Finder

Finder

finder-icon_0.jpg

เป็นโปรแกรมสำหรับบริหารจัดการไฟล์ และทำทุกสิ่งทุกอย่างบนเครื่องของเราผ่านรูปแบบของหน้าต่าง (แบบเดียวกับ window explorer บน pc) เป็นส่วนหนึ่งของระบบที่จะทำงานตลอดเวลา

Picture6_2.jpg

มีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้

Picture6-1_0.jpg

  1. มี menu bar อยู่ด้านบนจอ
  2. Dock อยู่ด้านล่าง
  3. Desktop อยู่ตรงกลางระหว่าง menu bar กับ Dock (ดู Basic : Desktop พื้นที่การทำงานของเรา ประกอบ)
  4. Finder window : หน้าต่างใหม่ที่เราเปิดขึ้นมา

Picture5_5.jpg

อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ Finder ได้ที่
http://support.apple.com/kb/HT2470?viewlocale=en_US

Finder Toolbar

มีอะไรใน Toolbar

Toolbar : แถบที่อยู่ของเครื่องมือในโปรแกรม + ปรับรูปแบบการแสดงผล

Picture1-2_2.jpg

1.ปุ่ม ปิด / ย่อ / ขยาย หน้าต่าง Finder :

Picture1-button_0.png

  • สีแดง : ปิด
  • สีเหลือง : ย่อ หรือว่าพับเก็บหน้าต่างนี้ไปอยู่บน Dock (ให้ผลเหมือนกับการ ดับเบิลคลิ๊กที่ toolbar กับทุกโปรแกรม)
  • สีเขียว : ขยายหน้าต่าง (แต่ละโปรแกรมอาจจะมีการขยายหน้าต่างตรงนี้ให้เป็นขนาดที่ไม่เท่ากัน)

2.ปุ่ม back-forward : ทำงานเหมือนใน browser เราที่ถ้าเกิดเราต้องการจะย้อนกลับไปดูหน้าต่างอันที่แล้ว หรืออันถัดไป เราสามารถใช้ตรงนี้ช่วยได้

Picture1-back_0.png

3.ปุ่มปรับรูปแบบการแสดงผล :

Picture1-view_0.png

  • แบบไอคอน : แสดง file / folder เป็นรูปไอคอน ซึ่งเราปรับเปลี่ยนขนาดเล็ก-ใหญ่ได้ (โดยการคลิ๊กขวาตรงที่ว่างในหน้าต่าง finder แล้วเลือก view option)         (กด Command+1)
  • Picture1_0.jpeg
  • note : สามารถเลือกให้แสดงขอมูลขนาดไฟล์ภาพได้ว่ากว้าง x ยาวเท่าไหร่ได้ด้วย
  • Picture8_2.jpg
  • แบบลิสรายชื่อ : แสดงลิสรายชื่อไฟล์เรียงกันภายในแฟ้มเดียว ไม่แสดงความต่อเนื่องจากแฟ้มอื่น ๆ รายละเอียดของแต่ละไฟล์ได้ค่อนข้างครบถ้วน (กด Command+2)
  • Picture2_0.jpeg
  • แบบคอลัม (ลิสรายชื่อแบบต่อเนื่อง) : แสดงไฟล์เป็นชั้น ๆ ไม่แสดงรายละเอียดในภาพรวม แต่จะขึ้น preview ใหกับไฟล์สุดท้ายที่เราเลือกอยู่เท่านั้น เพราะสำหรับเอาไว้จัดการไฟล์แบบเห็นภาพรวม (Command+3)
  • Picture3_2.jpeg
  • แบบ cover flow : เหมือนใน iTunes แสดงรูปของ file เลื่อนไปมาได้ เหมาะสำหรับค้นหาไฟล์ด้วยการใช้สายตามองที่รูปแบบของไฟล์มากกว่าดูรายละเอียด (เช่นขนาด, ชนิด ... อื่นๆ ) (Command+4)
  • Picture4_0.jpeg

4.ปุ่ม Quicklook : เป็นการเปิดดูไฟล์ต่าง ๆ ขึ้นมาผ่าน Quicklook (หรือกด Space bar) โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิด application ของไฟล์นั้น ๆ ขึ้นมา สะดวกในการเอาไว้ดูไฟล์ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งโดยปรกติแล้วจะเปิดไฟล์ได้แทบทุกอย่างที่ OS X รู้จัก แต่ก็จะมีคนที่เขียน plug in สำหรับ quicklook เอาไว้ให้โหลดติดตั้งเพิ่มเติม สำหรับเพิ่มความสามารถให้ Quicklook เปิดไฟล์ต่าง ๆ ได้มากขึ้น

เข้าไปดูได้จาก http://www.quicklookplugins.com/ (ผมยังไม่เคยลองนะครับ.. ไม่รับประกันใด ๆ เน้อ แบร่..)

Picture1-qlook_0.png

5.ปุ่ม action : เอาไว้สำหรับให้เราสั่ง finder ให้ทำตามคำสั่งเรา เช่น สร้าง folder ใหม่ .. (เราจะเห็นปุ่มเฟืองนี้ในอีกหลาย ๆ application ครับ ประมาณเดียวกัน คือสั่งให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง)

Picture1-action_0.png

กดเข้าไปแล้วจะเจอเมนูแบบนี้ (คำสั่งคล้าย ๆ กับการกดคลิ๊กขวา)

