การบำรุงรักษา OS X ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ
ปรกติจะมีเรื่องที่ผู้ใช้ที่เพิ่งเปลี่ยนจาก Windows PC มาใช้ Mac หลังจากใช้งานไปสักพัก จะเร่ิมเป็นกังวลเกี่่ยวกับการบำรุงรักษา OS X ให้ใหม่สดและใช้งานได้ดีอยู่เสมอ โดยจะมีอยู่สองเรื่องหลัก ๆ คือ
- การ Defrag บน OS X
- ล้าง Temporary Files หรือไฟล์ขยะบน OS X
อธิบาย..
1.เกี่ยวกับการ Defrag Hard disk บน OS X
การใช้งานระบบไฟล์แบบ FAT32 บน Windows PC นั้น หลังจากเราเขียน อ่าน ข้อมูลบน HD ไปสักระยะแล้ว จะเกิด “หลุมอากาศ” ขึ้นบน HD ที่ทำให้ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้ ปรกติระบบ OS จะทำการเขียนข้อมูลข้้าม “หลุม” พวกนี้ไปให้แบบอัตโนมัติ ก็จะมีที่ตามมาคือ ข้อมูลกระจายตัวอยู่บน HD มากขึ้น ทำให้การเข้าถึงข้อมูล และการทำงานกับข้อมูลที่กระจายตัวเหล่านั้นทำได้ช้าลง ที่เรามักจะต้องทำการ Defrag Disk เองอยู่เสมอบน Windows pc ที่จะทำการจัดเรียงข้อมูลใหม่ ให้ข้อมูลอยู่ใกล้กันมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมให้ดีขึ้น
บน OS X ก็จะมีหลุมอากาศพวกนี้เกิดขึ้นเมื่อเราจัดการกับไฟล์ต่า่ง ๆ ตรงนี้เหมือนกัน ... แต่.. บน OS X จะพยายามจัดการหลุมอากาศที่เกิดขึ้นเหล่านี้เอง พูดให้ง่ายคือ ระบบ OS จะทำตรงนี้ให้เราเองครับ โดยที่เราไม่ต้องสั่งการอะไรเพิ่มเติม และไม่จำเป็นครับ
อีกเหตุผลนึงที่คือ Hard disk สมัยใหม่ที่มีค่าการอ่าน - เขียนกับพื้นที่ ๆ เพิ่มขึ้นมากแล้ว ไม่เหมือนแต่ก่อนที่พื้นที่น้อย แล้ว OS ต้องพยายามจะหาที่เขียนข้อมูลลงไปแบบจำกัดจำเขี่ย.. ด้วยเหตุผลนี้ เป็นอีกประการที่เราไม่มีความจำเป็นในการ Defrag เพื่อการทำงานที่ดีขึ้นครับ
หรือถ้าใครไม่มั่นใจ และต้องการที่จะทำการ Defrag disk เอง ก็สามารถทำได้โดยอาศัย app อื่น ๆ มาช่วยครับ เช่น iDefrag (ไม่ฟรีครับ ราคา 17.5 ปอนด์ หรือประมาณ 950 บาทครับ)
note : จากเอกสารประกอบในเวป apple.com ระบุเอาไว้ว่า การ defrag เองนั้น อาจจะมีการย้ายตำแหน่งไฟล์สำคัญของระบบบางส่วนเกิดขึ้น และตรงนี้อาจจะก่อปัญหาให้เครื่องทำงานผิดพลาดได้ครับ
อ่านเพิ่มได้จาก
About disk optimization with Mac OS X
2.เกี่ยวกับการล้าง Temporary , Log files บน OS X
Temporary Files (Temp files) : คือไฟล์ชั่วคราวซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเราใช้งานเครื่องไปสักระยะ มีทั้งเกิดขึ้นจากตัวระบบ OS เอง (พวก System Logs) และเกิดจาก Application ต่าง ๆ ที่เราใช้งานบนเครื่อง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมีประโยชน์มากกว่าโทษครับ
