System Preferences

System Preferences เป็น application สำหรับปรับแต่งส่วนต่าง ๆ ภายใน OS X (คล้าย ๆ กับ Control Panel บน windows pc)

note : ถ้าหัวข้อทางด้านซ้ายมือซ้อนกันหลายบรรทัดและอ่านยาก ให้ดูหัวข้อทางด้านล่างนี้แทนนะครับ เหมือนกัน =)

ส่วนต่าง ๆ ของ System Preferences

คำสั่งและส่วนต่าง ๆ ของ System Preferences

system-pref-icon.jpg

System Preferences คือส่วนที่ให้เราทำการปรับแต่งการใช้งาน / การแสดงผลในส่วนต่าง ๆ บนเครื่องเราครับ คล้าย ๆ กับบน Control Panel บน Windows

System-pref-1.jpg
มีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้
Personal : เกี่ยวกับรูปแบบแสดงผลส่วนต่าง ๆ ของเครื่องเรา

  • Appearance : รูปแบบของส่วนที่เราเห็นในโปรแกรมต่าง ๆ เช่น สี scroll bar, ตำแหน่งการเลือก scroll bar ฯลฯ
  • Desktop & Screen Saver : ปรับแต่งภาพพื้นหลังของ desktop และ screen saver
  • Dock : ปรับแต่งหน้าตาของ Dock
  • Expose´ & Spaces : ปรับการใช้งาน Expose´ (อ่านว่า เอ๊กโปเซ่) และ Spaces
  • International : เพิ่ม ลบ ภาษาที่จะใช้งานภายในเครื่องของเรา
  • Security : ตั้งค่าความปลอดภัย
  • Spotlight : ปรับแต่งการใช้งานของ Spotlight (โปรแกรมค้นหาสารพัดภายในเครื่อง)

Hardware : ปรับแต่ง Hardware ส่วนต่าง ๆ รวมไปการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่น หน้าจอ, คีบอร์ด, เมาส์, พริ้นเตอร์ ฯลฯ

  • Bluetooth : ตั้งค่าเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ Bluetooth กับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น มือถือ PDA
  • CDs & DVDs : ปรับพฤติกรรมการใช้งานของไดร์ฟ CD / DVD ที่มีอยู่ในเครื่องเรา
  • Display : ปรับขนาดความละเอียดหน้าจอ
  • Energy Saver : ตั้งค่าพักหน้าจอ หรือ sleep เพื่อประหยัดพลังงานเวลาที่เราไมไ่ด้ใช้ หรือว่าเปิดทิ้งเอาไว้ (สำหรับคนที่ใช้ Macbook, Macbook Pro - การปรับแต่งตรงนี้ช่วยในเรื่องยืดอายุแบตเตอรี่ได้ด้วย)
  • Keyboard & mouse : ปรับแต่งเมาส์ + คีบอร์ดบนเครื่อง
  • Print & Fax : จัดการเกี่ยวกับพรินเตอร์ + แฟกซ์ ที่ต่อเข้ากับเครื่องเราอยู่
  • Sound : ปรับเกี่ยวกับเสียงต่าง ๆ ทั้งจากลำโพง และซาวน์ effect ที่มีอยู่ในเครื่อง

Internet & Network : การเชื่อมต่อ Network, Internet

  • MobileMe : สำหรับ login เข้าไปใช้งาน MobileMe ของเรา (ต้องซื้อ MobileMe มาก่อนถึงจะใช้งานตรงนี้ได้)
  • Networks : การใช้งาน Internet หรือการเชื่อมต่อ network ทั้งแบบสาย Lan และ Wifi
  • QuickTime : เกี่ยวกับ QuickTime เป็นโปรแกรมแสดงผล multimedia ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครื่องเรา
  • Sharing : การแชร์ข้อมูลกับระบบอื่น ๆ เช่น windows หรือกับคนที่มาเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องเรา