Picture1-action-menu_0.jpg
อธิบาย

  • New Folder : การสร้างแฟ้มเปล่าขึ้นมาใหม่
  • New Burn Folder : สร้างBurn Folder ขึ้นมาใหม่ (สำหรับเตรียมเอาไว้เขียนลงแผ่น)
  • Open : เปิดไฟล์ที่เลือกอยู่ บนโปรแกรมที่เครื่องเลือกให้เรา
  • Open With : เปิดไฟล์ที่เลือกอยู่ บนโปรแกรมที่เราเลือก
  • Move to Trash : ส่งไฟล์ที่เลือกอยู่ไปที่ถังขยะ
  • Get Info : ดูรายละเอียดของไฟล์ (ดู Basic : Get Info)
  • Compress “ไฟล์/แฟ้มที่เลือกอยู่” : สร้าง Zip ไฟล์ให้กับไฟล์ที่เลือกอยู่ เพื่อ
    • ไฟล์ที่ถูกบีบอัดให้ขนาดเล็กลง
    • รวมหลาย ๆ ไฟล์เป็นไฟล์เดียวเพื่อง่ายต่อการจัดเก็บ หรือว่าเคลื่อนย้ายไปที่อื่น
  • Duplicate : สร้างสำเนาขึ้นมาจากไฟล์ต้นฉบับที่เราเลือกอยู่
  • Make Alias : สร้างทางลัด (Alias หรือว่า Shortcut) ไปที่ไฟล์ / แฟ้มที่เราเลือกอยู่
  • Quick Look “ไฟล์ที่เราเลือกอยู่” : เปิดดูไฟล์ที่เราเลือกจาก Quick Look ( tip : เรากดใช้ Quick Look ได้โดยตรงเลยจากการเลือกไฟล์ แล้วกด Space bar ครับ)
  • Copy “แฟ้ม/ไฟล์ที่เราเลือกอยู่” : เป็นการ Copy ไฟล์ไปไว้บน Clipboard เตรียมนำไป Paste ลงที่อื่น
  • Label : เพิ่มสีให้กับไฟล์ / แฟ้มของเรา เพื่อช่วยให้แตกต่างจากอันอื่น เอาไว้สำหรับเน้นไฟล์ / แฟ้มสำคัญ ให้สะดวกต่อการค้นหา หรือว่าเข้าถึงในภายหลัง

6.ช่องค้นหา : ค้นหาไฟล์ในเครื่อง เป็นแบบเดียวกับ spotlight ครับ

Picture1-search_0.png

7.ปุ่ม Hide toolbar : เอาไว้ซ่อน Side bar + Toolbar ครับ กดแล้วหน้าต่าง Finder ของเราจะเหลือโล้น ๆ แบบนี้
Picture7_2.jpg

8.ชื่อแฟ้ม : แสดงชื่อแฟ้มปัจจุบันที่เราเปิดอยู่ โดยเราสามารถคลิ๊กขวาแล้วเลือกไปที่แฟ้มที่อยู่ถัดไป (ทั้งก่อนหน้า และระดับที่ลึกลงไปได้) แบบนี้

Picture10-1_1.jpg

หรือจะใช้ตอนที่เราปิด Sidebar กับ Toolbar ไว้ก็ได้ครับ แบบนี้

Picture9-1_4.jpg

Side Bar : แสดงรายการของที่อยู่ของไฟล์ + แสดง HD Volume จากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่(ทั้งโดยตรง หรือภายใน network ถ้าเครื่องนั้นเปิดให้สามารถเข้าถึงได้) รวมถึง smart folder ต่าง ๆ ด้วย

Status bar : บอกสรุปให้เราทราบว่า folder ที่เราดูอยู่นั้นมีกี่ไฟล์ และมีพื้นที่เหลือบน HD เท่าไหร่

http: //support.apple.com/kb/HT2470?viewlocale=en_US

Finder Side Bar + Status bar

มีอะไรใน Side bar + Status bar

Side Bar : แสดงรายการของที่อยู่ของไฟล์ + แสดง HD Volume จากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่(ทั้งโดยตรง หรือภายใน network ถ้าเครื่องนั้นเปิดให้สามารถเข้าถึงได้) รวมถึง smart folder ต่าง ๆ ด้วย

sidebar-1.jpg

อธิบาย
Devices : เป็นส่วนของ Hard disk หรือว่า Volume อื่น ๆ ที่มีอยู่ในเครื่อง หรือเชื่อมต่อกับเครื่องของเราอยู่ในขณะนี้ (Volume : partition หรือว่า section บน Hard disk)

Places : สำหรับการเข้าถึงส่วนต่าง ๆ บนเครื่องของเรา

  • Desktop : Desktop ของเรา
  • Home : จากภาพเป็นชื่อผมเอง ยิ้มปากกว้าง นี่คือที่เราเรียกว่า Home folder นะครับ (ถึงแม้จะไม่ใช้ชื่อว่า Home ตรง ๆ ก็เถอะนะ - -a )ปรกติจะเป็นชื่อของเราครับ ซึ่งเราจะตั้งเองได้ตอนที่ Install OS X - ไม่ควรเปลี่ยนชื่อนี้เองทีหลังนะครับ เพราะจะทำให้ system หรือว่าระบบหลังบ้านของเรารวนได้ ดูรายละเอียดได้ในหัวข้อถัดไปครับ
  • Applications : เป็นแฟ้มเอาไว้เก็บ applications หรือว่าโปรแกรมที่เรามีอยู่ในเครื่องทั้งหมด (เวลา install โปรแกรมเค้าจะบังคับให้เอามาลงในนี้ครับ)
  • Documents : ที่เก็บไฟล์ของเราที่เราสร้างขึ้นภายหลัง (แบบเดียวกับ My Documents บน window pc ครับ)

