue ฟรีครับ

    note : การล้าง Temp ไฟล์จากโปรแกรมต่าง ๆ ด้านบน ผู้ใช้ควรจะทราบค่าต่าง ๆ ที่ตัวเองเลือกเป็นอย่างดีก่อน เพราะอาจจะมีปัญหาที่วุ่นวายตามมาได้หากใช้งานไม่ถูกต้อง

    2.การใช้ Command line สั่งงานผ่านTerminal.app บน OS X

    ปรกติ OS X จะทำการล้างไฟล์ temp หรือว่า system log เป็นประจำอยู่แล้ว (ระหว่าง ตี 3-ตี 5 ของทุก ๆ วัน) แต่ถ้าเราปิดเครื่องระหว่างช่วงเวลากลางคืน เราก็อาจจะต้องสั่งงานตรงนี้เอาเอง อย่าเพิ่งกลัวครับ เป็นแค่การพิมพ์ภาษาอังกฤษบรรทัดเดียว มีความสุข

    สามารถเข้าไปดูรายละเอียด การสั่งงานผ่าน Command line เพื่อ Manitenance OS X นะครับ ผมเขียนเอาไว้ในห้อง Tips& Tricks แล้ว =)

    การแบ่ง partition

    ดู Disk Utility : การแบ่ง partition

    ดูรายละเอียดไฟล์

    ดู Get Info

    ปรับแต่ง OS X

    ปรับแต่งส่วนต่าง ๆ ของ OS X เช่น ภาษา, การแสดงผลของหน้าจอ, การพักหน้าจอ, การเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่น ๆ

    ดู System Preferences

    เกี่ยวกับ Shortcut

    ว่าด้วยเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับ Shortcut หรือว่าคีย์ลัดบน OS X

    สัญลักษณ์ Shortcuts บน OS X

    สัญลักษณ์ใน Shortcuts บน OS X

    Shortcut คือ การกดคีย์ลัดเพื่อใช้งานคำสั่งต่าง ๆ บนโปรแกรม มีเอาไว้ให้การเข้าถึงคำสั่งรวดเร็วขึ้น บน OS X จะมีปุ่มที่หลัก ๆ สำหรับกดคีย์ลัด หรือ Shortcut ดังนี้

    ปุ่มบนแป้นคีบอร์ด สัญลักษณ์ใน shortcut เรียกว่าปุ่ม..
     command ⌘  Command
    alt, option Alternate, Alt, Option
    ctrl Control
    fn fn Function
    shift shift
    tab tab หรือ →| Tab
    esc Esc, Escape
    enter Enter
    return Return
    arrow ←↑→↓ ลูกศร
    page up Page Up
    page down Page Down
    Top (home) Top (Home)
    End End
    delete Delete (ลบตามปรกติ)
    forward delete Forward Delete (ลบไปข้างหน้า)
    Space bar Space bar Space bar

    ตัวอย่างวิธีอ่าน

    ⌘⇧3 = Command + Shift + เลข3 = เป็นการ Capture หน้าจอ
    ⌘⎋ = Command + esc = เรียกใช้งาน Front Row

    ดูเพิ่มเติมได้จากใน help ของ finder แล้วพิมพ์คำว่า Symbols for special keys

    การเพิ่ม Shortcut เอง

    การเพิ่ง Shortcut ใหักับ application ต่าง ๆ เอง

    ดู System Preference : การเพิ่ม Shortcut ให้กับคำสั่งต่าง ๆ เอง

    เกี่ยวกับการ Sleep

    Sleep : เป็นการเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงาน (ทั้งจากเครื่องต่อไฟตรง หรือว่าโน๊ตบุคที่ทำงานผ่านแบตเตอรี่)

    การตั้งค่าเกี่ยวกับการ Sleep

    enegy-saver.jpg
    ไปที่ System Preferences เลือำ Energy Saver

    เข้าหน้าต่างการตั้งค่า Sleep

    sleep-1.jpg
    อธิบาย
    Setting For : ให้เราเลือกว่าจะใช้การตั้งค่านี้สำหรับสถานะการณ์ใดบ้าง โดยทั่วไปมีให้เลือก 2 แบบคือ ระหว่างที่เราต่อไฟตรงจากปลั๊ก กับ การใช้งานบนแบตเตอรี่สำหรับโน๊ตบุค
    Optimization : เลือกว่าจะปรับค่าการใช้งานแบบใด

    Optimization.jpg

    • Better Energy Saving : สำหรับประหยัดพลังงานแบบสุด ๆ เพื่อให้้ใช้งานได้นานขึ้น (แบตลดช้าลง)
    • Normal : การใช้งานปรกติ
    • Better Performance : เน้นการทำงานเป็นหลัก ทำให้โปรแกรมสามารถใช้ทรัพยากรที่อยู่บนเครื่องได้เต็มที่ เหลือกับต่อไฟบ้านอยู่ (แบตหมดเร็วขึ้น แต่งานก็เสร็จเร็วขึ้นเช่นเดียวกัน)