System : สร้าง user account และอื่น ๆ เกี่ยวกับระบบของเรา

  • Account : สร้าง และ บริหารบัญชีผู้ใช้งาน (user account) ต่าง ๆ บนเครื่องเรา
  • Date & Time : กำหนด Time Zone และการแสดงผลเกี่ยวกับวันที่ และเวลา
  • Parental Controls : สำหรับผู้ปกครองเอาไว้ควบคุมการการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของบุตรหลาน
  • Software Update : ค้นหา / อัพเดทซอฟแวร์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครื่อง
  • Speech : สั่งงานทางเสียง และเลือกเสียงอ่าน (เราเลือกได้)
  • Startup Disk : เลือกว่าเราจะ boot เครื่องเราจากที่ไหน (กรณีมีหลาย os) และเข้าใช้งานเกี่ยวกับTarget Disk Mode
  • Time Machine : เปิด / ปิด setup ต่าง ๆ เกี่ยวกับโปรแกรม TimeMachine (โปรแกรม Backup ที่มากับ osx 10.5- Leopard)
  • Universal Access : สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตา หรือบกพร่องทางการรับรู้อื่น ๆ ให้สามารถใช้งานเครื่องได้สะดวกมากขึ้น เช่นมีทำให้ font อ่านง่ายขึ้น หรือว่ามีเสียงช่วยอ่านคำสั่งต่าง ๆ ฯลฯ

Other : ปรับแต่งอุปกรณ์ หรือว่าโปรแกรม 3rd party อื่น ๆ ที่เรา install เพิ่มภายหลังได้จากตรงนี้ (จากภาพ ผมใช้งาน tablet เลยมีตรงนี้เพิ่มเข้ามา)

การตั้งค่าภาษาไทย บน OSX - Leopard

วิธีการตั้งค่าภาษาไทยบน OS X 10.5 - Leopard

ตามปรกติแล้ว หลังจากการที่เราลง osx เสร็จใหม่ ๆ เราจะยังใช้งานภาษาหลักได้เพียงภาษาเดียวเท่านั้น (คือภาษาอังกฤษ หรือภาษาอะไรก็ตามที่เราเลือกเอาไว้ตอนลง os ครั้งแรก) ซึ่งการใช้งานภาษาไทยบน OS X เวอร์ชั่น 10.5 (Leopard) โดยทั่วไปมีขั้นตอนที่ต้องถือว่าง่าย เพียงแค่กดเข้าไปไม่กี่ที่ก็สามารถ ใช้งานภาษาไทยได้แล้ว โดยการ activate ให้ใช้งานภาษาไทยในเครื่องได้นั้น มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

ไปที่ System Preference เลือก international

001-_4.jpg

เข้าสู่หน้าต่าง International เลือก Edit List..

Picture1_39.jpg

เลื่อนลงมาด้านล่าง หาตัวเลือก “ภาษาไทย” จากนั้นกด OK

Picture2-1_14.jpg

เราจะเห็นมีรายชื่อภาษาไทยเข้าไปอยู่ใน list แล้ว

Picture3_35.jpg

  1. เราจะเห็นว่าภาษาไทยที่เราเพิ่งเลือกมานั้น อยู่ในรายการบนสุด หมายความว่า ทุกครั้งที่เรา log in เข้าใช้งานเครื่องนี้ ภาษาไทยจะถูกตั้งเป็นค่ามาตรฐานมาให้เราสามารถพิมพ์ไทยได้เลย
  2. มีคำเตือนขึ้นมา 2 ย่อหน้า ย่อหน้าแรกจะบอกเราว่า ภาษาไทยที่เราเพิ่ง setup เสร็จไปนั้น จะแสดงผลหลังจากที่เข้า finder ใหม่อีกครั้ง ส่วนย่อหน้าที่สองจะบอกเราว่า ภาษาที่เราเลือกนั้น ตรงกับประเทศที่อยู่เราที่เราตั้งเอาไว้ตอน install หรือไม่ (จากในภาพผมตั้งค่าตอน install osx เป็น singapore แล้วพอมา setup ภาษาไทยเข้าไป เครื่องเลยฟ้อง เพราะภาษาหลักไม่ใช่ภาษาอังกฤษครับ - ซึ่งตรงนี้จะมีผลเกี่ยวกับรูปแบบการแสดงผลของสกุลเงิน, ตัวเลข, วันที่ ฯลฯ ครับ)

เลือก tab ที่ 2 = Formats

formats_2.jpg

  1. Dates : เป็นรูปแบบการแสดงวันที่ในแบบต่าง ๆ ส่วนมากจะมีผลกับโปรแกรมที่อยู่ภายในเครื่อง
  2. Times : เป็นรูปแบบการแสดงเวลา
  3. Numbers : เป็นรูปแบบการแสดงตัวเลขต่าง ๆ
    • ค่าสกุลเงิน (Currency) ที่จะแสดงผลเป็นเงินบาท
    • หน่วยวัด (Measurement Units) เป็นระบบ Metric หรือหน่วยวัดเป็น เซ็นติเมตร - เมตร (ถ้าเราเลือกแบบ US จะแสดงผลเป็น ฟุต - นิ้ว ครับ)

ปรับการแสดงผลแบบ พุทธศักราช ในหัวข้อ Dates เลือก Calendar

Picture2_34.jpg

Calendar : Gregorian - แสดงปี ค.ศ.

