การตั้งค่าภาษาไทย บน OSX - Leopard

ikok's picture
10285
posts

วิธีการตั้งค่าภาษาไทยบน OS X 10.5 - Leopard

ตามปรกติแล้ว หลังจากการที่เราลง osx เสร็จใหม่ ๆ เราจะยังใช้งานภาษาหลักได้เพียงภาษาเดียวเท่านั้น (คือภาษาอังกฤษ หรือภาษาอะไรก็ตามที่เราเลือกเอาไว้ตอนลง os ครั้งแรก) ซึ่งการใช้งานภาษาไทยบน OS X เวอร์ชั่น 10.5 (Leopard) โดยทั่วไปมีขั้นตอนที่ต้องถือว่าง่าย เพียงแค่กดเข้าไปไม่กี่ที่ก็สามารถ ใช้งานภาษาไทยได้แล้ว โดยการ activate ให้ใช้งานภาษาไทยในเครื่องได้นั้น มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

ไปที่ System Preference เลือก international

001-_4.jpg

เข้าสู่หน้าต่าง International เลือก Edit List..

Picture1_39.jpg

เลื่อนลงมาด้านล่าง หาตัวเลือก “ภาษาไทย” จากนั้นกด OK

Picture2-1_14.jpg

เราจะเห็นมีรายชื่อภาษาไทยเข้าไปอยู่ใน list แล้ว

Picture3_35.jpg

  1. เราจะเห็นว่าภาษาไทยที่เราเพิ่งเลือกมานั้น อยู่ในรายการบนสุด หมายความว่า ทุกครั้งที่เรา log in เข้าใช้งานเครื่องนี้ ภาษาไทยจะถูกตั้งเป็นค่ามาตรฐานมาให้เราสามารถพิมพ์ไทยได้เลย
  2. มีคำเตือนขึ้นมา 2 ย่อหน้า ย่อหน้าแรกจะบอกเราว่า ภาษาไทยที่เราเพิ่ง setup เสร็จไปนั้น จะแสดงผลหลังจากที่เข้า finder ใหม่อีกครั้ง ส่วนย่อหน้าที่สองจะบอกเราว่า ภาษาที่เราเลือกนั้น ตรงกับประเทศที่อยู่เราที่เราตั้งเอาไว้ตอน install หรือไม่ (จากในภาพผมตั้งค่าตอน install osx เป็น singapore แล้วพอมา setup ภาษาไทยเข้าไป เครื่องเลยฟ้อง เพราะภาษาหลักไม่ใช่ภาษาอังกฤษครับ - ซึ่งตรงนี้จะมีผลเกี่ยวกับรูปแบบการแสดงผลของสกุลเงิน, ตัวเลข, วันที่ ฯลฯ ครับ)

เลือก tab ที่ 2 = Formats

formats_2.jpg

  1. Dates : เป็นรูปแบบการแสดงวันที่ในแบบต่าง ๆ ส่วนมากจะมีผลกับโปรแกรมที่อยู่ภายในเครื่อง
  2. Times : เป็นรูปแบบการแสดงเวลา
  3. Numbers : เป็นรูปแบบการแสดงตัวเลขต่าง ๆ
    • ค่าสกุลเงิน (Currency) ที่จะแสดงผลเป็นเงินบาท
    • หน่วยวัด (Measurement Units) เป็นระบบ Metric หรือหน่วยวัดเป็น เซ็นติเมตร - เมตร (ถ้าเราเลือกแบบ US จะแสดงผลเป็น ฟุต - นิ้ว ครับ)

ปรับการแสดงผลแบบ พุทธศักราช ในหัวข้อ Dates เลือก Calendar

Picture2_34.jpg

Calendar : Gregorian - แสดงปี ค.ศ.

Picture3_36.jpg

Calendar : Buddhist - แสดงปีแบบ พ.ศ.

หัวข้อ Times เลือก Customize เพื่อปรับการแสดงผลเกี่ยวกับเวลา

Picture4_19.jpg

ลองปรับดูในส่วนต่าง ๆ นะครับ =)
จะให้แสดงผลละเอียดมากน้อยแค่ไหนตั้งได้จากหัวข้อ
Show : ครับ .. เอาแบบแสดงกันเป็นวินาทียังได้เลย ซึ่งการแสดงผลตรงนี้จะไปมีผลกับโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเครื่่องครับ (ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าตัวเลขพวกนี้จะไปโผล่ที่ไหนบ้าง แต่โดยส่วนใหญ่เราสามารถที่จะตั้งค่าการแสดงผลตามใจฉันได้จากส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรมนั้น ๆ ครับ รวมไปถึงบน menu bar ข้างบนด้วย)

บน Menu bar มีเวลา + วันที่ตามที่เราตั้งเอาไว้แล้ว

thai-time_2.jpg

เมื่อคลิ๊กเข้าไปในนาฬิการ เราจะเห็นวันที่และรูปแบบการแสดงผลครับ
ซึ่งเราสามารถเลือกดูเวลาได้สองแบบ

  • View as Digital : เป็นการแสดงผลเวลาแบบตัวเลขนาฬิกาดิจิตอลทั่ว ๆ ไป
  • View as Analog : แสดงผลแบบนาฬิกาเข็มอันเล็ก ๆ (ดูยากนิดนึง)

สำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย

Picture4-1_4.jpg

สามารถตั้งเวลาเป็นคริสตศักราช และหน่วยวัดสากลได้ จากการไปสลับตำแหน่งของค่า default ภาษาของเครื่องเราครับ (คลิ๊กที่ “ภาษาไทย” แล้วลากสลับลงมาได้เลย) ตรงนี้จะเป็นการบอกเครื่องว่า เราจะใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 เท่านั้นนะ เรื่องหน่วยวัด หรือวันที่ ให้อิงกับภาษาแรก คือภาษาอังกฤษแทน