ก่อนจะเข้าสู่การล้าง Temp file บน OS X ผมอยากจะเขียนอธิบายก่อน ซึ่งเป็นไฟล์ขั่วคราวที่บางคนไม่เข้าใจว่ามีเอาไว้ทำอะไร เลยพาจะลบเอาเรื่อย ๆ เพราะคิดว่ากินพื้นที่
- Cache : จะเป็นไฟล์ที่เก็บค่าใช้งานบางส่วนของโปรแกรมที่เราใช้ เมื่อมี Cache อยู่ เราจะใช้งานโปรแกรมโดยรวมได้ดีขึ้น เช่นใน Safari พวก Cache ก็จะทำให้เราเปิดหน้าเวปได้เร็วขึ้น เพราะเค้าจะจำบางส่วนของหน้าเวปเอาไว้ ทำให้ไม่ต้องโหลดใหม่หมดทุก ๆ ครั้งครับ การล้าง Cache สมควรกระทำเพื่อแก้ปัญหาการทำงานของโปรแกรมที่ทำงานผิดพลาด มากกว่าจะกระทำเป็นประจำนะครับ
- System Logs : ตรงนี้เป็นรายการของกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเครื่องของเรา มีประโยชน์มหาศาลในการไล่หาความผิดปรกติของเครื่องครับ (ไม่จากเรา ก็ให้ช่างเทคนิกดู) โดยปรกติ OS X จะทำตรงนี้เอง (ในตอนตี 3- ตี 5 ของทุกวัน) แต่ถ้าเราต้องการทำเองก็สามารถทำได้ ดูจาก link บทความด้านล่างประกอบตรงนี้ครับ
note : การแก้ปัญหาถ้าเกิดเราเจอโปรแกรมทำงานผิดพลาดที่ดีและง่ายที่สุดเลยคือ การ restart ครับ =)
อ่าน เกี่ยวกับ Temporary Files และ System Logs บน OS X ประกอบ
ดู การล้าง Temp files, system logs บน OS X ครับ
note : บทความนี้ผมเขียนเอาตามความเข้าใจส่วนตัวเองนะครับ ตัดเรื่องข้อมูลทางเทคนิคลืึก ๆ ไป (เพราะผมเองก็ไม่รู้ ) เอาเฉพาะที่คิดว่าผู้ใช้มือใหม่ส่วนใหญ่น่าจะอ่านได้ง่ายเป็นหลัก หากมีข้อผิดพลาดหรือจะแนะนำเพิ่มเติม ก็ใส่ไว้ใน comment ด้านล่างนี้นะครับ
- Printer-friendly version
- Login to post comments
How-Tos
- การติดตั้ง OS X Leopard (10.5)
- ใช้งาน OS X เบื้องต้น
- Software Update
- Desktop พื้นที่ทำงานของเรา
- จัด Icon บน Desktop
- Bluetooth
- Burn - การเขียนแผ่น
- Networking
- Spotlight
- การ Install & Uninstall โปรแกรมบน OS X
- การจัดการไฟล์แบบฐานข้อมูล ในโปรแกรมต่าง ๆ บน OS X
- การบำรุงรักษา OS X ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ
- การแบ่ง partition
- ดูรายละเอียดไฟล์
- ปรับแต่ง OS X
- เกี่ยวกับ Shortcut
- เกี่ยวกับการ Sleep
- OS X Tips
- OS X Bundle Apps
- การติดตั้ง Windows บน OS X (Boot Camp)
Navigation
Relevant Content
หัวข้อที่(อาจจะ)เกี่ยวข้อง
- การ Maintenance OS X #2 : การล้าง Temporary files และ System Logs
- การ Maintenance OS X #1 : เกี่ยวกับ Temporary files และ System Logs
- มือใหม่ต้องเจอ : สิ่งที่ควรทำหลังจากพาน้อง Mac กลับมาเปิดครั้งแรกที่บ้านแล้ว
- AppleCare : วิธีลงทะเบียน AppleCare ด้วยตนเอง #1
- AppleCare : วิธีลงทะเบียน AppleCare ด้วยตนเอง #3
posts