    Put the computer to sleep when it inactive for : ตั้งว่าให้เครื่อง sleep ถ้าไม่มีกิจกรรมใด ๆ เกิดขึ้นบนเครื่อง

    note : ถึงเราจะไม่ได้ทำอะไรอยู่ก็ตาม แต่ถ้าบาง app ยังคงทำงานอยู่ใน background เครื่องก็จะไม่ sleep ครับ ส่วนใหญ่ app พวกโปรแกรมช่วย download จะทำให้เครื่องไม่ sleep

    Put the display(s) to sleep when it inactive for : ตั้งค่าตรงนี้จะเป็นการพักหน้าจอ (แบบดับไปเลย) ครับ ซึ่งจะทำงานร่วมกันกับ ScreenSaver จากภาพตัวอย่างมีคำเตือนขึ้นมาว่า หน้าจอผมจะดับก่อนที่ ScreenSaver จะทำงาน

    ทำนองเดียวกัน ถ้าผมเข้าไปดูในส่วนของ ScreenSaver เค้าก็จะเตือนมาแบบนี้เหมือนกัน

    Picture2_24.jpg

    Put the hard disk to sleep when possible : ทำให้ Hard disk หมุนช้าลง หรือหยุดหมุนเลยเมื่อเข้าสู่การ sleep ครับ

    การตั้งค่า Schedule

    Schedule.jpg

    ตรงนี้จะเป็นการตั้งเวลาเปิด ปิด แน่นอน หรือว่าจะสั่ง Sleep ในเวลาที่แน่นอนก็ได้

    การตั้งค่า Options

    sleep-option.jpg

    Wake for Ethernet network administrator access : สามารถถูกปลุกได้จาก network
    Automatically reduce the brightness of the display before display sleep : หรือหน้าจออัตโนมัติก่อน Sleep
    Restart automatically after a power failure : ให้เครื่องทำการรีสตาร์ทเอง หลังจากที่ไฟตก หรือไฟกระชาก
    Show battery status in the menu bar : แสดงสถานะของแบตเตอรี่บน menu bar

    note : อาจจะมี options อื่นเพิ่มเติมนอกจากนี้ เช่น ถ้าในเครื่องมี modem อยู่ เราสามารถตั้งให้เครื่องถูกปลุกได้จากสัญญาณของ modem ได้ด้วย

    ว่าด้วยเรื่อง Sleep

    sleep : เป็นภาวะที่เครื่องเข้าสู่โหลดประหยัดพลังงาน โดยทั่วไปเหมือนกับบน window pc ครับ แต่บน Mac มีสิ่งที่แตกต่างออกไปอีกนิดหน่อย

    (ดู เกี่ยวกับการตั้งค่า sleep ประกอบ)

    ตามความเข้าใจของผม การ Sleep ของเครื่องมีอยู่ 2 ระดับครับ คือ

    1.การหลับแบบไม่ลึก (Idle State, Display Sleep) : หรือดับแค่หน้าจอ .. ถ้าเครื่องไม่มีกิจกรรมอะไรสักระยะ (แต่อาจจะยังมี app ที่ยังคงทำงานอยู่ใน background)หน้าจอจะดับ และ ไฟหน้าเครื่องจะติดค้าง (สำหรับ MacBook, MacBook Pro) เราสามารถเรียกกลับมาได้ด้วยการขยับเมาส์

    2.หลับลึก (ที่เราเรียก ๆกันว่า Sleep นี่ล่ะครับ จะหมายถึงตรงนี้) หลังจากหน้าจอดับไปสักพัก (หรือตามที่เราตั้งเวลาเอาไว้) และไม่มีกิจกรรมใด ๆ เกิดขึ้นบนเครื่อง HDD จะเริ่มหมุนช้าลงและหยุดหมุน และทุกส่วนเข้าสู่โหลดการประหยัดพลังงานเต็มรูปแบบ ไฟหน้าเครื่องจะกระพริบเป็นจังหวะเหมือนหายใจอ่อน ๆ แบบนี้ เราเรียกกลับมาด้วยการขยับเมาส์ไม่ได้ครับ ต้องกดปุ่มบนคีบอร์ดเพื่อกระตุ้น

    note : การเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงานเครื่องจะค่อย ๆ ลดการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ลง จนหมดก่อนถึงจะเข้าสู่การ“หลับลึก“ ครับ ดังนั้น ถ้าเรายังขยับเมาส์แล้วเรียกเค้ากลับมาได้ แสดงว่ายังมีส่วนหนึ่งส่วนใดของเครื่องยังทำงานอยู่ และเป็นการพักแค่หน้าจอเฉย ๆ =)

    มีอะไรเกิดขึ้นตอน Sleep บ้าง?

