เกี่ยวกับ การ Install และการใช้งาน OS X Leopard เบื้องต้น
วิธีการติดตั้ง OS X 10.5 - Leopard
ต่อไปนี้เป็นการแสดงขัั้นตอนการลงโปรแกรม OS X เวอร์ชั่น 10.5 (Leopard)
note : เนื่องจากการ install OS X Leopard เป็นขึ้นตอนที่มีรายละเอียดมากพอสมควร ผมเลยคิดว่าจะแบ่งออกเป็น 2 ตอนจะได้ไม่ยาวเกินไป และเพื่อความรวดเร็วในการโหลดภาพ โดย link ไปยังตอนต่อไปจะอยู่ด้านล่างสุดของหน้านี้ครับ
ภาพประกอบอาจจะไม่ชัดนะครับ ขออภัย
ใส่แผ่น install dvd เข้าไปในเครื่อง
จะมีตัวเลือกดังนี้
ให้เลือก Install Mac OS X.app เพื่อทำการติดตั้งลงในเครื่อง ถ้ามีหน้าต่างใหม่บอกให้เรา restart ก็ให้เลือก restart ไปนะครับ แล้วเราจะเข้าสู่การ Install
เลือกภาษาในการ Install
ตรงนี้จะให้เราเลือกภาษาหลักที่จะใช้ต่อไปตลอดการ Install ครับ
เราจะพบกับกล่องข้อความต้อนรับ สำหรับการติดตั้ง OS X
เราจะเจอกล่องข้อความต้อนรับเราเข้าสู่การติดตั้ง osx ให้กด Continue ผ่านไป
ข้อตกลงการใช้งาน
เลือกพื้นที่บน hard disk ที่จะทำการติดตั้ง OS X Leopard
note : จากภาพผมแบ่ง partition เอาไว้ + กับมี external hdd อีก 2 ตัวต่อเข้้ากับเครื่อง เลยมีให้เลือกเพิ่มขึ้น -- ซึ่งถ้าปรกติเครื่องใหม่ จะเห็น hard disk อยู่ น้อยกว่านี้ อาจจะ 1 -2 hard disk แล้วแต่ว่าจะแบ่ง partition เอาไว้ก่อน install OS X หรือไม่
หน้าต่าง Options
มีคำสั่งเลือก Install ให้เราเลือก 3 แบบ ดูรายคำอธิบาย เรื่องรูปแบบการ Install OS X Leopard แบบละเอียดได้จาก ใน link เลยครับ =)
เมื่อเลือกได้แล้วกด OK เราจะกลับไปหน้า Select a Destination ในหัวข้อที่แล้ว .. ให้เลือก Hard disk ที่ต้องการจะลง system แล้วจากนั้นกด Continue
หน้าต่างเตรียมสำหรับการติดตั้ง OS X
ในหน้าต่างนี้ จะเป็นการบอกเราว่าเรากำลังจะติดตั้ง system ใหม่แล้ว
note : เครื่องจะทำการ restart เองหลังจากที่ install เสร็จเรียบร้อยแล้ว
หน้าต่าง Customized บอกเราว่า เราจะ Install อะไรลงไปในเครื่องบ้าง
ใครอยากลงอะไรเพิ่มเติม หรือว่าเอาออก ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เลย (ตามปรกติจะถูกเลือกเอาไว้หมด) หรือถ้าอยากจะลงเพิ่มเติมทีหลัง หลังจากลง system ใหม่ไปแล้วก็ได้ ดู Optional Installs บน OS X ได้จากใน link นะครับ
จัดการเสร็จแล้วเลือก Done เพื่อกลับไปหน้าต่างเดิม
ถ้าพร้อมแล้ว ก็เลือก Install ทำการติดตั้ง system ใหม่ได้เลย~
Note : แนะนำว่าเลือกลงทั้งหมดเลยก็ได้ครับ จะได้ไม่ต้องมาติดตั้งใหม่ภายหลัง (ยุ่งยากนะ ผมว่า ไหน ๆ ก็จะ Install system ใหม่แล้ว ก็ Install พวกนี้แถมเข้าไปด้วยก็ประหยัดเวลาดีครับ)
ระบบทำการตรวจสอบแผ่น ว่าพร้อมใช้งานหรือไม่
เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการ Install Mac OS X แล้วครับ... แต่ก่อนอื่น ระบบจะทำการตรวจสอบแผ่นที่เราเอามาใช้ก่อนว่าสามารถใช้งานได้ดีหรือไม่ ... (ตามแนวคิดแล้วเป็นเรื่องที่ดี ที่ถ้าตรวจสอบแล้วเจอ error จะได้ไม่ต้องเสียเวลาลง)
แต่...