Picture3_36.jpg

Calendar : Buddhist - แสดงปีแบบ พ.ศ.

หัวข้อ Times เลือก Customize เพื่อปรับการแสดงผลเกี่ยวกับเวลา

Picture4_19.jpg

ลองปรับดูในส่วนต่าง ๆ นะครับ =)
จะให้แสดงผลละเอียดมากน้อยแค่ไหนตั้งได้จากหัวข้อ
Show : ครับ .. เอาแบบแสดงกันเป็นวินาทียังได้เลย ซึ่งการแสดงผลตรงนี้จะไปมีผลกับโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเครื่่องครับ (ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าตัวเลขพวกนี้จะไปโผล่ที่ไหนบ้าง แต่โดยส่วนใหญ่เราสามารถที่จะตั้งค่าการแสดงผลตามใจฉันได้จากส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรมนั้น ๆ ครับ รวมไปถึงบน menu bar ข้างบนด้วย)

บน Menu bar มีเวลา + วันที่ตามที่เราตั้งเอาไว้แล้ว

thai-time_2.jpg

เมื่อคลิ๊กเข้าไปในนาฬิการ เราจะเห็นวันที่และรูปแบบการแสดงผลครับ
ซึ่งเราสามารถเลือกดูเวลาได้สองแบบ

  • View as Digital : เป็นการแสดงผลเวลาแบบตัวเลขนาฬิกาดิจิตอลทั่ว ๆ ไป
  • View as Analog : แสดงผลแบบนาฬิกาเข็มอันเล็ก ๆ (ดูยากนิดนึง)

สำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย

Picture4-1_4.jpg

สามารถตั้งเวลาเป็นคริสตศักราช และหน่วยวัดสากลได้ จากการไปสลับตำแหน่งของค่า default ภาษาของเครื่องเราครับ (คลิ๊กที่ “ภาษาไทย” แล้วลากสลับลงมาได้เลย) ตรงนี้จะเป็นการบอกเครื่องว่า เราจะใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 เท่านั้นนะ เรื่องหน่วยวัด หรือวันที่ ให้อิงกับภาษาแรก คือภาษาอังกฤษแทน

ต่อมา เราจะมาตั้งค่า shortcut สำหรับสลับภาษาระหว่างการใช้งานในเครื่อง

thai-input_2.jpg

  1. ไปที่ tab Input Menu
  2. เลื่อนลงมาหาส่วนคีบอร์ดของภาษาไทย

thai-input-2_2.jpg

  1. ติ๊กถูกเพื่อเลือกใช้งานคีบอร์ดภาษาไทย (จะใช้อันไหนก็ได้ครับ)
  2. Show input menu in menu bar : ตรงนี้มีเอาไว้เพื่อแสดงสัญลักษณ์ภาษาที่เราใช้งานอยู่ขณะนั้นบน menu bar (เราสามารถเปลี่ยนภาษาได้จาก         menu bar ตรงนี้ด้วยครับ)                                thai-menubar_2.jpg
  3. เลือกเพื่อเข้าสู่การตั้ง shortcut เป็นลำดับต่อไป

เข้าสู่การตั้งค่า keyboard shortcut สำหรับการใช้งานภาษาไทย

shortcut_2.jpg

  1. เราจะมาอยู่ที่ tab ของ Keyboard Shortcutsดยอัตโนมัติ
  2. ให้เลื่อนลงมาหาหัวข้อ Input Menu

Picture8-1_5.jpg

  1. ติ๊กในส่วนหัวข้อ Input Menu นี้
  2. เราจะถูกเตือนมาว่า shortcut ที่เราต้องการจะใช้นั้น ไปซ้ำกับ shortcut เดิมที่มีอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว (ในที่นี้คือส่วนของ Spotlight ครับ)

Picture9-1_5.jpg

  1. สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้งาน Spotlight แบบเต็มรูปแบบ ก็สามารถติ๊กเอาหัวข้อ Show Spotlight Window ออกไปก่อนได้
  2. จากนั้น คลิ๊กในตำแหน่งที่ 2 เพื่อเปลี่ยนปุ่ม shortcut ของ spotlight ใหม่ ให้คลิ๊กที่ shortcut เดิมได้เลย สักพักเค้าจะเปลี่ยนเป็นกล่องข้อความแล้วให้เราพิมพ์ shortcut ที่เราอยากจะได้เข้าไปใหม่ ถ้าไม่ถูกใจ ก็เปลี่ยนไปได้ใหม่เรื่อย ๆ ครับ ขอแค่ไม่ไปซ้ำกับ shortcut เดิมที่มีอยู่แล้วในระบบเป็นใช้ได้ (ในที่นี้ผมเปลี่ยนมาเป็น Ctrl + Space bar ครับ)