    เครื่อง Desktop

    • Cpu เข้าสู่โหมดประหยัดพลังงาน
    • Video output ถูกปิด
    • Hard disk ในเครื่องหมุนช้าลง(ทั้งจากของ Apple หรือยี่ห้ออื่นที่เราใส่เข้าไปในเครื่อง)

    เครื่องโน๊ตบุค (MacBook Series)

    • Port Lan จะถูกปิดการทำงาน
    • Express Card, PCMCIA slot จะถูกปิด
    • ปิดการทำงานของ Built-in Modem, Airport, Audio input/output
    • Usb Port จะถูกปิดไม่ตอบสนอง ยกเว้นกับคีบอร์ดที่ถูกต่อเพิ่มเข้าไปเท่านั้น
    • Optical Drive จะหมุนช้าลง
    • และปิดแสงบนคีบอร์ด

    เราสามารถสั่งให้เครื่อง ”หลับลึก” (Sleep) ได้จาก

    • เลือก Sleep จาก Apple menu บน menu bar
    • ปิดฝาหน้าจอ (สำหรับเครื่องโน๊ตบุคของ Apple)
    • กดปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง แล้วเลือก sleep
    • ปล่อยเครื่องทิ้งเอาไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งตามที่เราตั้งเอาไว้ใน System Preferences/Energy Saver

    อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง Sleep ได้จาก

    http://support.apple.com/kb/HT1776
    http://support.apple.com/kb/HT2412?viewlocale=en_US

    OS X Tips

    Tip & Tricks ในการใช้งาน OS X 

    Thai-Eng Dictionary บน OS X #2

    เป็น Thai-Eng dictionary อีกตัวนึงที่คุณ iolimit
    นำมาแนะนำในห้องสนทนาครับ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ
    http://macmuemai.com/forum/topic/345

    Thai-Eng Ditionary บน OS X

    วันนี้จะลองเขียนแนะนำเกี่ยวกับการใช้งาน Thai-Dictionary บน OS X ครับ (บทความนี้อ้างอิงจากการใช้งานได้บน OS X 10.5.5)

    ทั่วไปการใช้งาน Thai-Eng Dictionary บน OS X มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ

    1. โปรแกรมติดตั้งในเครื่องแบบ Stand Alone
    2. โปรแกรม Widget ที่ใช้งานร่วมกับการค้นหาจากในเวป
    3. ค้นหาจากหน้าเวปโดยตรง

    โปรแกรมติดตั้งภายในเครื่อง

    เป็น Dictionary ที่ทำงานแบบโปรแกรมเดี่ยว ๆ โดยไม่จำเป็นต้องต่อ Internet เพื่อดึงข้อมูลมาเป็นผลการค้นหา

    • ข้อดี : การติดตั้งโปรแกรมลงบนเครื่องแบบนี้มีข้อดีคือเราไม่จำเป็นที่จะต้องต่อ internet ตลอดเวลา สามารถใช้งานเมื่อไหร่ก็ได้ หรือใช้งานในสถานที่ ๆ ไม่มี Internet ได้
    • ข้อด้อย : การอัพเดทคำต่าง ๆ ไม่รวดเร็วเหมือนโปรแกรมที่ผูกกับหน้าเวป

    เท่าที่ผมลองหาดูคร่าว ๆ เห็นมีของ Infinisoft Technology (มีให้โหลดจากหน้าเวปของ apple.com ในส่วนของ download ด้วย)ที่สามารถทำงานร่วมกับ shortcut ในการเรียก dictionary ปรกติภายในเครื่องได้ (กด Ctrl+Command+D) ตามภาพด้านล่างนี้

    thai-dict_0.jpg

    สามารถ download ได้จาก

    http://www.infinisoft.co.th/mac-thai-dict
    หรือ
    http://www.apple.com/downloads/macosx/productivity_tools/thaidictionary.html

    วิธีการติดตั้ง

    • Download โปรแกรมจาก Link ด้านบน (อันใดอันหนึ่ง) จากนั้นพอ Download เสร็จ ระบบน่าจะทำการเตรียม Install ให้โดยอัตโนมัติ
    • ถ้าเครื่องไม่ทำการเตรียมติดตั้งให้เองหลังจากที่ download มาไว้บนเครื่องแล้ว ให้เราดับเบิลคลิ๊กที่ไฟล์ mac-thai-dict-1.0.pkg ตรง ๆ เลย เพื่อเรียกตัวช่วยติดตั้ง (installer) ขึ้นมา
    • การติดตั้งจะเป็นเหมือน install โปรแกรมผ่าน installer ทั่วไป ให้กดผ่านไปเรื่อย ๆ และใส่ user + password เพื่อยืนยันการติดตั้ง
    • หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว เราสามารถเรียกใช้โปรแกรมได้เลยโดยการ hi-light ที่ตัวหนังสือ แล้วกด Ctrl+Command+D เพื่อเรียกใช้ Dictionary ปรกติ แต่จะเห็นตัวเลือกเป็นคำไทยขึ้นมาแล้ว (ตรงนี้แอบชอบครับ สะดวกสุด ๆ - ก๊อก)
    • ดูการปรับผลการค้นหาในขั้นตอนต่อไปประกอบ