เค้าใช้เวลาตรวจสอบนานนนนนนนนนนนนนนนนนนนน ไปนิดครับ .. ผมเลยเลือก Skip ข้ามขั้นตอนนี้ไปครับ =P
เข้าหน้ากระบวนการติดตั้ง
ระหว่างนี้เราก็รอเค้าไปเรื่อย ๆ ครับ จะใช้เวลาประมาณ 40 นาที - 1 ชม. ในขึ้นตอนนี้ครับ =)
แอบสงสัย?
ผมไม่ทราบว่าเป็นที่ระบบตั้งเอาไว้หรือเปล่า ระหว่างที่ผมลง system ใหม่นี้เจ้าตัว airport นั้นจะถูกเปิดขึ้นมาด้วยเฉยเลย -.-a
ผมเลือกปิดไปจากตรงนี้เลยครับ ฮ่า... ไม่รู้จะมีผลอะไรหรือเปล่า แต่ปิดเอาไว้ก่อนครับ
Install เสร็จแล้วววว ~
พอเราติดตั้ง OS X เสร็จไปแล้ว จะมีหน้าต่างนี้ขึ้นมา พร้อมด้วยการนับถอยหลังเตรียม restart เครื่องครับ .. ใครไม่อยากรอให้เค้านับจบ ก็กดปุ่ม Restart เองเลยก็ได้
ตรงนี้จะใช้เวลา restart นานหน่อย แต่อดใจไว้นิดครับ ได้ใช้ system ใหม่ในไม่กี่อึดใจนี้ล่ะ
ขั้นตอนต่อไป
เนื่องจากการ install OS X Leopard เป็นขึ้นตอนที่มีรายละเอียดมาก ผมเลยคิดว่าจะแบ่งออกเป็น 2 ตอนนะครับ จะได้ไม่ยาวเกินไป และง่ายต่อการโหลดภาพ
ไปที่หัวข้อ Setup การใช้งานครั้งแรก
การ SetUp เข้าใช้งาน Mac OS X Leopard ครั้งแรก
หลังจากที่เราติดตั้ง OS X 10.5 Leopard เสร็จเรียบร้อย เครื่องจะทำการ restart เองแล้วเข้าสู่ขั้นก่อนการ SetUp เพื่อใช้งานครั้งแรกเราจะเข้าสู่อนิเมชั่นต้อนรับ
พบกับ อนิเมชั่นต้อนรับงาม ๆ ที่บางคนยังไม่เคยเห็น
ตรงนี้ไม่มีภาพนะครับ อยากให้ลองดูกันเอง
หน้าต่าง Welcome + setup เลือกประเทศ
ให้เลือกประเทศที่เราอยู่ครับ สำหรับผู้ใช้ในประเทศไทย เลือกติ๊กที่ช่อง Show All แล้วจากนั้นเลือกประเทศ Thailand ... เสร็จแล้วกด Continue ครับ
เลือกคีบอร์ด
เลือกเป็น U.S.(อันแรก) ไปก่อนครับ แล้วเราสามารถตั้งค่า ภาษาไทย + การใช้งานคีบอร์ดภาษาไทย ได้ภายหลัง
ต้องการย้ายข้อมูลจากเครื่อง Mac เครื่องเก่าของคุณไหม?
