การติดตั้ง OSX 10.5- Leopard ตอนที่ 1/2

admin's picture
22
posts

วิธีการติดตั้ง OS X 10.5 - Leopard

ต่อไปนี้เป็นการแสดงขัั้นตอนการลงโปรแกรม OS X เวอร์ชั่น 10.5 (Leopard)
note : เนื่องจากการ install OS X Leopard เป็นขึ้นตอนที่มีรายละเอียดมากพอสมควร ผมเลยคิดว่าจะแบ่งออกเป็น 2 ตอนจะได้ไม่ยาวเกินไป และเพื่อความรวดเร็วในการโหลดภาพ โดย link ไปยังตอนต่อไปจะอยู่ด้านล่างสุดของหน้านี้ครับ

ภาพประกอบอาจจะไม่ชัดนะครับ ขออภัย

ใส่แผ่น install dvd เข้าไปในเครื่อง

001-install-dialog-1_7.jpg
จะมีตัวเลือกดังนี้

  • Install Mac OS X.app - เป็นการติดตั้ง OS X ลงในเครื่อง
  • DVD or CD Sharing Setup.mpkg - สำหรับ setup การลง OS X ให้กับ Macbook Air
  • Optional Installs - ติดตั้งตัวเลือกอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น xcode, ภาษาต่าง ๆ (สามารถเลือกลงเพิ่มเติมได้ภายหลัง
  • Instructions - คำแนะนำอื่น ๆ

ให้เลือก Install Mac OS X.app เพื่อทำการติดตั้งลงในเครื่อง ถ้ามีหน้าต่างใหม่บอกให้เรา restart ก็ให้เลือก restart ไปนะครับ แล้วเราจะเข้าสู่การ Install

เลือกภาษาในการ Install

003-2_7.jpg

ตรงนี้จะให้เราเลือกภาษาหลักที่จะใช้ต่อไปตลอดการ Install ครับ
เราจะพบกับกล่องข้อความต้อนรับ สำหรับการติดตั้ง OS X

010-1_7.jpg

เราจะเจอกล่องข้อความต้อนรับเราเข้าสู่การติดตั้ง osx ให้กด Continue ผ่านไป

ข้อตกลงการใช้งาน

011-1_7.jpg

เลือกพื้นที่บน hard disk ที่จะทำการติดตั้ง OS X Leopard

R0011137-1_7.jpg

  1. เลือก Options ถ้าต้องการเลือกรูปแบบการ Install OS X Leopard ลงบนเครื่อง (มี 3 แบบให้เลือก - อธิบายในภาพถัดไป)
  2. เลือก hard disk ที่ต้องการจะ install OSX
  3. คลิ๊ก Continue

note : จากภาพผมแบ่ง partition เอาไว้ + กับมี external hdd อีก 2 ตัวต่อเข้้ากับเครื่อง เลยมีให้เลือกเพิ่มขึ้น -- ซึ่งถ้าปรกติเครื่องใหม่ จะเห็น hard disk อยู่ น้อยกว่านี้ อาจจะ 1 -2 hard disk แล้วแต่ว่าจะแบ่ง partition เอาไว้ก่อน install OS X หรือไม่

หน้าต่าง Options

R0011138-1_14.jpg

มีคำสั่งเลือก Install ให้เราเลือก 3 แบบ ดูรายคำอธิบาย เรื่องรูปแบบการ Install OS X Leopard แบบละเอียดได้จาก ใน link เลยครับ =)

เมื่อเลือกได้แล้วกด OK เราจะกลับไปหน้า Select a Destination ในหัวข้อที่แล้ว .. ให้เลือก Hard disk ที่ต้องการจะลง system แล้วจากนั้นกด Continue