Search For : เป็นที่รวม Smart Folder เอาไว้สำหรับค้นหาไฟล์ตามเงื่อนไขที่เรากำหนด

  • Today : หาไฟล์สำหรับวันนี้เท่านั้น
  • Yesterday : หาไฟล์ที่จัดการไปเมื่อวาน
  • Past Week : หาไฟล์จากรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
  • All Images : ไฟล์ภาพทั้งหมดที่เก็บเอาไว้ในที่ต่าง ๆ ของเครื่องเรา
  • All Movie : ไฟล์หนังทั้งหมดที่เก็บเอาไว้ในที่ต่าง ๆ ของเครื่องเรา
  • All Documents : ไฟล์งานทัั้งหมด (ทั้งภาพ หนัง หรืออื่น ๆ ) โดยจะมีช่อง Search ให้เรา “ค้นหา” จาก “ผลการค้นหาที่ได้” อีกทีครับ - -a

tip : เราสามารถที่จะปิด เปิด เพื่อเลือกการแสดงผลเป็นส่วน ๆ ได้ครับ ช่วยให้ดูไม่รก และสบายตามากขึ้น โดยการกดที่ลูกศรเล็ก ๆ ด้านหน้าหัวข้อครับ

Picture1-1hide.jpg

รายละเอียดของ Home Folder

Picture1-user.jpg

Home Folder (หรือว่า icon รูปบ้านที่มีชื่อของเราตั้งเอาไว้) เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของเราครับ ยิ้มปากกว้าง คือมีทุกสิ่งทุกอย่างภายใต้ Account นั้น ๆ บนเครื่อง แต่ละ User account จะมีชื่อ Home Folder ตามชื่อที่เราตั้งเอาไว้ให้แต่ละ Account ครับ ประมาณเดียวกันกับของเรา ซึ่ง แต่ละคนมีข้อมูลภายในไม่เหมือนกัน

มีรายละเอียดดังนี้

  • Desktop : เป็นทางเข้า Desktop เราอีกทางหนึ่งครับ
  • Documents : ไปที่ Documents ของเรา
  • Downloads : ไปที่ Downloads Stack ของเรา (ปรกติไฟล์ทุกอย่างที่เราโหลดมาจะมาลงในนี้ ถ้าเราไม่ได้ตั้งให้ไปลงที่อื่นนะครับ)
  • Library : ไฟล์ที่จะถูกใช้โดย OS ของเราครับ รวมไปถึงพวกฟ้อนท์ที่เราลงเองทีหลัง กับการตั้งค่า preferences ต่าง ๆ ที่เป็นของเราเองด้วย
  • Movie : หนังของเรา (เป็นที่เซฟงานจาก iMovie ของเราด้วยครับ)
  • Pictures : เป็นที่เก็บไฟล์รูปของเรา ทั้งจาก iPhoto และ Aperture
  • Music : เป็นที่เก็บเพลงจาก GarageBand และ iTunes
  • Public : แฟ้มตรงนี้สามารถเข้าถึงจากบุคคลอื่นได้ภายใน network เอาไว้สำหรับแชร์ข้อมูลกันครับ
  • Sites : สำหรับเอาไว้ใส่เวปส่วนตัว

Status bar

status-bar-1.jpg

บอกสรุปให้เราทราบว่า folder ที่เราดูอยู่นั้นมีกี่ไฟล์ และมีพื้นที่เหลือบน HD เท่าไหร่
และในบางกรณีจะบอกด้วยว่าเราใช้ view แบบไหนอยู่ และ สามารถแก้ไขไฟล์ในแฟ้มที่ดูอยู่ได้หรือไม่

status-bar-iconview.png แสดงว่าเราดูแบบ icon view อยู่
status-bar-notallow.png ไม่อนุญาตให้ทำการแก้ไขข้อมูลบนแฟ้มที่เปิดอยู่นี้

เรายังลากเปลี่ยนขนาดของหน้าต่าง Finder ได้จากการคลิ๊กที่มุมขวาล่างของหน้าต่างค้างเอาไว้แล้วลากได้ด้วย

status-bar-1-2.jpg

Get Info

Get Info : ดูรายละเอียดไฟล์

Get Info : เป็นการแสดงรายละเอียดของไฟล(แบบละเอียดยิบ ๆ จริง ๆ) โดยเราสามารถเลือกดูรายละเอียดของไฟล์/แฟ้ม ต่าง ๆ ได้จากการคลิ๊กขวา แล้วเลือก Get Info หรือ กด Command+i

Picture1_7.jpg
อธิบาย

ส่วน icon และ Spotlight Comment :

ตรงนี้นอกจากจะแสดง icon โปรแกรม พร้อมขนาดให้เราดูคร่าว ๆ ยังสามารถใส่ Comment สำหรับ Spotlight ไว้ค้นหาได้อีกด้วย

Picture3_14.jpg

จากภาพผมลองดูว่า ถ้าใส่ comment เป็นภาษาไทยไปแล้ว Spotlight จะหาไฟล์นี้เจอหรือไม่

Picture4_5.png
และนี่คือผลที่ได้ครับ หาเจอจริง ๆ ด้วย ยิ้ม

General :

ข้อมูลทั่วไปของไฟล์

Picture1-gen_0.png

  • Kind : ชนิดของไฟล์ เช่น JPEG, PNG .. เป็นต้น
  • Size : ขนาดของไฟล์
  • Where : ตอนนี้ไฟล์นี้อยู่ที่ไหน (Path)
  • Created : ถูกสร้างขึ้นเมื่อไหร่
  • Modified : มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
  • Label : ใส่สีให้กับชื่อของ ไฟล์ / แฟ้ม เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา

มีตัวเลือกเพิ่มเติมอีก 2 หัวข้อดังนี้

  • Stationery Pad : เลือกตัวนี้เพื่อเป็นไฟล์ต้นฉบับ ซึ่งจะสร้างสำเนาขึ้นมาใหม่ทุกครั้งที่เราเปิดไฟล์ขึ้นมา - เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการให้มาแก้ไขไฟล์นี้อีก หรือถ้าจะแก้ ก็ให้ไปแก้ในไฟล์สำเนาที่ถูกสร้างขึ้นมาแทน (มีอธิบายเพิ่มเติมหลังจากหัวข้อ เกี่ยวกับ Locked ไฟล์)
  • Locked : เป็นการป้องกันการเปลี่ยนแปลงไฟล์ในอนาคต โดยจะขึ้นกล่องข้อความมาเตือนทุกครั้งถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกับไฟล์ (อธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อถัดไป)

