การจัดการไฟล์แบบฐานข้อมูล ในโปรแกรมต่าง ๆ บน OS X

บทความนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการไฟล์ในแบบฐานข้อมูล (Database) ในโปรแกรมพื้นฐานต่าง ๆ ที่มีอยู่บน OS X คร่าว ๆ นะครับ

คือผมตั้งใจว่าจะเขียนบทความเกี่ยวกับ iTunes และเริ่ม iLife’08 แล้ว จึงน่าจะเป็นการดีกว่าถ้าจะมีการอธิบายเพิ่มเติมตรงนี้เพื่อเตรียมพื้นฐานความเข้าใจตรงนี้ร่วมกันก่อนครับ

ที่มา

สำหรับผู้ที่ใช้ Windows PC มาก่อน อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับการจัดไฟล์ในรูปแบบฐานข้อมูลนี้เท่าไหร่นัก เพราะบน WIndows PC โปรแกรมฐานข้อมูลนั้นค่อนข้างเฉพาะทาง และมีราคาแพง ไม่เหมือนกับบน OS X ที่โปรแกรมพื้นฐานต่าง ๆ แทบทั้งหมดล้วนมีการทำงานในรูปแบบของฐานข้อมูลทั้งสิ้น เช่น iTunes, iPhoto, Address Book, iCal, Mail.. ฯลฯ

ข้อดี

การจัดไฟล์แบบฐานข้อมูลมีข้อดีดังนี้

  • การบริหารจัดการไฟล์ทำได้ง่ายกว่า เราไม่ต้องเสียเวลาจัดการกับไฟล์เอง เช่นบน Windows PC ส่วนใหญ่แล้วเราจะจัดตำแหน่ง หรือว่าบริหารจัดการไฟล์เองเกือบทั้งหมด ..ซึ่งมักจะมีปัญหากับขนาดของข้อมูลที่มากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป แต่บน OS X เราแทบไม่ต้องทำตรงนั้นครับ เราแค่เอาไฟล์ใส่เข้าไปใน Library ของโปรแกรมนั้น แล้วที่เหลือ โปรแกรมจะจัดการต่อเกือบทั้งหมดให้เรา ตรงนี้จะเป็นประโยชน์มากตามขนาดของข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเราไม่ต้องทำเอง
  • การแสดงผล หรือว่าการจัดการที่ทำได้หลากหลาย จากเดิมบน Windows PC ถ้าเราจัดการกับไฟล์เพลงเป็นแฟ้มปรกติ อย่างมากที่เราทำได้คือการเรียงลำดับตามชื่อ, ขนาด หรือว่าวันที่ แต่เราไม่สามารถแสดงผลเฉพาะเช่น แสดงเฉพาะเพลงแจ๊สเพียงอย่างเดียวได้. ซึ่ง iTunes (ทั้งบน Windows และ OS X) สามารถทำตรงนี้ได้ครับ
  • การค้นหาที่ทำได้รวดเร็ว เพราะโปรแกรมแบบฐานข้อมูลส่วนมากจะมีการเก็บรายละเอียดของไฟล์เอาไว้เพื่อใช้ในการค้นหาได้ด้วย เช่นใน iTunes เราสามรถค้นหาจากชื่อเพลง, ชื่อวง หรือว่า แนวเพลงที่ต้องการจากเงื่อนไขเดียว หรือหลายเงื่อนไขพร้อม ๆ กันได้อย่างรวดเร็ว

ธรรมชาติของการจัดไฟล์แบบฐานข้อมูล หรือว่า database

ส่วนใหญ่แล้วที่เราต้องทำคือการนำข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือทั้งหมดไปใส่ไว้ใน Library หรือว่าฐานข้อมูลของโปรแกรม แล้วจากนั้น เราค่อยจัดการกับไฟล์ต่าง ๆ ใน Library ของตัวโปรแกรมนั้น ๆ อีกที.. ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว โปรแกรมจะทำงานได้ดี และเต็มประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อ เรานำไฟล์ไปใส่ไว้ใน Library ของโปรแกรมนั้น ๆ แล้วครับ เช่น นำเพลงไปใส่ไว้ใน Library ของ iTunes, การนำไฟล์ภาพ ไปใส่ไว้ใน Library ของ iPhoto เป็นต้น

พอเราเอาไฟล์ทุกอย่างไปใส่ไว้ใน Library ของโปรแกรมแล้ว เราสามารถ

  1. เลือกแสดงผลของไฟล์ในรูปแบบที่เราต้องการได้ ทั้งจากข้อมูลของไฟล์นั้น ๆ หรือจากเงื่อนไขที่เรากำหนดเอง
  2. ค้นหาจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับไฟล์นั้น ๆ
  3. บน OS X ฐานข้อมูลของหลาย ๆ โปรแกรมสามารถทำงานร่่วมกันได้เป็นอย่างดี ผ่าน Media Browser ครับ

    • media-browser.jpg
    • เช่น
    • เราสามารถนำรูปจาก iPhoto ไปแทรกไว้ใน email บน Mail.app ที่เราต้องการได้ โดยที่ไม่ต้องย้ายไฟล์ไปมา
    • หรือใน iPhoto เวลาเราทำ slideshow เราสามารถแทรกเพลงจากใน GarageBand หรือว่าใน iTunes ตาม playlist ที่เราจัดเอาไว้ได้ โดยที่ไม่ต้องเอาเพลงออกมาจากใน iTunes ครับ
    • บน iMovie เราแทรกรูปจาก iPhoto หรือว่าเพลงจาก GarageBand, iTunes ได้ เหมือนการทำงานร่วมกันระหว่างโปรแกรมบน iLife อื่น ๆ

คร่าว ๆ เป็นประมาณนี้นะครับ =)

note : เอาไว้ผมจะค่อย ๆ ทะยอย update บทความนี้นะครับ คิดว่าคงจะเพิ่มเติมข้อมูลตรงนี้หลังจากที่เขียนเกี่ยวกับ iTunes, iPhoto เสร็จแล้ว