    วิธีปรับให้ผลการค้นหาจาก Thai-Dict เป็นลำดับแรก

    1.เปิดโปรแกรม Dictionary ของเครื่องเราขึ้นมา (Application/Dictionary.app)
    2.ไปที่ Preference แล้วเลือกรายการ Dict ไทย อังกฤษ ที่เราเพิ่งติดตั้งเอาไว้ในเครื่อง(น่าจะอยู่รายการล่างสุด) ให้ลากมาไว้เป็นรายการแรก ตามภาพนี้ครับ

    order-list_0.jpg

    จากนั้น พอเราเข้าโปรแกรม Dictionary ครั้งต่อไป ผลการค้นหาที่ได้จะแสดงจาก Thai-Dict ของเราก่อนเป็นลำดับแรกแล้วครับ
    order-list-2_0.jpg

    note : ผมค่อนข้างจะชอบที่สามารถใช้ shortcut ร่วมกับ Dictionary (Ctrl+Command+D) ที่มีอยู่ในบน OS X ได้เป็นพิเศษครับ เพราะตามปรกติ เราสามารถที่จะใช้คำสั่งนี้ได้บนเกือบทุก app ใน OS X สำหรับ Dictionary ภาษาอังกฤษเดิมนะครับ พอตอนนี้สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ด้วย ยิ่งทำให้ใช้งานสะดวกขึ้นไปใหญ่เลย =)

    แบบ Dashboard Widget เพื่อใช่ร่วมกับผลการค้นหาจากในเวป

    เป็นกึ่ง ๆ app ในเครื่องในรูปแบบ Dashboard Widget ครับคือเราจะกรอกคำค้นลงใน widget แล้วผลลัพท์ที่ได้จะมาจากหน้าเวป

    • ข้อดี : เพราะผูกการทำงานกับฐานข้อมูลจากเวป ทำให้ได้ผลการค้นหาที่ค่อนข้างจะครอบคลุมเพียงพอ และข้อมูลที่มักจะอัพเดทกว่า Dictionary แบบ โปรแกรมที่ติดตั้งลงบนเครื่องครับ
    • ข้อด้อย : ใช้ได้เฉพาะตอนทีี่ต่อ Internet อยู่เท่านั้น ทำให้ใช้งานในบางสถานที่ ที่ไม่มี Internet ไม่ได้

    จาก http://dict.longdo.com/ ทำออกมาในรูปแบบของ Dashboard Widget ครับ หลักการคือ เหมือน widget ทั่วไป ที่เรากรอกคำค้นหา แล้วจะได้ผลลัพท์ผ่านหน้าเวปของ Longdo อีกที (มีบริการ Dictionary สำหรับ platform อื่น ๆ อีกนอกจากบน OS X ด้วยนะครับ เช่น Vista Gadget, IE Toolbar... ฯลฯ )

    longdo-wid-5_0.jpg

    สามารถ download พร้อมดูวิธีการติดตั้งได้จาก
    http://dict.longdo.com/?page=widget

    note : เท่าที่ผมลองใช้ดู ให้ผลการค้นหาที่ค่อนข้างจะละเอียดและรวดเร็วดีนะครับ จนบางทีก็ลืมไปว่านี่เป็นการทำงานผ่าน internet (หน้าเวปของ longdo โหลดเร็วมาก)

    ใช้งาน Eng-Thai Dictionary จากหน้าเวปโดยตรง

    http://lexitron.nectec.or.th/index1.php
    ของ Nextec ผมว่าใช้ง่ายดี ผลการค้นหาดูไม่รก แต่บางทีก็จะหาบางคำไม่ค่อยเจอ

    http://dict.longdo.com/
    อันนี้ของ Longdo เป็นที่เดียวกับที่แจก widget ในด้านบนครับ เท่าที่ลองดูได้ผลการค้นหาที่ละเอียดยิบ และหน้าเวปโหลดค่อนข้างจะเร็ว

    หมดแล้วครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

    ใครมีโปรแกรมที่เคยใช้อยู่อยากจะแนะนำก็โพสใน Comment ได้เลยนะครับ =)

    การ copy ไฟล์ครั้งละมาก ๆ (หลักหมื่น หรือว่าเป็นแสน ๆ ไฟล์) ด้วย rsync ครับ

    จากกระทู้ การ copy ไฟล์ครั้งละเยอะ ๆ (100,000 ไฟล์) และได้คุณ homoglobin มาโพสแนะนำเพิ่มเติมเอาไว้บน freemac.net เกี่ยวกับการใช้งานคำสั่ง rsync ผ่าน terminal เพื่อทำการ copy ไฟล์

    ผมเลยลองทำตามดู และคิดว่าน่าจะดีถ้าเขียนเป็น how-to เก็บเอาไว้ สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ที่อาจจะไม่คุ้นกับการใช้งานคำสั่งผ่าน terminal ให้เห็นภาพทำตามได้ง่าย ๆ โดยเน้นบนพื้นฐานของผู้ใช้งานทั่วไปแบบบ้าน ๆ เป็นหลักครับ

    note : จากการทดสอบสำหรับย้ายไฟล์ 38,000 กว่าไฟล์จาก hd ภายในเครื่องของผมเองไปยัง external hd ที่ต่อผ่าน firewire400 ใช้เวลาประมาณ 4 นาทีตั้งแต่เริ่มกระบวนการจนเสร็จสิ้นครับ ..