ดู Lock & Stationery Pad ประกอบ

หัวข้อ More Info :

รายละเอียดเพิ่มเติมของไฟล์ที่เราเลือก จะเปลี่ยนไปตามประเภทของไฟล์ ซึ่งแต่ละชนิดของไฟล์จะมีหัวข้อรายละเอียดในส่วนของ More info นี้ไม่เหมือนกัน

more info : ไฟล์ภาพ

Picture1-more-info_0.jpg
more info : ไฟล์ pdf

more-info-pdf_0.jpg
more info : ไฟล์ Pages

more-info-pages_0.jpg
- -’ ไม่ทราบเหมือนกันครับว่าทำไมมีมาสองบรรทัด

หัวข้อ Name & Extension

Picture2-name_0.jpg
เป็นที่เอาไว้ดูชื่อเต็มของไฟล์ + นามสกุล
Hide extension : เราสามารถเลือกที่จะไม่แสดงนามสกุลไฟล์ได้จากตรงนี้

หัวข้อ Open with :

Picture2-open-w_0.jpg

เลือกว่าจะเปิดไฟล์นี้กับโปรแกรมอะไร เป็นค่ามาตรฐาน มีผลกับไฟล์แบบเดียวกันที่เหลือด้วย เช่นถ้าเราเปลี่ยนให้เปิดไฟล์ภาพจาก QuickTime ไฟล์ภาพที่เหลืออื่น ๆ ในเครื่องเราจะถูกเลือกให้เปิดผ่าน QuickTime ด้วยเหมือนกัน

หัวข้อ Preview :

Picture2-preview_0.jpg
เป็นการดูภาพตัวอย่างของไฟล์คร่าว ๆ

note : จะเปิดหรือปิดตรงนี้ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วผมดูเอาจากใน Quick Look หรือไม่ก็บน Finder แบบ Column view อยู่แล้ว

หัวข้อ Sharing & Permission :

Picture2-permission_0.jpg
เป็นการกำหนด Permission ว่าไฟล์นี้ถูกเข้าถึงได้ โดยใคร และทำอะไรได้บ้าง
(จากภาพตัวอย่าง จะเห็นว่า ตัวผมเองมีสิทธิแก้ไขไฟล์นี้แต่เพียงผู้เดียว โดยที่คนอื่นนั้นดูได้ แต่แก้ไขไม่ได้ครับ)

View Options

View Options : เป็นคำสั่งสำหรับปรับรูปแบบการแสดงผลของไฟล์ต่าง ๆ บน Finder เพื่อให้ค้นหา / จัดการกับไฟล์ได้สะดวกขึ้น

เราสามารถเข้าสู่ View Option ได้จากการคลิ๊กขวาบนที่ว่างในหน้าต่าง finder ที่เราต้องการจะปรับ หรือว่ากด Command+J

Picture2-1_7.jpg

โดยปรกติแต่ละ View จะมี View Options ไม่เหมือนกันดังนี้

View Options บน Icon View

view-1.jpg
มีตัวเลือกดังนี้

  • Always open in Icon view : เลือกเพื่อที่หน้าต่างใหม่ต่อจากนี้จะถูกเปิดในแบบ Icon view
  • Icon size : ปรับขนาดของ icon
  • Grid spacing : ปรับช่องไฟระหว่างตัว icon
  • Text size : ปรับขนาดตัวอักษรของชื่อไฟล์
  • Label option : เลือกว่าจะให้ชื่อไฟล์อยู่ตรงไหน ระหว่าง อยู่ด้านขวา หรือใต้ icon
  • Show item info : แสดงรายละเอียดของไฟล์ ถ้าเป็นไฟล์รูปก็จะบอกขนาด กว้าง x ยาว (ส่วนไฟล์อื่น ๆ แสดงบ้างไม่แสดงบ้าง - -’)
  • Show Icon preview : แสดงรูปเป็น thumbnail เล็ก ๆ แทน icon มาตรฐาน
  • Arrange By : รูปแบบการเรียง icon (ดู Basic : การจัด Icon บน Desktop ประกอบ)
  • Background : พื้นหลังของหน้าต่าง finder มีให้เลือก 3 ตัวคือ
    • White : สีขาว
    • Color : เลือกสีอื่น ๆ
    • Picture : ใส่รูปแทนสีพื้น
  • Use as Defaults : เลือกเพื่อที่จะเอาค่าที่เราตั้งนี้ไปใช้เป็นค่าเริ่มต้นกับหน้าต่างใหม่ที่จะถูกเปิดขึ้นมาต่อไป

View Options บน List View

view-2.jpg

  • Always open in list view : เลือกเพื่อที่หน้าต่างใหม่ต่อจากนี้จะถูกเปิดในแบบ list view
  • Icon size : ปรับขนาด Icon (เล็ก - ใหญ่)
  • Text size : ปรับขนาดตัวอักษรที่แสดงบน list
  • Show column : แสดงรายหัวข้อคอลัมน์ในเรื่องต่าง ๆ มีดังนี้
    • Date Modified : วันที่แก้ไขครั้งล่าสุด
    • Date Created : วันที่สร้างไฟล์นี้ขึ้น
    • Size : ขนาดไฟล์
    • Kind : ประเทภของไฟล์ เช่น JPG, Doc... เป็นต้น
    • Version : เอาไว้แสดงเวอร์ชั่นของ application ครับ หลัก ๆ จะใช้ดูในแฟ้ม application
    • Comments : เอาไว้แสดง Comment ที่เราใส่เข้าไปในไฟล์ในส่วนของ Spotlight comment ใน Get Info
    • Use relative dates : ถ้าเลือกไว้ จะใช้คำว่า Today แทนวันที่ล่าสุด

relative-date.jpg

    • Calculate all size : คำนวณขนาดไฟล์สำหรับ folder ต่าง ๆ ด้วย ซึ่งปรกติถ้าไม่เลือกตรงนี้ เค้าจะไม่คำนวณขนาดไฟล์สำหรับ folder ต่าง ๆ ให้ (ถ้าในแฟ้มมีไฟล์ใหญ่มาก ก็จะคำนวณนานขึ้นไปอีก )

calculate-size.jpg

    • Show Icon preview : แสดงรูปเป็น thumbnail เล็ก ๆ แทน icon มาตรฐาน
  • Use as Defaults : เลือกเพื่อที่จะเอาค่าที่เราตั้งนี้ไปใช้เป็นค่าเริ่มต้นกับหน้าต่างใหม่ที่จะถูกเปิดขึ้นมาต่อไป

