การแบ่ง partition บน External hard drive

ikok's picture
10285
posts

การแบ่ง partition บน External hard drive

เรามี External hard drive (ขอเรียกว่า HD)อยู่ลูกหนึ่ง ถึงแม้ในเครื่องเราจะมี Time Machine เอาไว้สำหรับ backup ทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้ให้เราแล้วก็ตาม แต่ด้วยความที่ Time Machine ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ยึดหยุ่นเท่าไหร่นักในการใช้พื้นที่ร่วมกับ HD ที่เราอยากเก็บไฟล์อย่างอื่นเอาไว้ด้วย ...

เป็นเรื่องที่ปวดหัวมากครับ ถ้าเกิดไม่มีการวางแผนเอาไว้ก่อน แบบที่ถ้าใช้งานไปสักพักนึงแล้วเกิดอยากจะ backup แบบเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาทีหลัง ..

ถึงจะรู้ตัวเมื่อสาย เราก็ยังสามารถจัดการให้เข้ารูปเข้ารอยแบบที่ควรจะเป็นได้ครับ แต่จะยุ่งยากหน่อยถ้าพื้นที่ HD มีจำกัด และเหลือไม่มากพอ อาจจะต้องไปยืม HD จากคนใกล้ตัว หรืออาจจะต้องซื้อลูกใหม่มาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ .. ซึ่งดูแล้วอาจจะสิ้นเปลืองเกินจำเป็นครับ สู้วางแผนเตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ กันดีกว่า...

บทความนี้เลยอยากจะเขียนถึงการ partition บน External hard drive เพื่อเตรียมตัวก่อนการ backup ไม่ว่าคุณต้องการจะใช้ Time Machine หรือไม่ก็ตาม

note : เพื่อความรวดเร็วของการรับส่งข้อมูล ลองพิจารณาซื้อ External hard drive ที่มีการเชื่อมต่อแบบ Firewire มาใช้นะครับ จะความเร็วที่ 400 หรือว่า 800 ก็ได้ โดยดูว่าเครื่องเรารองรับ Firewire ได้ที่ความเร็วสูงที่สุดเท่าไหร่ เพราะจะเร็วกว่าการรับส่งข้อมูลด้วย USB 2.0 ครับ

ต่อ External HD เข้ากับเครื่อง Mac ของเรา

ex-hdd-icon.jpg

โดยปรกติแล้วเราจะเห็นไดร์ฟใหม่จาก External HD ของเราโผล่ขึ้นมาอยู่บน desktop หลังจากต่อเข้ากับเครื่องเราแล้วไม่นานครับ

จากนั้น เรียกใช้งาน Disk Utility

disk-utility-icon_0.jpg
จาก Applications/ Utilities

เข้าสู่หน้าต่าง Disk Utility

start.jpg

หลังจากเข้าสู่การทำงานของ Disk Utility แล้ว เราจะเห็น External hard drive ของเราอยู่ใน list ทางด้านซ้ายมือด้วย จากนั้น มีขึ้นตอน การแบ่ง partition ดังนี้

  1. เลือก External Hard drive ของเราจากใน list
  2. ไปที่ tab partition
  3. ในตัวเลือก Volume Scheme ให้เลือกว่าเราต้องการจะแบ่ง hard disk ลูกนี้ออกเป็นกี่ partition (จากในตัวอย่าง ผมเลือกที่ 3 partition)

ภาพรวมในการแบ่ง partition (ดูรายละเอียดการตั้งค่าแต่ละส่วนในหัวข้อถัดไป)

มาดูภาพรวมกันก่อนนิดนึงครับ แล้วเดี๋ยวหัวข้อต่อไปจะว่ากันเรื่องวิธีตั้งค่าของแต่ละ partition
partition.jpg