เป็นตัวช่วยสำหรับคนที่มีเครื่องหลายเครื่อง มาลง system ใหม่แล้วจะได้ไม่ต้องมานั่งย้ายไฟล์เอง .. เราใช้ตรงนี้ช่วยจัดการให้ได้ครับ มีตัวเลือกดังนี้
เลือกเสร็จแล้วกด Continue ครับ
ตัวอย่างการย้ายไฟล์จาก partition อื่นในเครื่องเดียวกัน (ถ้า backup ไว้)
จากตัวอย่างผมลองเลือกย้ายข้อมูลจาก hard disk ในอีก partition นึงเข้ามาไว้ใน system ใหม่นี้มี 4 หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
รอสักแป๊ปนึงให้เค้าทำการคำนวณพื้นที่ของไฟล์ที่ผมจะย้ายทั้งหมดก่อน จากนั้นจะมีปุ่ม Transfer ขึ้นมาให้เลือก
ให้กดปุ่ม Transfer เพิ่มเริ่มขบวนการขนย้ายไฟล์จากที่เก่ามาไว้ใน system ใหม่ครับ..
note : ผมเลือกเอาเฉพาะข้อมูลส่วนตัว User account กับ Network and other setting นะครับ เพราะจะประหยัดเวลากว่าย้ายทั้งหมด (โดยเฉพาะถ้าใครย้าย Applications folder เดิมมาด้วย จะรอนานมากครับ และโปรแกรมอาจจะทำงานได้ไม่สมบูรณ์จากการย้ายมา system ใหม่นี้ด้วย .. สุดท้ายก็ต้องลงใหม่อยู่ดี ผมเลยเลือกข้ามไปครับ)
ส่วนไฟล์กับแฟ้มจาก system เดิมของผมนั้น ไม่ได้เลือกเพราะว่า ผมลง Leopard ในเครื่องเดียวกับ Tiger ครับ แฟ้มหรือว่าไฟล์ต่าง ๆ ของ system เดิมผมก็ยังอยู่ และสามารถเข้าถึงได้โดยตรงจาก Leopard ครับ (เค้าจะมองเห็น Tiger เป็น hard disk อีก partition ที่อยู่ในเครื่อง) =)
จากนั้นก็เริ่มย้าย
หน้าต่าง รีจิสเตอร์
เป็นข้อมูลผู้ใช้ที่จะถูกส่งไปรีจิสเตอร์ผลิตภัณฑ์ของ Apple และนอกจากนั้นยังจะถูกใช้เพื่อสร้างชื่อเราใน Address Book, Mail อีกด้วย ... ดังนั้น กรอกให้หมด แล้วกด Continue ครับ =)
ถามต่ออีกนิดหน่อย
เราจะถูกถามต่อว่าใช้เครื่องนี้ที่ไหน และเราทำงานเกี่ยวกับอะไร
และจะมีให้เราเลือกว่าสนใจจะรับข่าวสารล่าสุดจากทาง Apple หรือเปล่า? ถ้าสนใจ ก็เลือกติ๊กลงไป
จากนั้นกด Continue
กด Continue เพื่อส่งข้อมูลไปให้กับทาง Apple แล้วเตรียมเข้าสู่การ set up เครื่อง
อาจจะดูงง ๆ แต่เค้าหมายถึงเตรียมที่จะ login เข้าใช้งานเครื่องเราจริง ๆ กันแล้วครับ
หน้าต่างขอบคุณ พร้อมใช้งาน
คลิ๊ก Go ~
เข้าสู่ Leopard
note : จากรูปผมย้ายข้อมูล user account ผมจาก system เดิมมาไว้ใน system ใหม่ (ของเดิมผมตั้ง password ตอน login เอาไว้) เลยเจอหน้าต่างนี้ก่อนเข้าเครื่องครับ ให้กรอก password =)
เข้า system ใหม่
เข้าสู่หน้าต่าง system ใหม่ของเรากันแล้วนะครับ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ OS X Leopard ครับ
การตั้งค่าต่าง ๆ บนเครื่องจากใน system preferences
การตั้งค่าภาษาไทยบน OS X
การปรับแต่ง desktop
การสร้าง user account
อัพเดท software ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด
รูปแบบในการ Install OS X Leopard
ในการ Install OS X นั้น จะมีรูปแบบการ Install ต่าง ๆ ให้เราเลือกตามความต้องการ และนี่คือคำอธิบายครับ