View Option บน Column View

view-3.jpg

  • Always open in list view : เลือกเพื่อที่หน้าต่างใหม่ต่อจากนี้จะถูกเปิดในแบบ list view
  • Text size : ปรับขนาดตัวอักษร
  • Show Icons : เลือกว่าจะแสดง Icon หน้าชื่อหรือไม่
  • Show Icon preview : แสดงรูปเป็น thumbnail เล็ก ๆ แทน icon มาตรฐาน
  • Show preview column : แสดงช่องสำหรับ preview ไฟล์ใน column สุดท้าย เอาไว้บอกรายละเอียดของไฟล์ที่เราเลือกคร่าว ๆ พร้อมทั้งแสดงรูป ใน preview ให้ดูด้วย

View Option บน Cover Flow view

view-4.jpg

  • เหมือนใน List View

Locked & Stationery Pad

Locked & Stationery Pad

ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายพร้อมวิธีการใช้งาน Locked กับ Stationery Pad จากใน Get Info ครับ

  • Stationery Pad : เลือกตัวนี้เพื่อเป็นไฟล์ต้นฉบับ ซึ่งจะสร้างสำเนาขึ้นมาใหม่ทุกครั้งที่เราเปิดไฟล์ขึ้นมา - เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการให้มาแก้ไขไฟล์นี้อีก หรือถ้าจะแก้ ก็ให้ไปแก้ในไฟล์สำเนาที่ถูกสร้างขึ้นมาแทน (มีอธิบายเพิ่มเติมหลังจากหัวข้อ เกี่ยวกับ Locked ไฟล์)
  • Locked : เป็นการป้องกันการเปลี่ยนแปลงไฟล์ในอนาคต โดยจะขึ้นกล่องข้อความมาเตือนทุกครั้งถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกับไฟล์ (อธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อถัดไป)

เกี่ยวกับ Locked ไฟล์

Picture1-lock.jpg

ถ้าเราเลือก Locked ไฟล์ จะมีสัญลักษณ์รูปกุญแจเล็ก ๆ โผล่มาตรงด้านล่างซ้ายมือของ icon

Picture1-file-lock.png

ถึงเราล๊อกไฟล์เอาไว้ เพราะไม่อยากให้ถูกลบ หรือมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขภายหลังอีก แต่จริง ๆ แล้วเราสามารถทำได้ โดยจะมีกล่องข้อความมาถามยืนยันกับเราก่อน ว่าต้องการเปลี่ยนแปลงไฟล์นี้จริง ๆ ใช่หรือไม่

เช่น ถ้าผมต้องการจะเปลี่ยนขนาดไฟล์ที่ถูกล๊อกเอาไว้แล้วเซฟทับไฟล์เดิม จะมีกล่องข้อความมาถามยืนยันผมมาแบบนี้

Picture1-warning-msg.png
ถ้าเราจะแก้ไขจริง ๆ ให้เลือก Overwrite

หรือถ้าเราจะเอาไฟล์ที่ถูกล๊อกเอาไว้ลงถัง จะถูกเตือนแบบนี้

Picture1-move-locked-2-trash.png
กรณีเดียวกับการ empty trash ถ้าใน trash มีไฟล์ที่ถูกล๊อคอยู่ จะมีกล่องข้อความขึ้นมาเตือนเรา ว่ามีไฟล์ที่ถูกล๊อกอยู่ในถังขยะนะ ยังจะต้องการ Empty trash ต่อไปจริง ๆ หรือเปล่า?

Picture1-warning-msg-2.png
ซึ่งคำเตือนทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมา ถ้าเราต้องการแก้ไขไฟล์จริง ๆ ก็สามารถทำได้ โดยการเลือก Continue

การใช้ Stationary Pad

ตัวอย่าง

stapad-1.jpg

  1. เข้า Get Info แล้วไปเลือก Stationery Pad
  2. กดดับเบิลคลิ๊กเพื่อทำการเปิดไฟล์ของเราขึ้นมา

stapad-2.jpg

ที่ผมจะได้คือ ไฟล์ที่ผมเลือกเอาไว้ตอนต้น จะถูกสร้างสำเนาขึ้นมาใหม่ พร้อมกับเปิดขึ้นมาใหม่เอง บนโปรแกรมที่เหมาะสมครับ .. ถ้าเรากดดับเบิลคลิ๊กไปเรื่อย ๆ เราก็จะได้สำเนาไฟล์สร้างขึ้นมาใหม่เรื่อย ๆ ครับ =)

สรุป

จากตัวอย่างที่ผมยกมา ถ้าเราไม่อยากให้ไฟล์ต้นฉบับมีการแก้ไขใด ๆ อีก ควรจะเลือก Stationery Pad ไว้ด้วยจะดีที่สุดครับ เพราะจะมีการสร้างสำเนาให้กับไฟล์ต้นฉบับอัตโนมัติทุก ๆ ครั้งที่ถูกเปิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งน่าจะใช้ได้ดีกับการทำงานกับคนเยอะ ๆ ที่บางครั้งเค้าก็เลือกที่จะไม่อ่านคำเตือนที่โผล่ขึ้นมาบนเครื่อง ถ้าเราเลือกแค่ Locked ไฟล์เอาไว้เพียงอย่างเดียว และเจ้า Stationery Pad นี้ยังมีข้อดีที่ดีกว่ามาทำการ save as ภายหลังนะครับ เพราะอาจจะลืมได้ เป็นการป้องกันการแก้ไขได้ดีในระดับนึง ยิ้ม

