การแบ่ง partition

การแบ่ง partition

สำหรับผู้ที่เคยใช้ PC มาก่อน คงคุ้นเคยกับคำ ๆ นี้ดี การแบ่ง partition คือการแบ่งพื้นที่การใช้งานบน hard disk ของเราให้เป็นสัดส่วน เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บ และบริหารไฟล์ .. บน OS X ก็เช่นเดียวกัน

โปรแกรมที่จะใช้ในการแบ่ง partition ของเรานั้น คือ Disk Utility (อยู่ใน Applications/ Utilities)

disk-utility-icon.jpg

โดยหลักแล้ว การแบ่ง partition ผมขอแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆเพื่อให้กระชับได้ใจความ ดังนี้

  1. การแบ่ง partition บน external hard drive ( hard disk ภายนอก ซึ่งเราซื้อแยกมาต่างหาก)
  2. การแบ่ง partition บน Macintosh HD หรือว่า hard disk ที่เรามีอยู่แล้วในเครื่อง (โดยที่ข้อมูลเดิมยังอยู่ครบไม่ต้อง Format หรือว่าล้างข้อมูลกันใหม่)

การรวม Partition

note : สำหรับขั้นตอนต่าง ๆ ของบทความนี้จะเป็นการทำงานก่อนที่ user จะเข้าใช้งานเครื่องปรกติ ทำให้ไม่สามารถที่จะเข้า Internet ได้ ดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการนำบทความนี้ไปอ้างอิงในการใช้งานจริง สามารถที่จะปรินท์บทความต่อไปนี้โดย

  1. เลือกคำสั่ง Printer-friendly version ที่ตอนล่างสุดของบทความนี้ในหน้า How-tos
  2. แล้วสั่ง print ครับ

การรวม Partition ที่มีอยู่ใน HD ของเรา

1.ใส่แผ่น OS X install DVD เข้้าไปในเครื่อง จากนั้นรอสักพักจนหน้าต่าง Finder ของ OS X Installation โผล่ขึ้นมาบน Desktop

sysrstore-01_3.jpg

2.ไปที่ Apple เมนูบนเมนูบาร์ด้านซ้ายมือบนสุด เลือก Shutdown (ต้อง Shutdown เท่านั้นนะครับไม่ใช่ Restart)

3.รอให้เครื่องปิดสนิทดีแล้ว ค่อยเปิดขึ้นมาใหม่ พร้อมกับกดปุ่ม Option ค้างเอาไว้ตอนที่ได้ยินเสียง “ผ่าง” ตอนเปิดเครื่อง จากนั้นรอสักพัก จะมีตัวเลือกให้เราเลือกว่าจะ boot เครื่องจากตรงไหน ให้เลือก boot จากแผ่น OS X install DVD

sysrestore-01-2_2.jpg

note : ขั้นตอนนี้จะรอนานหน่อยเพราะว่าเป็นการ Boot จากแผ่น DVD Installer ครับ ไม่ใช่จาก HD ภายในเครื่องครับ

4.เลือกภาษาหลักที่จะใช้ในการติดตั้ง เลือกเป็น English ตามหัวข้อแรกไปครับ

sysrstore-01-1_2.jpg

5.เมื่อเข้าหน้าต่าง Welcome เตรียมการติดตั้ง OS X ให้ปล่อยเอาไว้ แล้วไปเลือกบนเมนูบาร์ด้านบน เลือก Utilities / Disk Utility ครับ จากนั้นก็รอสักพัก

sysrstore-05-1_1.jpg

6.เข้าสู่การทำงานของ Disk Utility ให้รอจนแน่ใจว่า ใน List ทางด้านซ้ายมือเห็น Partition บนเครื่องเราทั้งหมด แล้วให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

sysrstore-07-1_1.jpg

อธิบาย
        1.        ให้เราเลือกไปที่ HD ของเราครับ (อันบนสุดของ List ด้านซ้ายมือ)
        2.        ในหัวข้อ First Aids ลอง Verify Disk ก่อนว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ ถ้ามีก็เลือก Repair จากตรงนี้
        3.        ถ้า Verify แล้วพบปัญหา ให้ทำการ Repair Disk ครับ หรือถ้าไม่พบปัญหาก็ไปขั้นที่ 4 ได้เลย
        4.        ไปที่ Partition tab เพื่อเข้าสู่ขึ้นตอนการรวม partition ต่อไปครับ