ต่อมา เราจะมาตั้งค่า shortcut สำหรับสลับภาษาระหว่างการใช้งานในเครื่อง

thai-input_2.jpg

  1. ไปที่ tab Input Menu
  2. เลื่อนลงมาหาส่วนคีบอร์ดของภาษาไทย

thai-input-2_2.jpg

  1. ติ๊กถูกเพื่อเลือกใช้งานคีบอร์ดภาษาไทย (จะใช้อันไหนก็ได้ครับ)
  2. Show input menu in menu bar : ตรงนี้มีเอาไว้เพื่อแสดงสัญลักษณ์ภาษาที่เราใช้งานอยู่ขณะนั้นบน menu bar (เราสามารถเปลี่ยนภาษาได้จาก         menu bar ตรงนี้ด้วยครับ)                                thai-menubar_2.jpg
  3. เลือกเพื่อเข้าสู่การตั้ง shortcut เป็นลำดับต่อไป

เข้าสู่การตั้งค่า keyboard shortcut สำหรับการใช้งานภาษาไทย

shortcut_2.jpg

  1. เราจะมาอยู่ที่ tab ของ Keyboard Shortcutsดยอัตโนมัติ
  2. ให้เลื่อนลงมาหาหัวข้อ Input Menu

Picture8-1_5.jpg

  1. ติ๊กในส่วนหัวข้อ Input Menu นี้
  2. เราจะถูกเตือนมาว่า shortcut ที่เราต้องการจะใช้นั้น ไปซ้ำกับ shortcut เดิมที่มีอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว (ในที่นี้คือส่วนของ Spotlight ครับ)

Picture9-1_5.jpg

  1. สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้งาน Spotlight แบบเต็มรูปแบบ ก็สามารถติ๊กเอาหัวข้อ Show Spotlight Window ออกไปก่อนได้
  2. จากนั้น คลิ๊กในตำแหน่งที่ 2 เพื่อเปลี่ยนปุ่ม shortcut ของ spotlight ใหม่ ให้คลิ๊กที่ shortcut เดิมได้เลย สักพักเค้าจะเปลี่ยนเป็นกล่องข้อความแล้วให้เราพิมพ์ shortcut ที่เราอยากจะได้เข้าไปใหม่ ถ้าไม่ถูกใจ ก็เปลี่ยนไปได้ใหม่เรื่อย ๆ ครับ ขอแค่ไม่ไปซ้ำกับ shortcut เดิมที่มีอยู่แล้วในระบบเป็นใช้ได้ (ในที่นี้ผมเปลี่ยนมาเป็น Ctrl + Space bar ครับ)

หลังจากเปลี่ยนปุ่ม shortcut ใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะเห็นว่า ไม่มีเครื่องหมายตกใจมาแจ้งเตือนเราอีก เพราะว่า shortcut ที่เราตั้งใหม่นั้นไม่ไปซ้ำกับของเดิมในระบบครับ ดังนั้น สบายใจได้ครับ =)

หลังจากตั้ง shortcut ของ spotlight เสร็จแล้ว เรามาลองทดสอบกันดู

test-spotlight_2.jpg

ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เวลาเรากดปุ่ม Ctrl + Space bar (หรือ shortcut อื่น ๆ ที่เราตั้งเอาไว้) spotlight จะทำงานครับ

พอ spotlight ทำงานเป็นปรกติแล้ว ก็ถึงเวลาทดสอบการสลับภาษาไทย - อังกฤษ

ปุ่ม shortcut สำหรับเปลี่ยนภาษาของเราคือปุ่มจากในหัวข้อ Input Menu ที่เราเลือกเอาไว้ด้านบนนะครับ คือ

Change-lang_2.jpg

Command + Space Bar : สำหรับการเปลี่ยนไปยังภาษาก่อนหน้าที่เราใช้อยู่
Option + Command + Space Bar : สำหรับเปลี่ยนไปยังภาษาถัดไป

อาจจะดูงง ๆ เล็กน้อยครับ ยิ้มปากกว้าง แต่สำหรับเครื่องที่มีอยู่ 2 ภาษา คำสั่งทั้งสองอันจะให้ผลเหมือนกัน คือสลับไปมาระหว่าง Eng - Thai ครับ ดังนั้นเลือกใช้อันใดอันหนึ่งก็ได้

กด Command + Space Bar

มาลองดูกันครับ ตอนนี้ภาษาในเครื่องเราจะเป็นอะไรก็ตามแต่ ถ้าเรากด Command + Space Bar แล้ว เค้าจะต้องเปลี่ยนให้เรา

thai_2.jpg

กด Command (ปุ่มรูปแอปเปิล หรือเครื่องหมายยันต์) พร้อมกับ Space Bar นะครับ

eng-1_2.jpg

ได้ผลเปลี่ยนเป็นแบบนี้ ยิ้มปากกว้าง

ขอให้มีความสุขในการใช้งานภาษาไทยบน Leopard นะครับ =)

Tips

การสลับภาษาโดยใช้ Caps Lock คุณ nickoe เขียนเอาไว้ใน blog นี้ครับ
มือใหม่ต้องเจอ : กด Caps Lock เร็วฉันใด เปลี่ยนภาษาเร็วฉันนั้น

Comments

ikok's picture
10285
posts

update : 13 ตุลาคม 2551

เพิ่มส่วน Tips ที่คุณ nickoe เขียนเอาไว้ใน blog เกี่ยวกับการสลับภาษาโดยใช้ Caps Lock

#1
amd3's picture
58
posts

ดัจัง

อิอิ

#2