Sharing & Permission

การกำหนดสิทธิผู้ใช้งานให้กับไฟล์ต่าง ๆ

Permission คือการกำหนดสิทธิ์ในการจัดการกับไฟล์ / แฟ้ม ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่เราต้องการ โดยทั่วไปแล้ว เราผู้ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องที่เป็น account แบบ admin จะมีสิทธิ์ใช้งานแก้ไขไฟล์ต่าง ๆ ได้หมดทุกอย่างอยู่แล้ว

แต่ในบางกรณีเราอาจจะต้องการเปลี่ยน permission ใหม่เพื่อ

  • ทำงานร่วมกับ user account อื่น ๆ และต้องการกำหนดสิทธิ์เฉพาะให้แต่ละ account นั้น เช่นไม่ให้ผู้อื่นสามารถแก้ไขไฟล์ / แฟ้มนั้น ๆ ได้ โดยอ่านได้เพียงอย่างเดียว
  • ถ้าเกิดค่า permission ผิดปรกติ หรือไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น ทำให้เราไม่สามารถแก้ไขไฟล์ต่าง ๆ ได้ เราต้องทำการตั้งค่า permission ใหม่ให้กับตัวเราเอง

ดู System Preferences : การสร้าง user account ประกอบ

ตัวอย่างในการสร้างผู้ใช้และกำหนดสิทธิ์ขึ้นมาใหม่
ส่วนใครที่มีผู้ใช้อยู่แล้ว อยากแค่ต้องการทราบวิธีกำหนด permission ก็ดูวิธีปลดล๊อกเพื่อทำการแก้ไขในขั้นตอนแรก แล้วข้ามไปดูขั้นตอนสุดท้ายได้เลยครับ

คลิ๊กขวาที่ไฟล์ / แฟ้ม ที่ต้องการกำหนด permission ใหม่ เลือก Get Info

Picture1_10.jpg

ในหน้าต่าง Get Info เลื่อนลงมาดูด้านล่างสุดในหัวข้อ Sharing & Permissions
ถ้าเครื่องหมายกุญแจล๊อกอยู่ให้ทำการปลดล๊อก โดยคลิ๊กเข้าไปที่รูปกุญแจ แล้วเราจะเจอหน้าต่างถาม log in กับ password เพื่อยืนยันว่าเราเป็น admin

Picture2-1_6.jpg
ให้กรอก user name กับ password ของเราเข้าไปครับ จากนั้นกด OK

เลือก “+” เพื่อสร้าง account ผู้ใช้ขึ้นมาใหม่

Picture3_17.jpg

เลือกเพิ่มรายชื่อจากฐานข้อมูลใน Address Book
Picture4-2_0.jpg

  1. เลือกจากกลุ่มผู้ใช้จากรายการ จะเป็นจาก user account ในเครื่องเรา หรือจาก Address Book ก็ได้
  2. จากนั้นเลือกเพิ่มรายชื่อ (เลือกได้มากกว่า 1 ชื่อ)
  3. กด Select เพื่อยืนยัน

ถ้าเราต้องการสร้าง User account ขึ้นมาใหม่เลย ให้เลือก New Person (ในตัวอย่างนี้ ผมเลือกสร้าง New Person ขึ้นมาใหม่ครับ)

หน้าต่างยืนยันสร้าง user account ใหม่
Picture4-1_3.jpg
ให้กรอกชื่อ กับ password เข้าไปเพื่อสร้าง account ใหม่

เลือก account ใหม่ที่เพิ่มเข้ามา
Picture5_8.jpg
เข้าไปดูที่ System Preferences จะพบว่ามี User account ใหม่ที่เราเพิ่งสร้างอยู่ในรายการแล้วด้วย

Picture7_5.jpg

เลือกเปลี่ยนสิทธิ์การใช้งานไฟล์จากใน Get Info : Sharing & Permission

Picture9_1.jpg

เลือกผู้ใช้ที่เราต้องการกำหนดสิทธิ์ (Privilege)โดยปรกติจะมีให้เลือก 2 ตัวคือ

  • Read only : อ่านได้อย่างเดียว แก้ไขไฟล์ไม่ได้
  • Read & Write : อ่านและแก้ไขไฟล์ได้

วิธีแก้ไขก็ให้คลิ๊กไปที่รายการที่ต้องการจะเปลี่ยนได้เลย (ถ้ากุญแจล๊อกอยู่ อย่าลืมปลดล๊อกออกก่อนถึงจะแก้ตรงนี้ได้)

Picture10_2.jpg

ถ้าต้องการเปลี่ยน permission ให้กลับเป็นเหมือนเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลง ให้เราเลือกที่ปุ่ม action (รูปเฟืองที่อยู่ด้านล่าง)แลืวเลือก Revert changes

Picture13_1.jpg

หลังจากเลือกเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมทำการล๊อกกุญแจโดยการคลิ๊กไปที่เครื่องหมายแม่กุญแจอีกครั้ง เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงจากบุคคลอื่น

note : ถ้าไม่ต้องการเพิ่มสิทธิ์ให้กับ user ที่เลือกไว้อีกต่อไปแล้ว ให้เลือกเครื่องหมาย “-” เพื่อลบ user นั้นออกจาก permission list ของไฟล์ .. ซึ่งจะไม่ใช่การลบ user ออกจากเครื่อง

ถ้าต้องการลบ user นั้น ๆ ออกจากเครื่องไปเลย ให้เข้าไปจัดการลบออกจาก System Preferences / Accounts ครับ