บนหน้าต่าง Select a Destination
ระหว่างการ Install Mac OS X Leopard ในหน้าต่าง Select a Destinantion นั้น ถ้าเราเลือก Options เราจะถูกพาเข้ามาให้เลือกรูปแบบของการ Install OS X Leopard ตามนี้
เลือกรูปแบบการ Install OS X Leopard
มีคำสั่งเลือก Install ให้เราเลือก 3 แบบ มีรายละเอียดดังนี้
1.Install Mac OS X / Upgrade Mac OS X :
หัวข้อแรกมีอยู่ 2 หัวข้อที่จะขึ้นให้เลือกตรงส่วนนี้คือ
2. Archive and Install :
เป็นการลง system ใหม่ โดยที่ก่อน Install ใหม่ เครื่องจะทำการเก็บไฟล์ system เก่า back up ลงเอาไว้ในเครื่องให้ด้วย โดยไฟล์ของ system เก่าจะอยู่ในแฟ้มชื่อ Previous System (ในแฟ้มนี้ จะเก็บโปรแกรมในเครื่องตัวเก่า, พวก font และค่า setting อะไรต่าง ๆ .. ให้เราสามารถเข้าถึงได้ภายหลังจากที่ลง system ใหม่เสร็จแล้วได้ครับ)
หัวข้อนี้จะมีตัวเลือก Preserve Users and Network Settings ถ้าเราไม่เลือกห้วข้อนี้ พวกรายละเอียดต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกเอาไว้ใน บัญชีผู้ใช้ ( user account) จะถูกเก็บไว้ในแฟ้ม Previous System ด้วยกันส่วนต่าง ๆ จาก system เก่า
แต่ถ้าเราเลือก Preserve Users and Network Settings พวกรายละเอียดจาก User account จะตามมาติดตั้งให้ใน system ใหม่ให้ด้วยเลยตอน Install
สิ่งที่อยู่ใน user account ที่จะตามมาด้วยตอนลง system ใหม่ถ้าเราติ๊กถูกหน้าหัวข้อ Preserve Users and Network Settings ได้แก่
หัวข้อนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลง system ใหม่ แต่ยังไม่กล้าลงใหม่แบบลบของเก่าทั้ง 100% โดยปรกติแล้ว การ install แบบนี้เราก็จะได้ system ที่เกือบ ๆ จะใหม่หมด 100% เพียงแต่มี setting บางตัวจาก system เดิมตามมาด้วย (ถ้า setting ของเดิมมีปัญหา หรือ setting จากโปรแกรมต่าง ๆ ย้ายมาแล้วมาตีกับ system ใหม่ ... ก็มีแนวโน้มว่า จะมีปัญหาตามมาบน system ใหม่ด้วยครับ )
note : การลง OS X แบบ Archive and Install นี้ หลังจากติดตั้ง system ใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้้ว บางโปรแกรมหลังจากที่ติดมาอยู่บน system ใหม่ด้วยนั้น จะออกอาการ “เอ๋อ” ครับ .. ถ้าเอาชัวร์จริง ๆ ควรจะทำการ Install โปรแกรมเหล่านั้นใหม่อีกรอบ
3. Erase and Install :
เป็นการลง system โดยก่อนที่จะลง system ใหม่นั้น จะทำการล้างข้อมูลที่มีอยู่เดิมออกไปทั้งหมด แล้วจากนั้นจึงค่อย Install Mac OS X
ถ้าคุณแน่ใจว่าได้ back up ข้อมูลในส่วนต่าง ๆเอาไว้ครบถ้วนดีอยู่แล้ว การเลือกหัวข้อนี้ จะเป็นการลง system แบบสะอาดที่สุด (หรือเรียกว่า clean Install) ค่า setting ต่าง ๆ จะกลับไปเริ่มต้นใหม่หมด
เหมาะสำหรับคนที่ต้องการล้าง system ใหม่จริง ๆ หรือว่ามีปัญหากับบางตัวอย่างเรื้อรัง และแก้ไขไม่ได้ด้วย Archive and Install ครับ...