หลังจากเปลี่ยนปุ่ม shortcut ใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะเห็นว่า ไม่มีเครื่องหมายตกใจมาแจ้งเตือนเราอีก เพราะว่า shortcut ที่เราตั้งใหม่นั้นไม่ไปซ้ำกับของเดิมในระบบครับ ดังนั้น สบายใจได้ครับ =)

หลังจากตั้ง shortcut ของ spotlight เสร็จแล้ว เรามาลองทดสอบกันดู

test-spotlight_2.jpg

ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เวลาเรากดปุ่ม Ctrl + Space bar (หรือ shortcut อื่น ๆ ที่เราตั้งเอาไว้) spotlight จะทำงานครับ

พอ spotlight ทำงานเป็นปรกติแล้ว ก็ถึงเวลาทดสอบการสลับภาษาไทย - อังกฤษ

ปุ่ม shortcut สำหรับเปลี่ยนภาษาของเราคือปุ่มจากในหัวข้อ Input Menu ที่เราเลือกเอาไว้ด้านบนนะครับ คือ

Change-lang_2.jpg

Command + Space Bar : สำหรับการเปลี่ยนไปยังภาษาก่อนหน้าที่เราใช้อยู่
Option + Command + Space Bar : สำหรับเปลี่ยนไปยังภาษาถัดไป

อาจจะดูงง ๆ เล็กน้อยครับ ยิ้มปากกว้าง แต่สำหรับเครื่องที่มีอยู่ 2 ภาษา คำสั่งทั้งสองอันจะให้ผลเหมือนกัน คือสลับไปมาระหว่าง Eng - Thai ครับ ดังนั้นเลือกใช้อันใดอันหนึ่งก็ได้

กด Command + Space Bar

มาลองดูกันครับ ตอนนี้ภาษาในเครื่องเราจะเป็นอะไรก็ตามแต่ ถ้าเรากด Command + Space Bar แล้ว เค้าจะต้องเปลี่ยนให้เรา

thai_2.jpg

กด Command (ปุ่มรูปแอปเปิล หรือเครื่องหมายยันต์) พร้อมกับ Space Bar นะครับ

eng-1_2.jpg

ได้ผลเปลี่ยนเป็นแบบนี้ ยิ้มปากกว้าง

ขอให้มีความสุขในการใช้งานภาษาไทยบน Leopard นะครับ =)

Tips

การสลับภาษาโดยใช้ Caps Lock คุณ nickoe เขียนเอาไว้ใน blog นี้ครับ
มือใหม่ต้องเจอ : กด Caps Lock เร็วฉันใด เปลี่ยนภาษาเร็วฉันนั้น

การสร้าง user account / บัญชีผู้ใช้งานใหม่ (ในกรณีที่ใช้งานบนเครื่องเดียวกันมากกว่า 1 คน)

การสร้าง account ผู้ใช้งานใหม่ (ในกรณีที่ใช้งานบนเครื่องเดียวกันมากกว่า 1 คน)

ตามปรกติแล้วแต่ละเครื่องจะมี Account ผู้ใช้งานประจำเครื่องอย่างน้อย 1 account เสมอครับ (เหมือนกับบน windows) ถ้าเป็นเครื่องส่วนตัวเราจะไม่ค่อยได้มาตรงส่วนนี้เท่าไหร่ ถ้าเราใช้งานคนเดียวบนเครื่อง account เราก็จะเป็นชื่อของเรา และได้สิทธิ์เป็น admin ให้จัดการทรัพยากรของเครื่องได้ทั้งหมด

แต่สำหรับเครื่องในบริษัท หรือเครื่องที่มีผู้ใช้งานหลายคนร่วมกันนั้น การสร้าง account ให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละคนเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ (และควรกระทำด้วยครับ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรภายในเครื่องเราครับ ยิ้มปากกว้าง)

โดยเครื่องที่มีมากกว่า 1 account นั้น ปรกติค่า setting ต่าง ๆ ของแต่ละ account จะแยกจากกันได้โดยอิสระ เช่น