Finder-Tips & Tricks

Tips & Tricks ในการใช้งาน Finder 

Arrange Icon แบบทันใจ

พอดีเมื่อหลายวันมานี้ผมเจอ Folder ที่ได้มา Icon มันทับๆกันอยู่เยอะ เกะกะไม่เป็นระเบียบ

ด้วยความที่มันแกะกะนี่แหละทำให้รำคาญตา เลยนำ Shortcut สำหรับการจัดเรียง Icon 
มาแนะนำครับ ตามนี้เลย
ลองเอามาใช้ดูนะครับ น่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ แจ่ม

Drag & Drop - การลากแล้ววาง ที่เป็นมากกว่าการลากแล้ววาง #2

Drag & Drop - ลากแล้ววาง ที่เป็นมากกว่าการลากแล้ววาง # 2

drag-drop-3_2.jpg

ให้เราลองคลิ๊ก แล้วลากไฟล์ (จะเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มก็ได้) มาค้างเอาไว้เฉย ๆ บนไอคอนของแฟ้มนะครับ (โดยที่ยังคงกดคลิ๊กเมาส์ค้างไว้บนไฟล์นั่นล่ะ) รอสัก 1-2 วินาที ตัว Finder จะเปิดหน้าต่างใหม่ของแฟ้มนั้นขึ้นมาครับ

เราสามารถนำวิธีนี้ไล่เปิด Finder ไปยังแฟ้มหรือว่าที่อยู่ใหม่ที่ต้องการได้ โดยวิธีนี้ ค่อนข้างสะดวก ถ้าเกิดเราลืมหรือว่าเผลอปิดหน้าต่าง Finder ที่เราเปิดรอเอาไว้ไปแล้ว

note : ระหว่างที่คลิ๊กรอบน ไอคอนของแฟ้ม ปรกติจะใช้เวลาประมาณ 1-2 วินาทีกว่าที่ Finder จะเปิดหน้าต่างของแฟ้มนั้นขึ้นมาใหม่ .. ถ้าเราไม่อยากรอ เราสามารถกดเปิดแฟ้มขึ้นมาตอนที่ลากไฟล์มาทับกับไอคอนแฟ้มได้เลยโดยการกด Space bar ครับ

เพิ่มเติม
Drag & Drop - ลากแล้ววางที่เป็นมากกว่าการลากแล้ววาง #1

Drag & Drop - ลากแล้ววาง ที่เป็นมากกว่าการลากแล้ววาง #1

เราใช้การลากแล้ววาง (drag & drop) ในการจัดไฟล์กันเป็นส่วนใหญ่ แต่วันนี้ผมอยากจะลองแนะนำ การใช้งาน drag & drop ในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นมากกว่าแค่การลากไฟล์ไปมา ครับ น่าจะทำให้ใช้งาน OS X สะดวกขึ้นครับ ยิ้ม

Finder : Show all hidden files

วิธีสำหรับแสดงไฟล์ที่ซ่อนอยู่ใน Finder ครับมีวิธีอยู่ 2 แบบด้วยกัน

วิธีที่1: คำสั่งผ่าน terminal.app ให้เปิด terminal.app ขึ้นมา แล้วพิมพ์(copy&paste) คำสั่งนี้ลงไป

defaults write com.apple.Finder AppleShowAllFiles YES

กด Enter จากนั้นพิมพ์

killall Finder

แล้วกด Enter เพื่อ relaunch Finder ขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราจะเห็นไฟล์ที่ซ่อนอยู่ขึ้นมาแล้ว (พวกไฟล์ที่มีจุดขึ้นต้นนำหน้าชื่อ ส่วนใหญ่จะไม่แสดงใน Finder ปรกติ เราก็จะเห็นจากตรงนี้ครับ)

ถ้าต้องการเปลี่ยนกลับ ก็ให้ทำซ้ำแบบเดิม แล้วเปลี่ยนคำว่า YES เป็น NO แทน แบบนี้ครับ

defaults write com.apple.Finder AppleShowAllFiles NO

แล้วกด Enter จากนั้นสั่ง killall Finder เพื่อ relaunch Finder อีกที เป็นอันเสร็จครับ

note : คำว่า YES/NO สามารถแทนด้วยคำว่า TRUE/FAULT โดยให้ผลคำสั่งเหมือนกันครับ

วิธีที่2 : สร้าง script ขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะให้เป็น Script Editor ขึ้นมา แล้วพิมพ์(copy&paste) คำสั่งนี้ลงไปในหน้า Script Editor ครับ

set dotVisible to do shell script "defaults read com.apple.Finder AppleShowAllFiles"if dotVisible = "0" thendo shell script "defaults write com.apple.Finder AppleShowAllFiles 1"elsedo shell script "defaults write com.apple.Finder AppleShowAllFiles 0"end iftell application "Finder" to quitdelay 1tell application "Finder" to activate
จากนั้นสั่ง run รอบนึง แล้ว save as ออกมาเป็นแบบ application โดยที่ไม่ต้องติ๊กเครื่องหมายถึงในช่องที่เค้ามีให้เลือกนะครับ ปล่อยเอาไว้เฉย ๆ แล้วก็ตั้งชื่อเก๋ ๆ

แล้วก็ลองเรียกใช้งาน script ที่เราเพิ่งเซฟออกมาดู ให้ดับเบิลคลิ๊กไปที่ script ที่เราเพิ่งสร้างมานี้ครับ ถ้าอยากเปลี่ยนกลับ ก็ให้สั่ง script ทำงานอีกที

note :

  1. script ตัวนี้ เวลาเรียกใช้งานเค้าจะ killall Finder ให้โดยอัตโนมัติ เราแค่ดับเบิลคลิ๊กไปแล้วก็รอ Finder relaunch ใหม่อีกรอบก็พอ
  2. script ตัวนี้อาจจะมีปัญหากับ os x บางเวอร์ชั่น แต่เท่าที่ผมลองใช้งานดู (บน 10.5.6) สามารถใช้งานได้ดีไม่มีปัญหาครัรบ

ที่มาของ script นี้ และคำสั่งแบบผ่าน terminal จาก Mac OS X Hints บน macworld.com

การนำ Burn icon มาไว้บน Finder Toolbar

ปรกติแล้วเราสามารถที่จะ Burn file/folder ที่เราต้องาการผ่าน Finder ได้เลย โดยไปที่ File / Burn “file/folder ที่เราต้องการ” to Disc...