7.ในหัวข้อ Partition ตรง Partition Scheme ให้เลือกใหม่เป็น 1 Partition จากนั้นก็ใส่รายละเอียดทางด้านขวาไป (กำหนดชื่อ และ Format ของ disk ปรกติจะเป็น Mac OS extend (journaled) อยู่แล้วให้ปล่อยเอาไว้) จากนั้นสั่ง Apply เพื่อยืนยันการรวม partition

sysrstore-03-1_1.jpg

อธิบาย

  1. เลือก Partition Scheme เป็น 1 Partition        
  2. ตั้งชื่อ Volume (Partition) ใหม่ของเรา พร้อมกับตั้ง format ของ drive เป็น Mac OS Extended (Journal)
  3. หลังจากตั้งค่าเสร็จให้เลือก Apply เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลง

        
8.ถ้้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราจะเห็น Volume ทางด้านซ้ายมือเหลืออันเดียวตรงกับชื่อที่เราตั้งเอาไว้เมื่อกี๊นะครับ ..

note : สำหรับคนที่ต้องการรวม partition ของ HD ในเครื่องเพื่อที่จะ Restore system จาก Backup ของ Time Machine หรือว่าต้องการติดตั้ง Windows พอหมดขึ้นตอนที่ 8 แล้ว ให้ทำการ Force Quit เพื่อปิดเครื่องแล้วเปิดขึ้นมาใหม่ครับ แล้วเลือกจากหัวข้อที่ตรงกับความต้องการจากด้านล่างได้เลยครับ

  • ส่วนคนที่ต้องการจะลง Windows ผ่าน BootCamp หลังจากนี้นะครับ มีวิธีตามลำดับดังนี้
  1. ให้ทำการ Restore System เดิมกลับมาก่อน (ดู Disk Utility : การ Restore System จาก Time Machine Backup ประกอบ)
  2. จากนั้นค่อยเริ่มการใช้งาน BootCamp Asistant ได้เลย - ดู การติดตั้ง Windows บน OS X (Boot Camp) ประกอบ

update 8 พฤศจิกายน 2553
เนื่องจากบทความนี้ผมเขียนเอาไว้นานแล้ว ตั้งแต่เป็น 10.5 จะเป็นการดีหากทำการ backup เอาไว้ก่อนกระทำการแบ่งหรือการรวม partition นะครับ

การแบ่ง partition บน External hard drive

การแบ่ง partition บน External hard drive

เรามี External hard drive (ขอเรียกว่า HD)อยู่ลูกหนึ่ง ถึงแม้ในเครื่องเราจะมี Time Machine เอาไว้สำหรับ backup ทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้ให้เราแล้วก็ตาม แต่ด้วยความที่ Time Machine ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ยึดหยุ่นเท่าไหร่นักในการใช้พื้นที่ร่วมกับ HD ที่เราอยากเก็บไฟล์อย่างอื่นเอาไว้ด้วย ...

เป็นเรื่องที่ปวดหัวมากครับ ถ้าเกิดไม่มีการวางแผนเอาไว้ก่อน แบบที่ถ้าใช้งานไปสักพักนึงแล้วเกิดอยากจะ backup แบบเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาทีหลัง ..

ถึงจะรู้ตัวเมื่อสาย เราก็ยังสามารถจัดการให้เข้ารูปเข้ารอยแบบที่ควรจะเป็นได้ครับ แต่จะยุ่งยากหน่อยถ้าพื้นที่ HD มีจำกัด และเหลือไม่มากพอ อาจจะต้องไปยืม HD จากคนใกล้ตัว หรืออาจจะต้องซื้อลูกใหม่มาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ .. ซึ่งดูแล้วอาจจะสิ้นเปลืองเกินจำเป็นครับ สู้วางแผนเตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ กันดีกว่า...