หน้าต่างเตรียมสำหรับการติดตั้ง OS X

R0011139-1_7.jpg

ในหน้าต่างนี้ จะเป็นการบอกเราว่าเรากำลังจะติดตั้ง system ใหม่แล้ว

  1. ถ้าเราใช้ MacBook/ MacBook Pro แล้วใช้ไฟจากแบตเตอร๊่เพียงอย่างเดียวอยู่ .. เครื่องจะทำการเตือนให้เราเสียบปลั๊กไฟบ้านเข้ากับ MacBook ของเราด้วย เพราะว่าใช้ระยะเวลานาน เครื่องอาจจะดับไปก่อนการ Install เสร็จสิ้นได้
  2. เลือก Customize เพื่อเข้าไปดูว่า สิ่งที่เรากำลังจะ Install นั้น มีอะไรบ้าง
  3. หลังจากปรับในส่วนของ Customize เรียบร้อยแล้ว ให้เลือก Install เพื่อเป็นการเริ่มต้นติดตั้ง system ใหม่ (ดูภาพถัดไป)

note : เครื่องจะทำการ restart เองหลังจากที่ install เสร็จเรียบร้อยแล้ว

หน้าต่าง Customized บอกเราว่า เราจะ Install อะไรลงไปในเครื่องบ้าง

R0011140_7.jpg

ใครอยากลงอะไรเพิ่มเติม หรือว่าเอาออก ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เลย (ตามปรกติจะถูกเลือกเอาไว้หมด) หรือถ้าอยากจะลงเพิ่มเติมทีหลัง หลังจากลง system ใหม่ไปแล้วก็ได้ ดู Optional Installs บน OS X ได้จากใน link นะครับ

จัดการเสร็จแล้วเลือก Done เพื่อกลับไปหน้าต่างเดิม

ถ้าพร้อมแล้ว ก็เลือก Install ทำการติดตั้ง system ใหม่ได้เลย~

Note : แนะนำว่าเลือกลงทั้งหมดเลยก็ได้ครับ จะได้ไม่ต้องมาติดตั้งใหม่ภายหลัง (ยุ่งยากนะ ผมว่า ไหน ๆ ก็จะ Install system ใหม่แล้ว ก็ Install พวกนี้แถมเข้าไปด้วยก็ประหยัดเวลาดีครับ)

ระบบทำการตรวจสอบแผ่น ว่าพร้อมใช้งานหรือไม่

R0011142_7.jpg

เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการ Install Mac OS X แล้วครับ... แต่ก่อนอื่น ระบบจะทำการตรวจสอบแผ่นที่เราเอามาใช้ก่อนว่าสามารถใช้งานได้ดีหรือไม่ ... (ตามแนวคิดแล้วเป็นเรื่องที่ดี ที่ถ้าตรวจสอบแล้วเจอ error จะได้ไม่ต้องเสียเวลาลง)

แต่...
เค้าใช้เวลาตรวจสอบนานนนนนนนนนนนนนนนนนนนน ไปนิดครับ .. ผมเลยเลือก Skip ข้ามขั้นตอนนี้ไปครับ =P

เข้าหน้ากระบวนการติดตั้ง

R0011143_7.jpg

R0011144_7.jpg

ระหว่างนี้เราก็รอเค้าไปเรื่อย ๆ ครับ จะใช้เวลาประมาณ 40 นาที - 1 ชม. ในขึ้นตอนนี้ครับ =)

แอบสงสัย?

R0011145-1_7.jpg

ผมไม่ทราบว่าเป็นที่ระบบตั้งเอาไว้หรือเปล่า ระหว่างที่ผมลง system ใหม่นี้เจ้าตัว airport นั้นจะถูกเปิดขึ้นมาด้วยเฉยเลย -.-a

ผมเลือกปิดไปจากตรงนี้เลยครับ ฮ่า... ไม่รู้จะมีผลอะไรหรือเปล่า แต่ปิดเอาไว้ก่อนครับ มีความสุข

Install เสร็จแล้วววว ~

R0011146_7.jpg

พอเราติดตั้ง OS X เสร็จไปแล้ว จะมีหน้าต่างนี้ขึ้นมา พร้อมด้วยการนับถอยหลังเตรียม restart เครื่องครับ .. ใครไม่อยากรอให้เค้านับจบ ก็กดปุ่ม Restart เองเลยก็ได้

ตรงนี้จะใช้เวลา restart นานหน่อย แต่อดใจไว้นิดครับ ได้ใช้ system ใหม่ในไม่กี่อึดใจนี้ล่ะ ยิ้มปากกว้าง

ขั้นตอนต่อไป

เนื่องจากการ install OS X Leopard เป็นขึ้นตอนที่มีรายละเอียดมาก ผมเลยคิดว่าจะแบ่งออกเป็น 2 ตอนนะครับ จะได้ไม่ยาวเกินไป และง่ายต่อการโหลดภาพ

ไปที่หัวข้อ Setup การใช้งานครั้งแรก