รายละเอียดเกี่ยวกับตัวเลือก Optional Installs ในการติดตั้ง OS X ใช้สำหรับ
โดย Application ที่สามารถลงได้ใหม่จาก Optional Install มีดังนี้
note : ดูขึ้นตอนการใช้ Optional Install แบบละเอียดได้จากการติดตั้ง X11 ในหัวข้อด้านล่างนี้ครับ
เกี่ยวกับ X11 บน OS X และการติดตั้ง + Update ครับ
การติดตั้ง X11 จากแผ่น Os X Installer ที่เรามี
X11 คือการแสดงผลหน้าต่างแบบ Bitmap ในคอมพิวเตอร์ระบบ Unix ที่บางแอปพลิเคชั่นยังต้องการทำงานผ่าน X11 นี้อยู่ เราจึงต้องมีเอาไว้ในกรณีที่เราต้องการจะใช้งานแอปพลิเคชั่นเหล่านั้น เช่น Inkscape (www.inkscape.org), Gimp (www.gimp.org) เป็นต้น ส่วนแอปพลิเคชั่นบน Os X ส่วนใหญ่ไม่ต้องการ X11 นี้ครับ
ตามปรกติถ้าการ Install ทั่วไป ก็จะมี X11 มาให้ภายในเครื่องเราครับ แต่ก็ไม่เสมอไปนะ โดยขึ้นอยู่กับ Option ตอนที่เราเลือก Install Os X ครับ =)
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ X11 จาก Wiki Pedia (ข้อมูลเป็นภาษาไทย) จาก Link นี้ครับ
http://th.wikipedia.org/wiki/x_window_system
Note :
ใส่แผ่น Os X Installer Dvd เข้าไปในเครื่อง
เลือก Optional Installs
เข้าสู่หน้าต่าง Optional Installs
ดับเบิลคลิ๊กที่ Optional Installs.mpkg
เข้าสู่หน้าต่างเตรียมการลงแอปพลิเคชั่น
ข้อตกลงการใช้งานแอปพลิเคชั่น
เลือก Continue แล้วจะมีหน้าต่างนี้โผล่ขึ้นมา
กด Agree เป็นการยอมรับข้อตกลงผ่านไปครับ
เข้าสู่การเลือกจุดหมายปลายทางที่จะ Install
ปรกติแล้วให้เลือกไปที่ Partition หรือ Hard Disk เดียวกับที่เราลง Leopard นะครับ (จากในรูปผมตั้งชื่อ Hard Disk ที่ผมลง 10.5 เอาไว้ว่า Leopard ครับ )
หน้าต่าง Custom Install
เลือก Applications
Note : เกี่ยวกับ Custom Install เป็นรายการที่อยู่นอกเหนือจากการลงแอปพลิเคชั่นปรกติ ซึ่งเราสามารถเลือกลงเองได้ภายหลัง
นอกจากแอปพลิเคชั่น หรือ Applications อื่น ๆ แล้ว ยังมี
Ipod Support : แอปพลิเคชั่นสำหรับipod Support - - (จากในคำอธิบายนะครับ ผมไม่รู้จะแปลออกมายังไงเหมือนกัน)
Additional Fonts : ฟ้อนท์เพิ่มเติมในประเทศแถบเอเชียครับ พวกจีน เกาหล๊ ไทย .. ฯลฯ
Language Translations : เพิ่มภาษาหลักให้กับเครื่องในกรณีที่การ Install ตามปรกติไม่มีให้ ตามนี้
Printer Driver : ลองไดร์เวอร์เพิ่มเติมของปรินเตอร์รุ่นต่าง ๆ มีรายชื่อตามนี้ครับ
เลือกทำการติดตั้งเฉพาะ X11