บทความนี้เลยอยากจะเขียนถึงการ partition บน External hard drive เพื่อเตรียมตัวก่อนการ backup ไม่ว่าคุณต้องการจะใช้ Time Machine หรือไม่ก็ตาม

note : เพื่อความรวดเร็วของการรับส่งข้อมูล ลองพิจารณาซื้อ External hard drive ที่มีการเชื่อมต่อแบบ Firewire มาใช้นะครับ จะความเร็วที่ 400 หรือว่า 800 ก็ได้ โดยดูว่าเครื่องเรารองรับ Firewire ได้ที่ความเร็วสูงที่สุดเท่าไหร่ เพราะจะเร็วกว่าการรับส่งข้อมูลด้วย USB 2.0 ครับ

ต่อ External HD เข้ากับเครื่อง Mac ของเรา

ex-hdd-icon.jpg

โดยปรกติแล้วเราจะเห็นไดร์ฟใหม่จาก External HD ของเราโผล่ขึ้นมาอยู่บน desktop หลังจากต่อเข้ากับเครื่องเราแล้วไม่นานครับ

จากนั้น เรียกใช้งาน Disk Utility

disk-utility-icon_0.jpg
จาก Applications/ Utilities

เข้าสู่หน้าต่าง Disk Utility

start.jpg

หลังจากเข้าสู่การทำงานของ Disk Utility แล้ว เราจะเห็น External hard drive ของเราอยู่ใน list ทางด้านซ้ายมือด้วย จากนั้น มีขึ้นตอน การแบ่ง partition ดังนี้

  1. เลือก External Hard drive ของเราจากใน list
  2. ไปที่ tab partition
  3. ในตัวเลือก Volume Scheme ให้เลือกว่าเราต้องการจะแบ่ง hard disk ลูกนี้ออกเป็นกี่ partition (จากในตัวอย่าง ผมเลือกที่ 3 partition)

ภาพรวมในการแบ่ง partition (ดูรายละเอียดการตั้งค่าแต่ละส่วนในหัวข้อถัดไป)

มาดูภาพรวมกันก่อนนิดนึงครับ แล้วเดี๋ยวหัวข้อต่อไปจะว่ากันเรื่องวิธีตั้งค่าของแต่ละ partition
partition.jpg

จากที่ผมใช้อยู่ในการใช้งานทั่วไป ผมแบ่งดังนี้ครับ

  1. แบ่งพื้นที่ 10-20% สำหรับเก็บไฟล์ข้อมูลทั่วไป ในกรณีที่อาจจะเข้าถึงได้จาก windows ผมเลือก format เป็น FAT32 ครับ (และด้วยเหตุผลบางอย่าง ทำให้เราไม่สามารถใช้อักษรตัวเล็ก + ใช้เครื่องหมายอื่น ๆ ในชื่อของ HD ได้ ดังนั้น จะเป็นการดีถ้าตั้งชื่อให้เราอ่านเองแล้วรู้เรื่องง่าย ๆ ภายหลัง จะได้ไม่งงครับ)                                                                        
  2. แบ่งอีก 20-40% สำหรับเก็บ library ต่าง ๆ (ผมไม่เก็บ library พวก iTunes, iPhoto เอาไว้ในเครื่องครับ เลยต้องมีตรงนี้) format = HFS เพราะใช้เข้าถึงจากเครื่อง Mac ตัวเองได้เท่านั้น เลยไม่จำเป็นต้องเป็น FAT 32 ครับ และเข้ากันได้กับระบบไฟล์บน OS X ได้ดีกว่า เพราะ FAT 32 รองรับไฟล์ขนาดเกิน 4 GB ไม่ได้ ในขณะที่บน OS X มักจะสร้าง library ขึ้นมาขนาดใหญ่และอาจจะมีขนาดเกิน 4 GB เพื่อจัดการกับไฟล์ในแต่ละโปรแกรมครับ..         
  3. ที่เหลือ เอาไว้สำหรับ Time Machine - ถ้าใครต้องการจะใช้ Time Machine เพื่อการ backup แล้วล่ะก็.. การแบ่ง partition เตรียมเอาไว้ให้ Time Machine โดยเฉพาะเป็นสิ่งที่ควรจะทำมากครับ เพราะว่าเราสามารถจำกัดพื้นที่ backup สำหรับ Time Machine ได้                 

                        คือถ้าเราไม่แบ่ง partition แยกสำหรับ Time Machine เอาไว้ตั้งแต่ต้น โดยคิดว่าจะให้ใช้พื้นที่ backup ร่วมกับ partition ข้อมูลเดิมที่เรามีอยู่แล้วเนี่ย ... เจ้าTime Machine จะทะยอย backup กินพื้นที่ในส่วนที่เหลือของ HD มาเรื่อย ๆ ครับ จนเต็มพื้นที่ใน HD ไปในที่สุดเอง เพราะธรรมชาติแล้ว Time Machine ถูกออกแบบมาให้เป็นแบบนี้ครับ - -