ในบทความตอนนี้ มีวิธีการที่สะดวกเร็วกว่านั้นมานำเสนอครับ =)

เราสามารถนำปุ่ม Burn มาไว้บน Finder Toolbar เพื่อความสะดวกในการ Burn file/folder ผ่าน Finder ครับ

burn-icon.jpg

มีขั้นตอนดังนี้

บน Finder menu bar เลือก View/ Customize Toolbar

หรือจะคลิ๊กขวาบนที่ว่างบน Toolbar ใน Finder ก็ได้ครับ ให้ผลเหมือนกัน

Picture1_34.jpg

เราจะเข้าหน้าต่างการจัดการปรับเปลี่ยน Toolbar บน Finder ครับ

ให้เรามองหา Burn icon แล้วลากมาวางไว้บนพื้นที่ว่าง บน Toolbar ตามที่เราต้องการ

Picture2_30.jpg

Picture3_30.jpg

เมื่อเรียบร้อยแล้ว เลือก Done ที่ตรงมุมขวาล่างของหน้าต่าง Customize Toolbar ครับ

เข้าสู่หน้าต่าง Finder ปรกติ

Picture4_16.jpg

เราจะเห็นปุ่ม Burn อยู่ตามตำแหน่งที่เราวางเอาไว้เมื่อสักครู่ครับ

note : เราสามารปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้อีก โดยการทำซ้ำแบบเดิมนะครับ คือเข้า Customize Toolbar ใหม่

จากตรงนี้ เราก็เลือก file/ folder ที่ต้องการจะ Burn แล้วกดปุ่มนี้ได้เลย

ถ้าเรายังไม่ได้ใส่แผ่น CD/DVD เปล่าเข้าไปตอนที่กดปุ่ม เค้าจะแจ้งเตือนเรามาแบบนี้

error-msg.jpg

ซึ่งจะเป็นการบอกเราว่าเรายังไม่ได้ใส่แผ่นเปล่าอยู่ในเครื่อง และขนาดไฟล์คร่าว ๆ ที่จะ Burn ลงแผ่นเป็นเท่าไหร่

ความเหมือนที่แตกต่าง (จาก windows มาเป็น Mac)

เป็นเรื่องที่ชวนปวดหัวสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้งาน OS X ครับ โดยเฉพาะกับผู้ที่เพิ่งเปลี่ยนมาใช้ Mac ใหม่ ๆ เวลาเราอยู่ในหน้าต่าง Finder แล้วต้องสับสนกับรูปแบบที่เหมือนจะใช่ แต่พอกดไปแล้วมันไม่ออกมาอย่างที่เราอยากให้มันเป็น .. แป่ววว

finder-buttons.jpg

ตอนนี้ผมจะขออธิบายเจ้า 3 ปุ่มเจ้าปัญหานี้ครับ

ปุ่มซ้ายสุด สีแดงมีเครื่องหมาย x (มีชื่อเป็นทางการว่า Hide หรือว่าซ่อนหน้าต่างนั้นไป)
บน windows : ปุ่มปิดโปรแกรม
บน OS X : ปุ่มนี้เป็นการซ่อนหน้าต่างที่เปิดอยู่ ไม่ใช่การปิดโปรแกรมนะครับ คือแค่ซ่อนหน้าต่างไปก่อน แต่โปรแกรมเค้าจะยังคงทำงานอยู่ เพียงหน้าต่างจะถูกปิดซ่อนไป ถ้าจะต้องการจะปิดโปรแกรมให้กด Command+Q ครับ

ปุ่มกลาง สีเหลือง เครื่องหมาย - (เรียกเป็นทางการว่า ปุ่ม Minimize หรือว่าปุ่มย่อหน้าต่าง)
บน windows : ย่อหน้าต่างไปเก็บไว้บน Task
บน OS X : ย่อหน้าต่างไปเก็บไว้บน Dock

note : ปุ่มนี้ไม่เหมือนกับปุ่มซ่อนหน้าต่างด้านบนนะครับ คือเราย่อหน้าต่างแล้วมาเก็บไว้ใน Dock แทน แบบนี้กินทรัพยกรเครื่องมากกว่าการซ่อนหน้าต่างครับ เพราะยังเห็นหน้าต่างอยู่บน Dock ของเรา ยิ่งถ้ามีความเคลื่อนไหวหรือการทำงานอยู่ในหน้าต่างนั้น ก็จะยิ่งกินเครื่องไปอีกครับ

ปุ่มสีเขียว เรื่องหมาย + (ปุ่ม Zoom )
บน windows : จะขยายหน้าต่างที่เปิดอยู่ให้เต็มหน้าจอ desktop
บน OS X : จะขยายหน้าต่าง Finder เหมือนกัน แต่ขยายเท่าที่เนื้อหาในหน้าต่างนั้นจะมี คือถ้าใน Finder นั้นมีเนื้อหาน้อย ก็จะขยายออกมาน้อย ถ้ามีเนื้อหาเยอะ เค้าก็จะขยายออกมากว้างหน่อย .. แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คือ พอดีกับเนื้อหาทั้งหมดเท่าที่มีใน Finder หน้าต่างนั้นครับ

หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ =)

(แก้ไขชื่อปุ่มสีเขียวครับ)