    วิธีการ copy ไฟล์ผ่านคำสั่ง rsync บน terminal ครับ

    ขั้นตอนที่ 1: กำหนดเป้าหมาย และปลายทางที่เราต้องการ

    บน finder ให้เปิดเอาไว้ 2 หน้าต่างดังนี้ครับ

    1. หน้าต่างแรก เปิด folder ต้นทางที่เราต้องการจะ copy ไฟล์ข้างในนั้นทั้งหมดรอเอาไว้
    2. หน้าต่างที่สอง สร้าง folder ปลายทางที่เราต้องการ

    ขั้นตอนที่ 2 : เปิด terminal.app ขึ้นมา โดยจะเรียกจากใน applications folder/ utilities หรือผ่าน spotlight แล้วพิมพ์ terminal ก็ได้ เราจะเห็นหน้าต่างเปล่า ๆ ของ terminal แบบนี้ครับ

    rsync-01.png
    ขั้นตอนที่ 3 : พิมพ์คำสั่ง rsync ลงใน terminal

    คำสั่ง resync มีรูปแบบการใช้งานคร่าว ๆ ประมาณนี้ครับ

    rsync -av [path ของ folder ต้นทาง] [path ของ folder ปลายทาง]

    ** คำสั่ง rsync, -av, folder ต้นทาง และ folder ปลายทาง มีเว้นวรรคคั่นอยู่นะครับ ...
    อย่างในกรณีของผม เป็นแบบนี้

    rsync -av /apache2/htdocs/folder ต้นทาง /Volumes/MyBook-Mac/folder ปลายทาง

    โดยที่ [path ของ folder ต้นทาง] = /apache2/htdocs/folder ต้นทาง
    และ [path ของ folder ปลายทาง]= /Volumes/MyBook-Mac/folder ปลายทาง

    ทีนี้ สำหรับผู้ใช้ทั่วไป ที่ไม่ทราบว่าจะพิมพ์ path ของ folder ต้นทางกับ path ของ folder ปลายทางอย่างไรดีบน terminal ให้ทำแบบนี้ครับ

    rsync-02.jpg

    จาก finder ที่เราเปิดทิ้งเอาไว้ ให้ลองลาก folder ที่เราต้องการลงในบรรทัดของ terminal ดู เราจะเห็นว่า เค้าจะขึ้น path ของ folder นั้น ๆ ให้ แบบนี้ครับ

    rsync-03.jpg

    ที่เราต้องทำคือ พิมพ์คำสั่งว่า rsync -av ทิ้งเอาไว้บน terminal แล้วลาก folder ต้นทาง และ ปลายทาง จากบน finder มาลงใน terminal เพื่อให้คำสั่งสมบูรณ์

    เมื่อได้ path ต้นทาง กับปลายทางลงในคำสั่ง rsync โดยสมบูรณ์แล้ว ให้กด enter ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราจะเห็นว่าเขาเริ่มทำงานย้ายไฟล์ให้เราครับ

    โดยไฟล์ที่มีปัญหา จะถูกแสดงขึ้นมาก่อนพร้อมด้วยระบุว่าทำไมถึงย้ายไม่ได้ให้เราทราบด้วย หลังจากนั้นก็จะเริ่มการย้ายไฟล์ตามปรกติทั่วไป เราจะเห็นหน้าต่าง terminal แสดงไฟล์ที่ถูกย้ายไล่ลงมาเรื่อย ๆ และเมื่อเสร็จกระบวนการแล้ว เขาจะแจ้งเรามาแบบนี้ครับ

    rsync-04.jpg

    หมดแล้วครับ ลองนำไปใช้งานกันดู หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ =)

    การตั้งชื่อไฟล์ : เรื่องง่าย ๆ ที่หลายคนมองข้าม

    มีเรื่องนึงที่ผมติดอยู่ในการทำงานแต่ก่อนของผมเสมอครับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตั้งชื่อไฟล์

    เรื่องนี้ใหญ่กว่าที่คิด เพราะว่าถ้าเราตั้งชื่อไฟล์แบบตามใจฉันแล้ว .. เรามีโอกาสเจอเรื่องราวดี ๆ ได้แบบนี้ครับ