        
                        ถ้าเราแบ่ง partition เตรียมเอาไว้แล้ว อย่างในกรณีตัวอย่างนี้ อย่างมาก Time Machine ก็จะกินพื้นที่ในส่วนของ partition นี้จนหมด โดยไม่ไปรบกวน partition อื่น หรือว่าส่วนที่เหลือนอกจากนี้บน HD ของเรา ครับ =)

การตั้งค่าของแต่ละ partition

หลังจากที่เราเลือก Volume Scheme ได้แล้ว เราจะเข้าสู่การปรับแต่งในส่วนของแต่ละ partition
มาดูกันที่ส่วนแรก (ล่างสุด) MyBookFAT32

partition-fat.jpg
ค่าพื้นฐาน - partition นี้สำหรับกรณีการแชร์ไฟล์ให้เข้าถึงได้จาก Windows ครับ

  • Name : MYBOOKFAT32
  • Format : MS-DOS(FAT)
  • Size : 35 GB

partition-mac.jpg

ค่าพื้นฐาน - partition นี้เก็บไฟล์ mac อย่างเดียว ไม่แชร์กับระบบอื่น

  • Name : MyBook-Mac
  • Format : Mac OS Extended (Journaled)
  • Size : 100 GB

partition-tm.jpg

ค่าพื้นฐาน - partition นี้สำหรับ Time Machine โดยเฉพาะ

  • Name : MyBook-TM
  • Format : Mac OS Extended (Journaled)
  • Size : 163.09 GB

ถ้าเราต้องการจะแบ่ง partition มาก / น้อยกว่านี้ เราสามารถเลือก “+” หรือ “-” เพื่อปรับเพิ่ม / ลดจำนวน partition

เมื่อตั้งค่าทุกอย่างเรียบร้อยหมดแล้ว เลือก หรือว่า Apply เพื่อยืนยัน

เสร็จแล้วเราจะเห็น partition ตามที่เราตั้งเอาไว้เพิ่มมาอยู่ใน HD ของเรา

done-1.jpg

การแบ่ง partition บน hard drive ในเครื่อง (แบบไม่ต้องลบข้อมูลเก่าที่มีอยู่แล้ว)

การแบ่ง partition บน hard drive ภายในเครื่อง โดยที่ไม่ต้องลบข้อมูลเก่าออก

วิธีนี้ใช้สำหรับผู้ที่ต้องการแบ่งพื้นที่ของ hard drive (ต่อไปนี้ขอเรียกสั้น ๆ ว่า HD) ภายในเครื่องโดยที่ไม่อยากจะ format หรือว่าล้างข้อมูลเดิมที่มีอยู่นะครับ

note :
1. เป็นแบ่ง partition จาก Disk Utility นี้ จะเป็นการใช้งานแบบ OS X+OS X (เพื่อเก็บไฟล์, ลงอีก OSหรือ เพื่อแบ่งพื้นที่ให้กับ Time Machine เอาไว้ Backup) เท่านั้น ..ไม่ใช่การแบ่งเพื่อเตรียมติดตั้ง windows
2. การปรับขนาด partition เดิมที่เคยมีอยู่แล้วเป็นขนาดใหม่ทุกครั้งมีความเสี่ยงสูง อาจจะทำให้ไฟล์เสียหาย หรือ drive เสียได้ ดังนั้นควรที่จะ backup ก่อนดำเนินการทุกครั้ง
3. ซึ่งถ้าเราต้องการติดตั้ง windows ควรที่จะใข้ Bootcamp Assistant ในการแบ่งเตรียมพื้นที่เพื่อความสะดวก และตรงกับความต้องการมากกว่า

มีขั้นตอนดังนี้

ใส่แผ่น OS X Install DVD ที่เรามีอยู่เข้าไปในเครื่อง

001-1_3.jpg

จะขึ้นหน้าต่างนี้มา ไม่ต้องสนใจครับ ไปขั้นตอนต่อไปเลย

บนเมนูบาร์ เลือก Apple/ Shut Down

002-shutdown_3.jpg

note : ต้องเลือก Shut Down เท่านั้น ห้ามเลือก Restart นะครับ แล้วรอให้เครื่องดับสนิท