  • โปรแกรมต่าง ๆ
  • ขนาด font ข้อความ
  • ภาพพื้นหลัง desktop
  • รวมไปถึง setting เฉพาะกิจต่าง ๆ ตามแต่ผู้ใช้งานแต่ละคนจะเลือกตั้งเอาไว้ (พูดให้ง่ายคือ ของใครของมันครับ ไม่เกี่ยวกัน)

เครื่องที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 1 คนขึ้นไป ผู้ที่เป็นเจ้าของเครื่อง หรือ ผู้ใช้งานระดับ admin สามารถสร้าง account ใหม่ขึ้นมาให้กับผู้ใช้แต่ละคนได้ ซึ่งการทำแบบนี้มีข้อดีคือ

  1. ช่วยให้บริหาร file / folder ภายในเครื่องสะดวกขึ้น เช่น ป้องกันการเข้าถึงไฟล์ที่เจ้าของเครื่อง/admin ไม่ต้องการให้ผู้ใช้งานคนอื่นบนเครื่องเข้าถึง หรือใช้งานไฟล์นั้น ๆได้ เพราะเอกสารของแต่ละ account จะแยกจากกัน ยกเว้นบาง folder เช่น public folder / shared folder ที่จะมองเห็นร่วมกันเท่านั้น (หรือจะกำหนดสิทธิ์พิเศษให้มองเห็น folder ต่าง ๆ เป็นกรณีไปก็ทำได้)
  2. ป้องกันความเสียหายจาก user อื่นไม่ให้มาซนกับไฟล์ของ admin หรือไฟล์ของระบบ
  3. admin สามารถจำกัดสิทธิ์การใช้งานของ user อื่น ๆ บนเครื่องได้ เช่น ผู้ปกครองสามารถสร้าง account ให้บุตรหลานใช้งานบนเครื่องเดียวกัน แล้วยังกำหนดระยะเวลาให้เล่น internet ได้ถึง 4 ทุ่มของทุกวันเท่านั้น เป็นต้น

ไปที่ System Preference เลือก Accounts
001-_3.jpg

เราจะเห็นหน้าต่างแสดงรายชื่อบัญชีผู้ใช้หรือว่า Account ที่มีอยู่ในเครื่อง

002-_3.jpg

ตรงนี้จะบอกเราว่า ขณะนี้ในเครื่องของเรามี บัญชีผู้ใช้ (account) ของใครอยู่ในเครื่องบ้าง

  • My Account - คือ account ของเราเอง ดูสถานะได้จากใต้ชื่อ ใครที่มีสถานะเป็น Admin จะสามารถปรับเปลี่ยนระบบต่าง ๆ ได้
  • Other Accounts - คือ บัญชีผู้ใช้อื่น ๆ ที่ admin สามารถสร้างเพิ่ม หรือว่าลบออกจากระบบได้

ให้สังเกตว่ากุญแจที่อยู่ด้านล่างล๊อกอยู่หรือไม่ ถ้าล๊อกอยู่เราจะเข้าไปแก้ไขข้อมูลอะไรไม่ได้ ต้องปลดล๊อกก่อนเท่านั้น การปลดล๊อกทำได้ด้วยการคลิ๊กไปที่ลูกกุญแจครับ

คลิ๊กไปที่ลูกกุญแจเพื่อปลดล๊อก

003-_3.jpg
เมื่อคลิ๊กที่รูปกุญแจแล้ว ระบบจะถาม username กับ password ของเรา ให้กรอกแล้วกด OK ผ่านไป
หมายเหตุ - ขึ้นตอนการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับ system หรือว่าไฟล์ของระบบแล้วนั้นส่วนใหญ่ ถ้าเราจะทำการแก้ไข เรามักจะต้องใส่ password ก่อนเสมอ

หลังจากปลดล๊อกแล้ว ทำการเพิ่ม account โดยการกดที่เครื่องหมาย ‘+’ (บวก)

004-_3.jpg

หน้าต่างใหม่ให้กรอกรายละเอียดของ ผู้ใช้งาน/user ใหม่บนเครื่อง

006-_3.jpg

New Account: ชนิตของบัญชีผู้ใช้แบบต่าง ๆ (อธิบายจากรูปถัดไป)
Name: ชื่อประจำตัวของ account นี้ โดยทั่วไปก็เอาชื่อ/ตำแหน่งผู้ใช้งานมาใส่ .. จะเป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ทำให้สับสนทีหลัง
Short Name: ชื่อย่อ
Password: ระหัสผ่าน
Verify: ยืนยันระหัสผ่าน
Password Hint: คำถามใบ้ แนะแนวกรณีที่เราลืม password ตั้งอะไรก็ได้ที่เกี่ยวโยงกับ password ที่เราตั้งไว้ จะกรอกตรงนี้เป็นภาษาไทยก็ได้ครับ =)