    • ใช้ไฟล์งานกับโปรแกรมที่ใช้อยู่ไม่ได้
    • ใช้ไฟล์งานกับโปรแกรมเดียวกัน แต่คนละเวอร์ชั่นไม่ได้
    • หรือเวลาส่งไฟล์งานไปให้คนแผนกอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่ไฟล์มีปัญหา
    • ฯลฯ

    เรื่องราววุ่นวายอีกเยอะที่จะตามมาเพราะการตั้งชื่อไฟล์ตามใจฉันครับ ... ผมเลยอยากจะแนะนำการตั้งชื่อไฟล์ที่ทำให้มีปัญหาน้อยที่สุดมาให้ลองนำไปใช้กันดูนะครับ

    1.หลีกเลี่ยงการตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาไทย ... ควรจะตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษ

    ภาษาไทยเป็นปัญหาใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบดิจิตอลเลยครับ.. เรื่องนี้บางคนไม่ทราบ หรือว่าเห็นว่าโปรแกรมเกือบทั้งหมดบน windows สามารถรองรับภาษาไทยได้ แต่ความเป็นจริงก็คือ ภาษาไทยในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอักษขระที่ซับซ้อนกว่าภาษาอังกฤษเยอะมาก .. และจะหวังให้ผู้พัฒนาโปรแกรมส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดที่เป็นชาวต่างชาติมาทำความเข้าใจกับภาษาหลักของบ้านเรา คงเป็นเรื่องที่ยากเข้าไปใหญ่ กอปรกับภาษาไทยในระบบดิจิตอลเอง ยังไม่มีมาตรฐานหรือองค์กรที่รับผิดชอบตรงนี้อย่างจริงจัง ตามที่ผมเข้าใจ.. เลยทำให้เวลาผู้พัฒนาโปรแกรมต้องการข้อมูลประกอบสำหรับอ้างอิง จึงเป็นเรื่องที่ลำบาก เวลาปัญหาเกิดขึ้นที ก็ต้องหาทางเดาหรือว่าแก้กันเองในหมู่ผู้ใช้

    เรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนมากกับโปรแกรมพิมพ์และภาษาไทย ที่ไม่ค่อยจะคงเส้นคงวาในเรื่องของ font และอะไรต่าง ๆ

    การตั้งชื่อไฟล์ภาษาไทย ถ้าโชคดี คุณจะยังใช้งานได้อยู่ แต่อาจจะมีปัญหาเมื่อเปลี่ยนเวอร์ชั่นของโปรแกรม หรือระบบ OS ที่มักจะมีการปรับปรุงในเรื่องของ font และการทำงานเกี่ยวกับ font อยู่ตลอดเวลาครับ...

    การตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษ จึงสามารถแก้ไขข้อจำกัดตรงนี้ได้ เราไม่จำเป็นต้องใช้คำเริศหรู เอาคำบ้าน ๆ ที่ตั้งแล้วตัวเองเข้าใจก็พอครับ

    2.หลีกเลี่ยงการเว้นวรรคในชื่อไฟล์

    ตรงนี้ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ การเว้นวรรคทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้คือโปรแกรมไม่อ่านไฟล์นั้น ๆ ซึ่งเรื่องนี้ไม่เป็นเฉพาะกับชื่อไฟล์ภาษาไทยเท่านั้น สามารถเกิดได้กับชื่อไฟล์ที่เป็นภาษาอังกฤษได้ด้วย

    ถ้าต้องการวรรคตอนจริง ๆ สำหรับชื่อไฟล์หลายพยางค์ ควรจะใช้เครื่องหมายขีดกลาง (-) หรือขีดล่าง (_) มาเป็นตัวแบ่งพยางค์แทนครับ เช่น

    my-room-1.jpg
    wall-map_1.jpg
    wall-map_2.jpg...

    3.หลีกเลี่ยงชื่อไฟล์แบบ default ที่โปแกรมตั้งมาให้ตอน save ... เราควรจะใช้คำที่สื่อความหมายที่ตัวเราเองเข้าใจและตั้งเองมากกว่า

    ส่วนใหญ่พวกโปรแกรมแต่งภาพหรือไฟล์ภาพจากอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่นพวกกล้องดิจิตอล หรือว่าสแกนเนอร์ มักจะตั้งชื่อไฟล์มาให้เราเอง ซึ่งจะเป็นชื่อไฟล์ในแบบที่เครื่องอ่านเข้าใจ แต่คนอ่านไม่รู้เรื่อง เช่น R122003.jpg หรือ PIC00098.jpg อะไรทำนองนี้

    เราควรจะตั้งใหม่ ให้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักของไฟล์หรือภาพนั้น ๆ เพื่อที่ตัวเราเอง หรือแม้แต่ผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จะสามารถเข้าใจตัวไฟล์นั้นได้ โดยที่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดไฟล์ขึ้นมาดู หรือรอรูปตรง preview ให้แสดงผลเสมอไป .. ช่วยให้การทำงานเร็วขึ้นได้ในระดับนึง