หลังจากเครื่องดับสนิทแล้ว ให้กดปุ่ม Power เปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ + กดปุ่ม Option ค้างเอาไว้ตอนได้ยินเสียง “ผ่าง” ตอนเปิดเครื่อง

R0011206_3.jpg

หลังจากเครื่องดับสนิทแล้ว ให้กดปุ่ม Power เปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ + กดปุ่ม Option ค้างเอาไว้ตอนได้ยินเสียง “ผ่าง” ตอนเปิดเครื่อง

แล้วรอสักพัก (จะเข้าสู่การทำงานของเครื่องช้ากว่าปรกติครับ )

เลือกว่าจะ boot เครื่องจากที่ไหน

R0011205_3.jpg

จะขึ้นหน้าใหม่มาให้เราเลือกว่าจะ boot เครื่องเราขึ้นจากตรงไหน ให้เลือกไปที่รูปแผ่น Mac OS X Install DVD แล้วกด enter

เข้าสู่หน้าต่างเลือกภาษาในการ Install

R0011207_3.jpg

เลือกเป็นอังกฤษแล้วกด enter ผ่านไปครับ

มาที่หน้าต่าง Welcome ต้อนรับเตรียมลง OS X

ไม่ต้องกด enter ผ่านไปตรงนี้นะครับ ให้ขึ้นไปที่ menu bar ด้านบน แล้วเลือก Utilities/ Disk Utility.. (ตามรูป)

R0011208_3.jpg

note : เหตุที่เราจะใช้ Disk Utility จากแผ่น Install DVD เพราะว่า มีบางคำสั่งที่ Disk Utility ปรกติในเครื่องเราทำไม่ได้ครับ ซึ่งก็คือ การแบ่ง partition โดยที่ข้อมูลเก่ายังอยู่

ปรกติถ้าเรา Disk Utility ภายใน Application/ Utilities ที่อยู่ในเครื่องเราทำการ partition HD นั้น เค้าจะบังคับให้เราลบข้อมูลเดิมก่อนเสมอครับ

จะเข้าสู่การทำงานของ Disk Utility บนแผ่น Install DVD

R0011209_3.jpg

ตรงนี้อาจจะใช้เวลาสักพักนึงนะครับ เพราะเป็นการรันโปรแกรมจากแผ่น ไม่ใช่จาก HD ของเรา ให้รอจนกว่าจะมีรายละเอียดของ Volume (partition) ต่าง ๆ ในเครื่องเราขึ้นมาอยู่ใน list ด้านซ้ายมือให้หมด ซึ่งตามปรกติแล้วจะมีอยู่ 1 Volume ชื่อ Macinstosh HD ครับ (ดู note)

note : จากภาพผมได้ทำการแบ่ง partition เอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว จึงขึ้นมาใน list ทางซ้าย 2 ตัว แทนที่จะมี Macintosh HD เพียงอันเดียวครับ

เข้าสู่ขั้นตอนเตรียมการก่อน partition

006-2_3.jpg

สำคัญครับ ต้องค่อย ๆ ทำตรงนี้ทีละส่วน ตามนี้

  1. เลือก Volume ภายใน HD ของเรา (ถ้าเป็นเครื่องใหม่ มักจะใช้ชื่อว่า Macintosh HD หรือชื่ออื่นครับ ให้เลือก Volume ที่เราต้องการจะแบ่ง partition นั่นล่ะ)
  2. ไปที่ tab แรก (First Aid)
  3. เลือก Verify Disk ครับ - ตรงนี้จะเป็นการตรวจสอบ HD เราว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่ ให้ทำตรงนี้ก่อนการ partition นะครับ ถ้าขึ้น error มา เค้าจะฟ้อง แล้วให้เราทำการ Repair Disk (ปุ่มอยู่ข้างล่าง Verify Disk) ก่อน

หลังจาก Verify Disk เรียบร้อยแล้ว ไปที่ขั้นต่อไปได้เลย

ไปที่ tab Partition

note : ภาพตอน partition ผมไม่ได้ถ่ายเอาไว้ ให้ดูขั้นตอนเป็นลำดับแล้วค่อย ๆ ทำตามนะครับ ซึ่งปรกติคุณจะเห็นพื้นที่อยู่ HD ในเครื่องก้อนเดียว