เลือกประเภท ผู้ใช้งาน/user ใหม่บนเครื่อง

005-_0.png

Administrator: ผู้ใช้งานชั้นสูงสุด ที่มีสิทธิ์เพิ่ม ลบ หรือแก้ไขอะไรต่าง ๆ ที่อยู่บนเครื่องได้ทั้งหมด
Standard: ผู้ใช้งานทั่วไป ส่วนใหญ่ไม่มีสิทธิ์จัดการกับไฟล์ของระบบ หรือของผู้ใช้ account อื่น ๆ นอกจากจะใช้งานบนบัญชีตัวเองเท่านั้น
Managed with Parental Controls: เป็น account ที่สามารถกำหนดการใช้งานให้รัดกุมได้ สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการกำหนดขอบเขตการใช้งานเครื่องกับลูกหลาน
Sharing Only: คนทั่วไป ทำอะไรไม่ได้มากไปกว่า การเข้าถึงเฉพาะส่วน public folder หรือที่เปิดแชร์เอาไว้เท่านั้น log in เข้าจากหน้าเครื่องก็ไม่ได้ด้วย
Group: เอาไว้สำหรับกำหนดสิทธิ์ในการแชร์ไฟล์ใหักับกลุ่ม account อื่น ๆ

รูปกุญแจที่เห็นอยู่ด้านหลังช่องกรอก password

008-_3.jpg

คือ Password Assistant

007-_0.png

มีเอาไว้สำหรับตรวจสอบความแข็งแรงของ password ที่เราตั้งเอาไว้ พร้อมกับมีข้อแนะนำในรูปแบบต่าง ๆ เช่นพวกการสลับตัวอักษรกับตัวเลข หรือการใช้ตัวเล็กตัวใหญ่สลับกัน....

แต่ขอแนะนำว่า ตั้งอะไรก็ได้ล่ะครับ เอาให้ไม่ลืมและเข้าใจเองได้คนเดียวเป็นพอครับ มีความสุข

กรอกรายละเอียดตามช่องที่ให้มาให้หมด

009-_3.jpg

จากนั้นกดเลือก Create Account เพื่อเป็นการเริ่มสร้าง account ใหม่
หมายเหตุ : จากรูปผมตั้งคำถามนำทาง เวลาลืม password เป็นภาษาไทยครับ หรือถ้าไม่แน่ใจ ก็ใส่ไว้ 2-3 ข้อก็ได้ =)

ถ้าเราตั้ง password กับ verify ไม่เหมือนกัน

010-_3.jpg

จะถูกฟ้องว่าเรากรอก password กับ verify ไม่ตรงกันครับ =P

หลังจากสร้าง account ใหม่สำเร็จแล้ว เราจะกลับมาที่หน้าต่างรายชื่อ account

011-_3.jpg

1.การเปลี่ยนรูปประจำตัว ทำได้ด้วยการคลิ๊กเข้าไปที่ตรงนี้
2.เปลี่ยน password ใหม่
3.เปลี่ยนชื่อประจำเครื่อง/MobileMe ใหม่ (เมื่อเปลี่ยนแล้วรายชื่อทางด้านซ้ายมือจะเปลี่ยนตามครับ)
4.
Allow user to administer this computer : กำหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้นี้เป็น admin ของเครื่องได้
Enable Parental Controls : กำหนดสิทธิ์ความคุมการใช้งานเครื่องของ user ในรูปแบบต่าง ๆ

ถ้าเปลี่ยนทุกอย่างเข้าที่เข้าทางแล้ว อย่าลืมกลับมาล๊อกกุญแจกลับเข้าที่เดิม

012-_3.jpg

จะเป็นการป้องการการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลจาก user อื่น ๆ บนเครื่อง หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงโดยตัวเราเอง =)
ถ้าจะแก้ไขอีกคราวหน้า ก็ให้กลับมาปลดล๊อกใหม่ และทำซ้ำแบบเดิมครับ

หมดในส่วนของการสร้าง Account ใหม่แล้วครับ

note : อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ account ได้จาก
http://docs.info.apple.com/article.html?path=Mac/10.5/en/8235.html

เปลี่ยนรูป Desktop

การ เปลี่ยนรูปพื้นหลัง Desktop

เราสามารถเปลี่ยนรูปพื้นหลังของ Desktop เราได้โดย

1.ไปที่ System Preferences แล้วเลือก Desktop & Screen Saver

p-desktop_0.jpg
หรือ

2.คลิ๊กขวาบนพื้นที่ว่างบน Desktop ของเราแล้วเลือก Change Desktop Background..

note : ทั้ง 2 วิธีให้ผลเหมือนกันคือเราจะเข้าไปเลือกรูป Desktop ใหม่จากใน System Preferences

คลิ๊กขวาบนพื้นที่ว่างบน Desktop แล้วเลือก Change Desktop Background..