Note : สำหรับผู้ที่ซื้อเครื่องแล้วมาพร้อมกับ Ilife’08 สามารถลงแอปพลิเคชั่นจาก Ilife’08 ใหม่ (จะเลือกรายตัวหรือทั้งชุด) ได้จากตรงนี้ด้วย - - จากรูปไม่มีชุดแอปพลิเคชั่น Ilife’08 เพราะว่าเป็นแผ่น 10.5 ที่ไม่ได้มากับเครื่องครับ ผมไปซื้อเอาทีหลัง
จากนั้นเลือก Continue
หน้าต่างสรุปว่าเรากำลังจะ Install อะไรบ้างใช้พื้นที่ทั้งหมดเท่าไหร่ (ในที่นี้คือ X11)
ถามยืนยันอีกครั้งก่อน Install
กรอกชื่อผู้ใช้ กับรหัสผ่านลงไปครับ จากนั้นกด Ok
Note : ปรกติเวลาที่เราไปยุ่งเกี่ยวกับระบบมักจะมีหน้าต่างนี้ถามขึ้นมาทุกครั้ง (รวมถึงการ Install แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ก็ด้วย)
เข้าสู่สถานะ Install
หน้าต่างแจ้งว่าการ Install ผ่านไปได้ด้วยดีครับ
เลือก Close ไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย
เสร็จแล้ว ก่อนที่จะทำการใช้โปรแกรมอื่น ๆ บน X11เราควรที่จะ update X11 บนเครื่องเราให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด หรือ เสถียรที่สุดก่อนเสมอ
การ update X11 บน Leopard สำหรับใช้งานโปรแกรม Inkscape/GIMP
ที่มาว่าทำไมเราต้อง update X11 บน OS X 10.5-Leopard ให้เป็น version ล่าสุด
X11 บน OS X 10.5 มีความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่กับ X11 ที่ได้นำระบบใหม่มาใช้ และจากตรงนี้เอง ในเวอร์ชั่นแรก ๆ ของ Leopard 10.5.0-10.5.1 หรือกว่านั้น X11 ค่อนข้างจะมีปัญหามากเรียกว่าใช้งานแทบไม่ได้เลย จนบางคนต้องเอา X11 จาก 10.4 มาใช้แทนบน 10.5 - - หลังจากนั้นไม่นาน พออัพเดทเป็น 10.5.2 แล้ว X11 จึงเริ่มที่จะใช้งานได้ (ปัญหาน้อยลง)
และจนถึงปัจจุบันที่ผมเขียนบทความนี้อยู่ (10.5.4) ก็ยังมีปัญหาอยู่ครับ เลยอยากขอแนะนำว่า ให้ update X11 ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดก่อน (หรือไม่ก็เป็นเวอร์ชั่นที่เสถียรที่สุด - ดูรายละเอียดได้จาก link ด้านล่างนี้ครับ) ก่อนเสมอ
สามารถเข้าดาวน์โหลด X11-XQuartz เวอร์ชั่นล่าสุดได้ ที่นี่ หรือจาก link นี้ครับ
http://xquartz.macosforge.org/trac/wiki
update : หลังจาก install รอบแรกผ่านไปแล้ว ปรากฎว่าตัว 2.3.0 มีปัญหากับ wacom รุ่นที่ผมใช้อยู่ -.- เลยต้องโหลดตัว 2.2.3 มาลงแทน จึงใช้งานได้ครับ
update: 23 กย. 51 เวอร์ชั่นล่าสุดเป็น 2.3.1 ครับ ใช้งานได้ ไม่ตีกับ wacom แล้ว แต่มีปัญหาเรื่องการสลับภาษาในบางเครื่อง (เครื่องผมด้วย ) และจะแก้ในเวอร์ชั่น 2.3.2 ครับ
จาก http://xquartz.macosforge.org/trac/ticket/162#comment:1
update: 10 เมษา 52 เวอร์ชั่น 2.3.2 ออกแล้วครับ และสามารถสลับภาษาระหว่างใช้งานโปรแกรมบน X11 ได้แล้ว ลองเข้าไปโหลดมา update กันดูนะครับ