007-1_7.jpg

จากนั้นมีวิธีแบ่ง Partition ดังนี้

1.เลือก HD ของเราจากรายการทางด้านซ้ายมือ (อันบนสุดครับ)

2.ไปที่ tab partition ซึ่งพอถึงตอนนี้แล้ว ที่คุณจะเห็นในกล่องสีเหลี่ยมกลางจอ (ใต้หัวข้อ Volume Scheme) คือ HD ของคุณครับ โดยมีพื้นที่สีฟ้า แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ ๆ มีการใช้งานไปแล้วอยู่ด้วย

3.เลือกเครื่องหมาย + เป็นการเพิ่ม partition ใหม่ให้กับ HD ของเรา -- ถึงตอนนี้คุณจะเห็นว่า HD ของคุณถูกแบ่งออกเป็นสองก้อนแล้ว ~

4.เลือกไปที่พื้นที่ใหม่ที่ถูกแบ่งขึ้นมาครับ

5.หลังเลือก HD พื้นที่ใหม่ที่เราแบ่งไว้แล้ว ใส่รายละเอียดตามนี้

  • Name : ตั้งชื่อครับ ตามที่อยากได้ (ในรูปผมตั้งให้เป็น Leopard เพราะของเดิมผมเป็น Tiger แล้วต้องการจะแบ่ง partition เพื่อลง Leopard ใหม่ครับ)
  • Format : โดยปรกติจะเป็น Mac OS Extended -- ให้ตั้งไว้แบบนี้ ไม่ต้องไปเปลี่ยน
  • Size : คือพื้นที่ partition ที่เราต้องการ --ถ้าใครเล็งในขั้นตอนที่ 3 ไม่แม่น หรือว่าดูแล้วพื้นที่ขาด ๆ เกิน ๆ ก็ให้มากำหนดตรงนี้ได้ครับ ใส่ตัวเลขแบบลงตัวพอดีไปก็ได้ =)
  • note : ถ้าไม่แน่ใจตรงนี้ คุณสามารถดูลักษณะการใส่รายละเอียดของ partition ได้จาก การแบ่ง partition บน external HD ครับ

6.เมื่อทำตามขึ้นตอนทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ให้เลือก Apply เพื่อยืนยันการ partition ครับ

note : ระหว่างการแบ่ง partition นี้อาจจะมี error ขึ้นมาได้ครับ ส่วนใหญ่จะขึ้น error ว่า no space left on device / some files can not be moved ซึ่งมีสาเหตุเป็นได้จาก

  1. มีข้อมูลหรือไฟล์ขนาดใหญ่มาก ๆ อยู่ในเครื่อง (1GB ขึ้นไป หรือกว่านั้นครับ... พวก library นี่ก็อาจจะเป็นส่วนนึงในนั้น แต่ถ้าคุณ partition บนเครื่องใหม่ ก็ไม่ต้องกังวลตรงนี้ครับ เพราะเครื่องใหม่ library น่าจะยังไม่ใหญ่นัก)
  2. มี partition ของ BootCamp ลง windows หรือว่าพวก Parallel, VM ware เอาไว้แล้วอยู่ในเครื่อง -- อันนี้สำคัญ เพราะถ้ามีตรงนี้ จะ partition ใหม่ไม่ผ่านครับ

ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราก็จะได้ partition ใหม่มาไว้ในเครื่อง พร้อมใช้งานต่อได้เลย ~

009-1_3.jpg

จากขึ้นตอนนี้ผมลง อีก OS นึงไว้ในเครื่องครับ หลังจากนั้นแล้วลองกลับเข้ามาดู จะเห็นตามภาพด้านล่างนี้

R0011212_3.jpg

จากรูปผมลง Leopard ไปในอีก partition นึงแล้ว พร้อมกับมีการใช้งานไปแล้ว2-3 วันผลก็คือ เราจะเห็นพื้นที่สีฟ้าบอกให้เราทราบว่า partition นี้มีการใช้งานไปบ้างแล้ว

หมดแต่เพียงเท่านี้ครับ
note : ขออภัยที่ภาพไม่ชัด เพราะ capture หน้าจอตามปรกติไม่ได้ ต้องอาศัยถ่ายภาพเอาทีละตอน - -’