Automator : หน้าตาและส่วนประกอบต่าง ๆ
หน้าตาและส่วนประกอบทั่วไปของโปรแกรม Automator
อธิบาย
ส่วนที่1,ส่วนที่ 7
ส่วน Toolbar : ด้านซ้ายจะมีปุ่มเปิด/ปิดการแสดง library และปุ่ม media สำหรับเข้าไปดึง content มาจากในโปรแกรม iLife ทางด้านขวาจะเป็นปุ่มคำสั่งดังนี้
- Record : สำหรับบันทึกการทำงานที่เราแสดงให้เครื่องดู แล้วนำมาเปลี่ยนเป็น workflow (ผมไม่เคยใช้ตรงนี้แบบจริงจังนะครับ แต่เท่าที่ลองมา เค้าสามารถบันทึกสิ่งที่ผมทำแล้วเปลี่ยนเป็น workflow ใน automator ให้ผมได้)
- Stop/ Run : ปุ่มสั่งเริ่ม และหยุด workflow ส่วนมากใช้สำหรับทดสอบ workflow หรือเรียกใช้งาน workflow ที่ทำเอาไว้เสร็จแล้วผ่าน automator
ส่วนที่ 2เลือกสลับระหว่าง Library กับ Variables :
- Library : จะเป็นชุดคำสั่ง (หรือเรียกว่า action) ที่จะเป็นการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
- Variables : เป็นความสามารถใหม่ที่เพิ่งจะมีบน OS X Leopard สำหรับกำหนดค่าตัวแปรเฉพาะกิจขึ้นมาเพื่อเอามาใช้ยังส่วนต่าง ๆ ของ workflow ทำให้สามารถสร้าง workflow ที่หลากหลาย หรือว่าซับซ้อนขึ้นมาได้ (ดู การใช้ Variables ใน Automator ประกอบ )
ส่วนที่ 3.Library : Actions category : เป็นการรวมหมวดหมู่ของชุดคำสั่งที่เกี่ยวข้องกันเข้าไว้ด้วยกัน แยกเป็นหัวข้อต่าง ๆ เช่น Calendar ก็จะเป็นชุดคำสั่งเกี่ยวข้องกับ iCal หรือ Files & Folder จะเป็นชุดคำสั่งเกี่ยวข้องกับการจัดการ file/folder เป็นต้น
ส่วนที่ 4
Actions : เป็นชุดคำสั่งในแบบต่าง ๆ
ส่วนที่ 5
รายละเอียดของ Action ที่เราเลือก : ซึ่งจะเป็นตัวบอกเราคร่าว ๆ ว่าคำสั่งที่เรากำลังจะใช้งานอยู่นั้น ต้องการ Input แบบไหน และให้ Result เป็นอะไร
ส่วนที่ 6
Workflow pane : ส่วนนี้จะเป็นที่เอาไว้สำหรับให้เรานำคำสั่งมาต่อกันเพื่อทำเป็น workflow วิธีการใช้งานคือ เลือกคำสั่งจากทางด้านซ้ายมือ หรือจากหัวข้อที่ 4 แล้วลากมาวางตรงส่วนนี้ แล้วทำซ้ำต่อ ๆ กันไป เมื่อทำไปได้สักพักแล้วจะมีหน้าตาประมาณนี้ครับ
ส่วนที่ 7
ปุ่ม Record และ Play/Stop อธิบายไว้แล้วในส่วนที่ 1
- Printer-friendly version
- Login to post comments
How-Tos
- การติดตั้ง OS X Leopard (10.5)
- ใช้งาน OS X เบื้องต้น
- OS X Bundle Apps
- การติดตั้ง Windows บน OS X (Boot Camp)
posts