http://xquartz.macosforge.org/trac/wiki
ดาวน์โหลด X11-XQuartz เวอร์ชั่นล่าสุด
เข้าหน้าเวปมา จะเห็นหัวข้อ Latest Release ซึ่งคือเวอร์ชั่นล่าสุดที่เราต้องการ (ตอนที่เขียนบทความอยู่นี้เป็นเวอร์ชั่น 2.3.0 ครับ) ซึ่งก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งใน X11 จากการอัพเดท OS X เองมาเทียบให้ดูด้วย ซึ่งตามปรกติแล้ว X11 -XQuartz บนเวปนี้จะอัพเดทเร็วกว่าบน OS X ครับเพราะเป็น open source ไม่ต้องรออัพเดทพร้อมกับ OS
ให้คลิ๊กเข้าไปที่เวอร์ชั่น 2.3.0 (หรืออื่น ๆ ก็ตามที่ออกมาภายหลังและมีมาให้เลือกในส่วนของ Lastest Release ครับ)
เราจะถูกพามาหน้าใหม่ พร้อมโหลด แต่สำหรับตอนที่ผมกำลังจะโหลดตัว 2.3.0 มีหัวข้อฟ้องมาดังนี้ครับ
(update : หลังจาก install รอบแรกผ่านไปแล้ว ปรากฎว่าตัว 2.3.0 มีปัญหากับ wacom รุ่นที่ผมใช้อยู่ -.- เลยต้องโหลดตัว 2.2.3 มาลงแทน จึงใช้งานได้ครับ)
จากนั้นเราก็มา install ตัว update นี้กัน
update บน OS X 10.5-Leopard ให้เป็น version ล่าสุด
ไปที่เราโหลดเค้ามานะครับ จากนั้นดับเบิลคลิ๊กไปที่ X11-2.3.0.pkg ตัวนี้
ขึ้นหน้าต่าง Introduction เตรียมการลงโปรแกรม
Read Me รายละเอียดของ update ตัวนี้
note : ตามปรกติแล้วเรากดผ่านไปได้เลย แต่ถ้าเราลงโปรแกรมจากค่ายอิสระ (3rd Party) แล้วหัวข้อตรงนี้เป็นส่ิงที่ไม่ควรมองข้ามนะครับ เพราะจะมีรายละเอียดและเรื่องที่ผู้ใช้ควรจะทราบก่อนการ install ครับ
ข้อตกลงของโปรแกรม
กด continue ผ่านไป เราจะได้หน้าต่างยืนยันการลงโปรแกรมนี้มา
กดยืนยัน Agree ครับ
install ลงบน hard disk หลักของเครื่องเรา
คลิ๊ก install จะมีหน้าต่างขึ้นเตือนนี้มา
ให้กรอกชื่อผู้ใช้ กับรหัสผ่านของเราลงไปครับ จากนั้นกด OK
หน้าต่างเตือน การปิดโปรแกรม และการ log out ออกจากระบบ
จะมีหน้าต่างเตือนเราว่า การ install update นี้ เมื่อ install เสร็จสิ้น ระบบจะต้องปิดโปรแกรมที่เปิดไว้อยู่ทั้งหมด และจะทำการ logout ออกจากระบบ (เป็นขั้นตอนอัตโนมัติครับ .. ดังนั้นใครเปิดโปรแกรมอะไรค้างไว้อยู่ก็รีบ save แล้วปิดให้หมดก่อนตอนนี้เลยนะครับ )
ถ้าปิดโปรแกรมเรียบร้อยหมดแล้ว เลือก Continue Installation เพื่อทำการติดตั้งจริงต่อไปได้เลย
ทำการติดตั้งจริง
แจ้งว่าติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เลือก Logout เพื่อออกจากระบบ แล้วทำการ login เข้ามาใหม่เป็นอันเสร็จพิธีการ update X11 บน 10.5 ครับ
เสร็จแล้ว...
จากนั้นเราก็จะมาทำการ install โปรแกรม Inscape หรือ GIMP กันต่อไปได้แล้วครับ