    4.หลีกเลี่ยงชื่อไฟล์ที่ยาวเกินไป

    การตั้งชื่อไฟล์ที่ดี ควรจะสั้นห้วน และได้ใจความครับ จริงอยู่ ว่าระบบ OS หรือว่าโปรแกรมรุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบันรองรับการทำงานกับชื่อไฟล์ยาว ๆ หลายตัวอักษรได้แล้ว

    แต่ในเรื่องของการใช้งานจริง ถ้าชื่อไฟล์ยาว ๆ มีโอกาสที่ชื่อไฟล์จะแสดงเพียงบางส่วนครับ เช่น

    my-material-of-the-stand......jpg

    อะไรทำนองนี้.. งงกันไปใหญ่ หรือไม่ก็ต้องเสียเวลาดู preview หรือเปิดไฟล์นั้นขั้นมาดู

    การตั้งชื่อไฟล์ที่ดี ควรจะทำให้เราเห็นและเข้าใจได้ในวินาทีนั้นเลยโดยที่ไม่ต้องเปิด หรือทำอะไรอย่างอื่นให้วุ่นวายจะดีที่สุดครับ


    หลัก ๆ ที่ผมใช้อยู่เป็นประมาณนี้ .. ใครมี tip หรือวิธีการตั้งชื่อไฟล์ก็ลองมาแชร์กันนะครับ

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ =)

    มือใหม่ต้องเจอ : Capture หน้าจอยังไงเนี่ย???

    ทำงานเพลินๆ อยาก Capture หน้าจอเก็บไว้ แต่มันทำยังไงหละเนี่ย ปุ่ม Print screen ไปไหนล่ะ

    เวลาเราจะ Capture หน้าจอหรือทำ Screen shot บน Mac นั้น เราจะใช้คำสั่งเป็น Shortcut ดังนี้ครับ

    โดย
    1. Capture หน้าจอไปเป็น File ที่ Desktop โดยชื่อไฟล์จะเป็น Picture1 ไล่ไปเรื่อยๆ
    2. Capture หน้าจอไปที่ Clipboard เอาไว้ใช้ใน Application ที่ต้องการ
    3. Capture เฉพาะตรงส่วนที่เลือก ไปเป็น File ที่ Desktop โดยชื่อไฟล์จะเป็น Picture1 ไล่ไปเรื่อยๆ
    4.Capture เฉพาะตรงส่วนที่เลือกไปที่ Clipboard เอาไว้ใช้ใน Application ที่ต้องการ
    เท่านี้ครับ เราก็จะ Capture หน้าจอได้ดังใจแล้ว

    ปล.ใครยังไม่เข้าใจสัญลักษณ์ต่างๆให้ไปอ่านได้ที่นี่ครับ
    http://macmuemai.com/content/21

    มือใหม่ต้องเจอ : กด Caps Lock เร็วฉันใด เปลี่ยนภาษาเร็วฉันนั้น

    ครับ ตามหัวข้อเลย

    กำลังพิมพ์มันๆเลยเปลี่ยนภาษาทีต้องกดสองปุ่ม ไม่เหมือน windows กด Grave ปุ่มเดี่ยวได้แล้ว
    โอย Mac เจ้ากรรมแสนวุ่นวาย แท้จริงแล้ว การกดเปลี่ยนภาษาแบบนี้คือแบบที่ถูกต้องแล้วครับ
    ที่เรากดๆกันเคยชินที่ Windows นั่นน่ะ ถ้าใครเคยลง Windows ใหม่เองจะรู้ว่า Default ที่ตั้งมามัน
    ก็ต้องใช้สองปุ่มเหมือนกัน ซึ่งนั่นถูกต้องแล้วครับ คนไทยเรามาเปลี่ยนกันเอง
    ผลที่ได้คือ เสียอักขระทางภาษาไปสองตัว

    ทีนี้พอมาใช้ Mac แล้วก็อยากกดปุ่มเดียวทันใจเหมือน Windows มันก็มี Plug in ทำได้ครับ ปุ่มเดียวกันเลย
    แต่เรามาดูอีกวิธีดีกว่าที่ไม่ต้องลงอะไรเพิ่มเลย นั่นคือ Caps lock ครับ(มันช่วยท่านได้จริงๆนะ)

    วิธีการ ก็ง่ายๆ อันดับแรกเราต้องเปลี่ยนเป็นภาษาไทยโดยการกด Command+Space bar ตามปกติครับ
    แล้วก็พิมพ์ตามสบาย พออยากได้ภาษาอังกฤษมา กด Caps lock ครับ เท่านี้เลย ภาษาอังกฤษมาดังใจนึก
    แล้วถ้าอยากให้เป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ก็กด Shift ไว้ขณะพิมพ์ครับ จะให้กลับเป็นภาษาไทยให้กด
    Caps lock ออกซะ เท่านี้เราก็เปลี่ยนภาษาได้ดังใจนึกแล้ว

