Automator : Workflow ชุดคำสั่งของเรา
เนื้อหาของบทความนี้ประกอบด้วย
- พื้นฐานการทำงานกับ actions ใน workflow pane
- การดูหน้าต่าง Log เพื่อตรวจสอบการทำงานของ workflow ที่เราสร้าง
ก่อนเริ่มเรามีคำศัพท์ที่ต้องทราบเกี่ยวกับ workflow นะครับ
- Workflow : คือชุดคำสั่งที่เกิดจากการนำ Action หลาย ๆ อันมาต่อกันให้เค้าทำงานร่วมกันครับ
- Action : คือคำสั่งที่จะสั่งให้โปรแกรม (Automator หรือ app อื่น ๆ ) ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
- Input : ข้อมูลตั้งต้น หรือข้อมูลก่อนผ่าน Action
- Output/Results : ข้อมูลผลลัพท์ หรือข้อมูลที่ผ่าน Action มาแล้ว
ส่วนประกอบของ Action ใน Workflow pane
อธิบาย
1.เป็นส่วนชื่อของ Action นั้น ๆ จะบอกเราคร่าว ๆ ว่า action นี้จะเอาไว้ทำอะไร พร้อมกับมีไอคอนที่เกี่ยวข้องบอกเราเอาไว้ด้วย (จากในรูปเป็นไอคอนของ Finder ที่จะบอกว่า action นี้เกี่ยวกับการจัดการ file/folder ผ่าน Finder ครับ)
2.เป็นส่วนรายละเอียดของ Action ซึ่งแต่ละ action ที่เราเลือกจะมีรายละเอียดตรงนี้ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าเฉพาะกิจแค่ไหนและเกี่ยวกับ app อะไรบ้าง บาง action ก็ไม่มีรายละเอียดตรงนี้ให้เลือกครับ จากตัวอย่างคือ Move Finder Items จะเป็นการสั่งย้าย file ต่าง ๆ มาไว้ที่ผมต้องการ ซึ่งในส่วนของรายละเอียดตรงนี้จะให้ผมกำหนดว่า ต้องการที่จะย้ายไฟล์มาไปไว้ที่ไหน โดยเลือก To : ครับ
3.เป็นส่วนของ Option หรือว่ากำหนดรายละเอียดปลีกย่อย จะมีให้เลือก 3 ตัวคือ
- Results : จะเป็นการเลือกดูผลลัพท์ที่ได้จาก action ตัวนี้
- Options : ตัวเลือกเพิ่มเติม ส่วนใหญ่จะมีให้เลือกว่า ต้องการที่จะแสดงหน้าต่างแจ้งเตือนตอนที่ workflow นี้ทำงานอยู่หรือไม่ ส่วนมากจะเหมาะกับ action ที่ให้เราป้อนค่าต่าง ๆ ได้เอง หรือมีตัวเลือกมากกว่า 1 อย่าง เช่น การปรับขนาดรูป หรือเปลี่ยนชนิดของไฟล์ภาพ
- Description : เป็นอันเดียวกับที่เราเห็นใน info pane ครับ คือเป็นรายละเอียดการทำงาน รวมไปถึง Input/Output(Results) ของ action นั้น ๆ
4.ส่วน Input/Output(Results) ตรงนี้จะเป็นการบอกเราคร่าว ๆ ว่า action ที่เราจับมาใส่สามารถที่จะทำงานร่วมกันได้หรือมีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ ถ้าทำงานร่วมกันได้ ก็จะเห็นเป็นลักษณะลูกศรลงต่อเนื่องมาแบบในภาพตัวอย่าง
ความเกี่ยวข้องกันตรงนี้ดูได้จาก Input/Output ของแต่ละ action ครับ ตามปรกติแล้ว Output/Results ของ action ตัวบน(หรือว่าก่อนหน้า) มักจะเป็น Input ของ action ตัวล่างหรือว่าตัวที่อยู่ถัดลงมาครับ
action แต่ละตัวจะทำงานร่วมกันได้ Input/Output ต้องตรงกัน หรือเป็นไฟล์ประเภทเดียวกันถึงจะทำงานได้ เช่น จากภาพตัวอย่าง
จากภาพตัวอย่างด้านบนนี้ Output/Results จาก action ด้านบนเป็น Files/Folders แบบเดียวกับ Input ของ action ตัวล่าง แบบนี้การทำงานจะไม่ค่อยมีปัญหา ในทางกลับกัน ถ้าเราจับเอา Input/Output(Results) ที่ไม่ตรงกันมาชนกัน ส่วนใหญ่จะ error ครับ
note : ถ้าเราต้องการลบ Action ใน workflow ของเรา ให้ไปคลิ๊กที่ปุ่มกากบาท “X” ที่มุมขวาบนของแต่ละ action ครับ
Log pane : ดูว่ามีอะไรผิดพลาดใน workflow ของเราบ้าง
การ test workflow ทำได้โดยการกดปุ่ม Run ที่ด้านบนขวาของหน้าต่าง Automator ครับ
ถ้าเรา test workflow ที่ Input กับ Output ไม่ตรงกันแล้ว จะมี error ขึ้นมาในด้านล่างตรง log ครับเมื่อกดเข้าไปดูก็จะมีรายละเอียดแจ้งเราว่ามีอะไรผิดพลาดบ้าง หลังจากที่เรา Test workflow ของเราด้วยการกดปุ่ม play แล้ว ที่ status bar ด้านล่างของ automator จะแสดงข้อความบอกเราครับ และถ้ามีอะไรผิดพลาดเค้าจะแจ้งให้เราทราบตรงนี้
- จะบอกเราว่า test ผ่านหรือไม่ และถ้ามี error เกิดขึ้น จะเตือนเรามาตรงนี้ครับ (warning)
- คลิ๊กตรงนี้เพื่อที่จะเข้าไปดูรายละเอียด (Log) ของ workflow เรา ให้กดเข้าไปครับจากนั้นจะมีหน้าต่างแบบนี้ขึ้นมาให้เราดูว่ามีตรงไหนที่ผิดปรกตินะครับ โดยมีเครื่องหมายตกใจ “!” กำกับตามรูปด้านล่างนี้ครับ
ดู ตัวอย่างการสร้าง workflow ประกอบ
- Printer-friendly version
- Login to post comments
How-Tos
- การติดตั้ง OS X Leopard (10.5)
- ใช้งาน OS X เบื้องต้น
- OS X Bundle Apps
- การติดตั้ง Windows บน OS X (Boot Camp)
posts