Picture2-1_3.jpg

เข้าสู่หน้า System Preferences / Desktop & Screen Saver เพื่อเลือกรูปใหม่

select-pic_0.jpeg
เราจะได้มาหน้าต่างนี้เพื่อเลือกรูปที่ต้องการ ได้จากใน list ทางด้านซ้ายมือ..

สำหรับคนที่มีรูปอยู่ใน iPhoto หรือส่วนอื่น ๆ ของเครื่อง เราสามารถที่จะเข้าไปเลือกรูปจากในนั้นมาใช้ได้นะครับ (จากในตัวอย่างผมไม่มีรูปใน iPhoto เลยไม่มีในรายการทางด้านซ้ายให้เลือกครับ)

note : ถ้าเราไม่ใช้วิธีคลิ๊กขวา สามารถมาตรงนี้โดยไปที่ System Preferences/ Desktop & Screen Saver (จากในรูปแรก) ครับ

ลองเลือกรูปใหม่แล้วกลับออกมาดู Desktop ของเรา

Picture3_0.jpeg

รูปจะเปลี่ยนไปตามที่เราเลือกไว้จากใน System Preferences/ Desktop & Screen Saver ครับ

System Preferences Tips

Tips & Tricks เกี่ยวกับ System Preferences

การเพิ่ม Shortcut ใหักับคำสั่งต่าง ๆ เอง

การเพิ่ม Shortcut ให้กับคำสั่งต่าง ๆ เอง

โดยทั่วไปแล้ว คำสั่งต่าง ๆ ของ แต่ละ application จะมี Shortcut ให้เข้าถึงการใช้งานหลักได้เกือบทุกคำสั่งอยู่แล้ว แต่บางกรณีบางคำสั่งก็จะไม่มี

แล้ว... ถ้าเกิดว่าเราต้องใช้คำสั่งที่ไม่มี shortcut บ่อย ๆ ขึ้นมา เราจะทำอย่างไร? เราสามารถสร้าง Shortcut ให้กับคำสั่งเหล่านี้ได้หรือไม่?

คำตอบของเรื่องนี้คือ เราสามารถสร้าง Shortcut ขึ้นมาใหม่เฉพาะคำสั่งที่เราต้องการได้ครับ

ตัวอย่าง คำสั่งบน Preview/Tools/Adjust Size...

ผมจะขอยกตัวอย่างของคำสั่งบน Preview คือ Adjust Size.. (ปรับขนาดรูป) โดยคำสั่งนี้เดิมทีจะสั่งงานได้ผ่านทางเมนูบาร์ด้านบนเท่านั้น ตามนี้ครับ

Picture2_12.png

เอาล่ะ เรามาเพิ่ม Shortcut ให้คำสั่งนี้กัน

เปิด System Preferences ขึ้นมา

Picture3_37.jpg
เลือก Keyboard & Mouse

เข้าหน้าต่าง Keyboard & Mouse

004_4.jpg
เลือกไปที่เครื่องหมาย “+”

ตัวอย่าง คำสั่งบน Preview/Tools/Adjust Size...

Picture2_13.png

  1. เลือก Applications ที่ต้องการจากใน List นี้ ลองกดเข้าไปดูครับ ว่ามี Application อะไรให้เลือกบ้าง ซึ่งจะมีเกือบ ทุก application หลักที่มีอยู่ในเครื่อง (ในที่นี้ผมเลือก Preview ครับ)
  2. กรอกชื่อคำสั่งที่เราต้องการเพิ่ม Shortcut ใหม่เข้าไป (ต้องสะกดให้เหมือนที่มีให้เลือกในโปรแกรมนะครับ)
  3. ใส่ Shurtcut ใหม่ที่เราอยากได้ โดยการกด Shortcut เข้าไปเลย (จากตัวอย่างผมกด Ctrl + Command+ A ครับ)

note : ถ้าต้องการใช้ Shortcut ใหม่นี้กับทุกโปรแกรม ให้เลือก All Aplications - ซึ่งไม่แนะนำครับ เพราะว่า Shortcut ใหม่นี้อาจจะไปซ้ำกับของเดิมที่มีอยู่แล้วในแต่ละ Application ได้ .. สร้างใหม่ให้เฉพาะกับ Application ที่เราต้องการจริง ๆ จะดีกว่าครับ =D