จากที่ผมใช้อยู่ในการใช้งานทั่วไป ผมแบ่งดังนี้ครับ

  1. แบ่งพื้นที่ 10-20% สำหรับเก็บไฟล์ข้อมูลทั่วไป ในกรณีที่อาจจะเข้าถึงได้จาก windows ผมเลือก format เป็น FAT32 ครับ (และด้วยเหตุผลบางอย่าง ทำให้เราไม่สามารถใช้อักษรตัวเล็ก + ใช้เครื่องหมายอื่น ๆ ในชื่อของ HD ได้ ดังนั้น จะเป็นการดีถ้าตั้งชื่อให้เราอ่านเองแล้วรู้เรื่องง่าย ๆ ภายหลัง จะได้ไม่งงครับ)                                                                        
  2. แบ่งอีก 20-40% สำหรับเก็บ library ต่าง ๆ (ผมไม่เก็บ library พวก iTunes, iPhoto เอาไว้ในเครื่องครับ เลยต้องมีตรงนี้) format = HFS เพราะใช้เข้าถึงจากเครื่อง Mac ตัวเองได้เท่านั้น เลยไม่จำเป็นต้องเป็น FAT 32 ครับ และเข้ากันได้กับระบบไฟล์บน OS X ได้ดีกว่า เพราะ FAT 32 รองรับไฟล์ขนาดเกิน 4 GB ไม่ได้ ในขณะที่บน OS X มักจะสร้าง library ขึ้นมาขนาดใหญ่และอาจจะมีขนาดเกิน 4 GB เพื่อจัดการกับไฟล์ในแต่ละโปรแกรมครับ..         
  3. ที่เหลือ เอาไว้สำหรับ Time Machine - ถ้าใครต้องการจะใช้ Time Machine เพื่อการ backup แล้วล่ะก็.. การแบ่ง partition เตรียมเอาไว้ให้ Time Machine โดยเฉพาะเป็นสิ่งที่ควรจะทำมากครับ เพราะว่าเราสามารถจำกัดพื้นที่ backup สำหรับ Time Machine ได้                 

                        คือถ้าเราไม่แบ่ง partition แยกสำหรับ Time Machine เอาไว้ตั้งแต่ต้น โดยคิดว่าจะให้ใช้พื้นที่ backup ร่วมกับ partition ข้อมูลเดิมที่เรามีอยู่แล้วเนี่ย ... เจ้าTime Machine จะทะยอย backup กินพื้นที่ในส่วนที่เหลือของ HD มาเรื่อย ๆ ครับ จนเต็มพื้นที่ใน HD ไปในที่สุดเอง เพราะธรรมชาติแล้ว Time Machine ถูกออกแบบมาให้เป็นแบบนี้ครับ - -

        
                        ถ้าเราแบ่ง partition เตรียมเอาไว้แล้ว อย่างในกรณีตัวอย่างนี้ อย่างมาก Time Machine ก็จะกินพื้นที่ในส่วนของ partition นี้จนหมด โดยไม่ไปรบกวน partition อื่น หรือว่าส่วนที่เหลือนอกจากนี้บน HD ของเรา ครับ =)

การตั้งค่าของแต่ละ partition

หลังจากที่เราเลือก Volume Scheme ได้แล้ว เราจะเข้าสู่การปรับแต่งในส่วนของแต่ละ partition
มาดูกันที่ส่วนแรก (ล่างสุด) MyBookFAT32

partition-fat.jpg
ค่าพื้นฐาน - partition นี้สำหรับกรณีการแชร์ไฟล์ให้เข้าถึงได้จาก Windows ครับ

  • Name : MYBOOKFAT32
  • Format : MS-DOS(FAT)
  • Size : 35 GB

partition-mac.jpg

ค่าพื้นฐาน - partition นี้เก็บไฟล์ mac อย่างเดียว ไม่แชร์กับระบบอื่น

  • Name : MyBook-Mac
  • Format : Mac OS Extended (Journaled)
  • Size : 100 GB

partition-tm.jpg

ค่าพื้นฐาน - partition นี้สำหรับ Time Machine โดยเฉพาะ

  • Name : MyBook-TM
  • Format : Mac OS Extended (Journaled)
  • Size : 163.09 GB

ถ้าเราต้องการจะแบ่ง partition มาก / น้อยกว่านี้ เราสามารถเลือก “+” หรือ “-” เพื่อปรับเพิ่ม / ลดจำนวน partition

เมื่อตั้งค่าทุกอย่างเรียบร้อยหมดแล้ว เลือก หรือว่า Apply เพื่อยืนยัน

เสร็จแล้วเราจะเห็น partition ตามที่เราตั้งเอาไว้เพิ่มมาอยู่ใน HD ของเรา

done-1.jpg