    พิมพ์ให้สนุก อย่าลืม Caps lock ครับ

    ปล.สำหรับบางโปรแกรมที่มีการ Lock ภาษาอังกฤษไว้เพื่อเป็น Short cut ของโปรแกรมนั้นๆ ยังจำเป็นต้องกด
    Command+Space bar เหมือนปกตินะครับ เป็นข้อยกเว้นครับ

    มือใหม่ต้องเจอ : เสียงหลอนๆ ตอนคลิกๆ

    กำลังทำอะไรเพลินๆ อยู่ดีๆมีเสียงคนพูดมาจากในคอม ไม่ว่าจะคลิกอะไร กดตรงไหนมันพูดตามหมด

    เอาล่ะสิ หลอนแล้วมั๊ยล่ะ มีวิญญาณสิงใน Mac สุดรักรึเปล่าเนี่ย(เข้ากะ Halloween ดีแฮะตอนนี้)

    ใจเย็นครับ อย่าพึ่งหลอน คุมสติไว้ก่อนทุกท่าน มันเป็นแค่ Features ที่มีไว้สำหรับช่วยผุ้ที่มีปัญหาทางสายตาครับ
    ชื่อว่า Voice over 

    โดยเมื่อไปเปิด Voice over เอาไว้ เวลาเราไปคลิกอะไร แล้วมันก็จะมีเสียงออกมาให้ได้ยินตามที่เรากดไป
    อาจจะเป็นชื่อ Folder หรือ File ต่างๆ ไปจนถึงโปรแกรมกันเลยทีเดียว 

    Voice over มี shortcut ที่ง่ายต่อการกดพลาดครับ นั่นคือ Command+F5 เลยทำให้มือใหม่หลายคนเลย
    เปิดโดยไม่ตั้งใจ เวลาปิดเราสามารถกด Command+F5 ได้เลย หรือจะเข้าไปที่ System preferences
    แล้วไปที่ Universal access เลือก Seeing แล้วก็สั่งปิดครับ 

    แนะนำว่าให้ไปดูในส่วนของ Universal access กันหน่อยก็ดีครับ เอาไว้เป็นตัวช่วยเวลาคนอื่นมาใช้คอมเราครับ
    โดยเฉพาะผู้ที่ร่างกายทุพพลภาพครับ (ดีใจที่ Apple ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ครับ)

    วิธีจัดการกับการเปิดหลายหน้าต่าง

    วิธีจัดการกับการเปิดหลายหน้าต่าง

    วิธีช่วยจัดการให้เราทำงานได้สะดวกขึ้นเวลาเราเปิดหน้าต่างโปรแกรมหลาย ๆ อันซ้อนกัน

    1.ใช้ Exposé

    epose-icon_2.jpg
    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ การใช้งาน Exposé เบื้องต้น ครับ

    2.ใช้ Spaces

    spaces-icon_2.jpg
    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ การใช้งาน Spaces เบื้องต้น ครับ

    3.กด Command + Tab (⌘+Tab)

    cmd-tab_0.jpg

    ลองกดดูครับ จะเป็นการบอกเราว่าตอนนี้เราเปิดโปรแกรมไหนอยู่บ้าง และให้เราเลือกถ้าเราต้องการจะสลับไปใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ (โดยการกด Tab ไล่ไปเรื่อย ๆ หรือว่าใช้เมาส์คลิ๊กโปรแกรมที่ต้องการได้เลย)

    4.วางแผนในการทำงานล่วงหน้า - - เปิดเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้

    ตรงนี้ช่วยท่านได้ครับ =)

    เวลาทำงานก็เปิดเฉพาะ application ที่จำเป็นเท่านั้น นอกจากจะทำให้เครื่องมีทรัพยากรสำหรับทำงานมากขึ้นแล้ว เรายังจะมีสมาธิในการทำงานมากขึ้นไปด้วย = งานเสร็จเร็วขึ้น และมีเวลามากขึ้นในชีวิตครับ ยิ้มปากกว้าง

    วิธีย้าย Menu bar icon

    หลายๆคนคงไม่ค่อยพอใจกับการเรียงตัวของ Menu bar icon ไม่น้อย

    แล้วก็ไม่รู้จะย้ายมันยังไง ผมไปเจอวิธีมาแล้วครับ
    แค่เพียงกด command ค้างไว้ก่อน แล้วไปคลิกที่ Menu bar icon ที่จะย้าย
    แล้วลากเลยครับ อยากเอาไปวางไว้ไหนก็ตามสบายเลย ตัวอย่าง
    นี่คือตอนก่อนย้ายของผมครับ

    แล้วอันนี้หลังย้ายครับ

    การย้ายนี้ไม่ครอบคลุมไปถึงโปรแกรมที่ไม่ใช่ของ osx เองนะครับ
    ผมลองเลื่อนพวก adium หรือตัวอื่นๆแต่มันไม่เป็นผลครับ

    Credit : คุณ Iron_monk จาก Freemac.net ครับ