เราจะได้มาเป็นแบบนี้

Picture5_4.png

เราสามารถแก้ Shortcut ที่ต้องการได้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพอใจครับ เอาอันที่กดถนัดและเป็นธรรมชาติที่สุดจะเป็นการดี

จากนั้นกด Add เพื่อยืนยัน

กลับมาที่หน้า Keyboard & Mouse

Picture6_4.png

เราจะเห็นว่ามี Shortcut เพิ่มขึ้นมาใหม่สำหรับ Application Preview โดยเฉพาะที่เราเพิ่มไปเมื่อสักครู่โผล่มาให้เห็นแล้ว

note : ตรงลูกศรชี้ ถ้าเกิดเราจะเปลี่ยนใจตั้ง Shortcut ใหม่ เราสามารถแก้ได้เลยจากตรงนี้ครับ กดดับเบิลคลิ๊กไปที่ Shortcut เดิมตรงนี้ล่ะ

จากนั้นให้เราลองเปิด Preview ขึ้นมาครับ

ไปที่ Tools/ Adjust Size...

Picture7_0.png

มี ShortCut ใหม่เพิ่มขึ้นมาแล้ววว ~

ยิ้มปากกว้าง

จากขึ้นตอนทั้งหมดนี้ เราสามารถตั้ง Shortcut เพิ่มให้กับ Application ต่าง ๆ เองได้ครับ ลองดูนะ

ขอให้สนุกกับการใช้งาน Shortcut ใหม่ครับ ~

มือใหม่ต้องเจอ : เมาส์ฉันไม่ทันใจ -*-

สำหรับมือใหม่ใจรัก mac ทุกท่าน เปิดเครื่องมาปั๊ป โอว OS สุดแจ่ม Interface งดงาม

แต่ทันใดนั้น เมื่อขยับเมาส์คู่กาย cursor เจ้ากรรมกลับหนืดสนิท:หลอน: 
ช้าเป็นเต่าคลาน ลากตั้งไกล ขยับไปนิดเดียว โกรธ  
ทำให้รำคาญใจกับ mac เครื่องใหม่ เกิดอาการสงสัยเป็นเหตุอันใด อะไรเสียรึเปล่า 
กังวลต่างๆนาๆ มาฟังทางนี้ครับ

ความเป็นจริงแล้วมันมีที่มาครับ มันเป็นมาอย่างนี้
Cursor ของเมาส์บน Mac OS จะมีความแตกต่างจากของ Windows ก็ตรงที่
จะมีการคำณวณระยะทางให้สัมพันธ์กับความเร็วของมือเราครับ(Windows ไม่มีตรงนี้เลยทำให้มันเร็วเท่ากันหมด)
เปรียบได้กับการเดินกับการวิ่งนั้นเองคับ ซึ่งการคำณวณแบบนี้ ทำให้ได้ความแม่นยำของ Cursor มากกว่าครับ
ลองลากเร็วๆกับช้าๆเทียบกันครับ ด้วยระยะทางที่เท่ากันนะครับจะเห็นผลชัดมาก
Credit : คุณ Cyberdude ที่เคยตอบไว้ใน www.Freemac.net ให้เป็นวิทยาทานครับ

แต่ เราไม่จำเป็นจะต้องใช้ช้าๆ อย่างที่ Default ตั้งไว้เสมอไปนะครับ เราสามารถตั้งได้ที่ System preferences
ได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นความเร็วของเมาส์ หรือ Trackpad ก็ตาม
ตรงนี้นะครับ ถ้าจะตั้ง Trackpad ก็ไปที่ Tab ของ Trackpad แล้วก็เลือก Tracking เหมือนกันครับ
มันจะช่วยให้เร็วขึ้นแต่การคำณวณข้างต้นยังอยู่นะครับ ไม่ได้ไปไหน แค่ทันใจกว่าเดิมเท่านั้นเอง
คราวนี้ถ้าลองลากเร็วๆจะเป็นจรวดเลยครับ :หมดกัน-2:

[แก้ไขขนาดของภาพครับ ของเดิมล้นจอ - kok]